Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อบเชยไทย

ชื่อท้องถิ่น: บอกคอก (ลำปาง)/ พญาปราบ (นครราชสีมา)/ กระดังงา (กาญจนบุรี)/ สะวง (ปราจีนบุรี)/ ฝักดาบ (พิษณุโลก)/ กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา)/ มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง)/ เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้)/ ดิ๊กซี่สอ กัวเล่ะบิ๊ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)/ กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ เสี้ยง (ม้ง)/ ม้าสามเอ็น (คนเมือง)

ชื่อสามัญ: Cinnamom

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet

ชื่อวงศ์:  LAURACEAE

สกุล: Cinnamomum 

สปีชีส์: bejolghota

ชื่อพ้อง: 

-Cinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees

-Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees

-Cinnamomum obtusifolium var. sikkimense Lukman.

-Laurus bazania Buch.-Ham.

-Laurus bejolghota Buch.-Ham.

-Laurus benzoin Buch.-Ham. ex Wall.

-Laurus bezolghota Buch.-Ham. ex Wall.

-Laurus cassia Wight ex Nees

-Laurus cinnamomum Wight ex Nees

-Laurus macrophylla Wall.

-Laurus obtusifolia Wall.

-Laurus obtusifolia Roxb.

-Laurus soncaurium Buch.-Ham.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นอบเชยไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกและใบมีกลิ่นหอม 

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร 

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน 

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลแข็ง ตามผิวผลมีคราบขาว แต่ละมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลมีลักษณะเป็นรูปถ้วย

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าดงดิบทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: เนปาลตะวันออกเฉียงเนือ ไปจนถึงจีน (ยูนนานใต้, กวางตุ้งใต้) และอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, ลาว, เมียนมาร์, เนปาล, เกาะนิโคบาร์, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสหอมติดร้อน สรรพคุณ บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-น้ำมันหอมระเหยที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ cinnamaldehyde ประมาณ 51-76% พบ eugenol เล็กน้อยประมาณ 5-18%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์การสลายลิ่มเลือด เมื่อปี ค.ศ.2005 ที่ประเทศจีน พบว่าอบเชยสามารถช่วยทำให้การสลายลิ่มเลือด ขยายหยอดเลือด การไหลเวียนของเลือด และลดไขมันกับความหนืดของเลือดให้ดีขึ้นได้ และอบเชยยังสามารถนำมาใช้รักษาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นของการเกิดลิ่มเลือดและเซลล์สมองฝ่อได้ ตัวยานี้จะส่งผลในการเปลี่ยนแปลงและผลของฤทธิ์ยาต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เป็นยาระบายเอาของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ยาจะส่งผลได้ดรในการลดไขมันในเลือด โดยลดได้ถึง 94% และยังส่งผลในการรักษาการขาดแคลนโลหิตที่มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 89% และลดการเกิดลิ่มเลือดที่เกิดจากไขมันในเลือดสูงได้ถึง 80% อีกทั้งการสกัดและการเตรียมยาก็ง่ายและมีประสิทธิภาพในการรักษา (2005)

-ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด เมื่อปี ค.ศ.2006 ที่ประเทศจีน กระบวนการเตรียมและการสกัดยาจากอบเชยนั้น สามารถทำได้โดยการแช่อบเชยสดในน้ำสะอาดแล้วเคี่ยวด้วยไฟปานกลางประมาณ 20 นาที และกรองเอากากออก น้ำยาที่ได้จะช่วยรักษาไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และราคาถูก ถ้าสามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้เอง (2006)

-ฤทธิ์ลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าอบเชยสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ และจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าอบเชยนอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นได้ โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดเลว และไตรกลีเซอไรด์

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจีน ได้สรุปผลการทดลองว่า อบเชยนั้นสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาในการรักษาโรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคทางประสาท โรคปัสสาวะขัด และโรคต่อมลูกหมากโตได้ (2007)

-ฤทธิ์กระตุ้นการทำงานกระเพาะและลำไส้ น้ำมันระเหยจากเปลือกต้นมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้มีการบีบตัวแรงขึ้น ทำให้มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการช่วยขับลมในกระเพาะลำไส้ และยังมีฤทธิ์คล้ายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะลำไส้ จึงสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าในอัตราส่วนขนาดสูงสุดที่ทำให้หนูขาวทนได้ (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.16 กรัมต่อกิโลกรัม

-จากการศึกษาทางพิษวิทยา ด้วยการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเปลือกอบเชยญวนด้วยเอทานอล 50% แล้วนำมาให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 926 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-อาการไอ ใช้เมล็ดนำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินเป็นยาแก้ไอ 

-ช่วยลดความดันโลหิต ใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไปที่เป็นแท่งนำมาบด โดยให้ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น

-ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ และช่วยทำให้เจริญอาหาร

-ช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลินทำให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด สมุนไพรอบเชยจึงเหมาะสมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม โดยให้แบ่งการรับประทานออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1 แต่สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล 

-เปลือกต้น เมื่อนำมาย่างไฟจะมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใส่ในแกงมัสมั่นและอาการประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพื่อลดความคาว หรือจะลองหาผงอบเชยมาเหยาะลงในอาหารหรือเครื่องดื่มก็ได้ อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ แซนด์วิช ก็ได้ แล้วแต่จะดัดแปลงสูตร

-ใบมีน้ำมัน ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แต่งกลิ่นสบู่ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตน้ำหอม ใช้เป็นแหลงของสารยูจีนอลเพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นสารวานิลลิน ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อ

-เนื้อไม้ มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อไม้หยาบและค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันแมลง ทำเครื่องเรือน หรือทำไม้บุผนัง

-ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่จะใช้เปลือกต้นอบเชยไทยนำมาตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก

-ชาวม้งจะใช้เปลือกไม้ของอบเชยไทย นำไปตากแห้งแล้วตำให้เป็นผง นำไปทำธูป มีกลิ่นหอม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง