Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านเพชรหึง

ชื่อท้องถิ่น: กล้วยกา (สุราษฎร์ธานี)/ ตับตาน (แพร่)/ มือตับแก (ชุมพร)/ ว่านงูเหลือม (ใต้)/ ว่านหางช้าง (กรุงเทพฯ, เลย)/ เอื้องพร้าว (เชียงใหม่, เหนือ)

ชื่อสามัญ: Tiger orchid, Leopard flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Grammatophyllum speciosum Blume

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย EPIDENDROIDEAE

สกุล:  Grammatophyllum

สปีชีส์: speciosum

ชื่อพ้อง:

-Grammatophyllum fastuosum Lindl.

-Grammatophyllum giganteum Blume ex Rchb.f.

-Grammatophyllum macranthum (Wight) Rchb.f.

-Pattonia macrantha Wight

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

นว่านเพชรหึง เป็นไม้เถาเลื้อยอิงอาศัย จัดเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ มักเกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้อื่น อาจมีลำต้นสูงได้ถึง 3 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญเต็มที่จะเปลี่ยนจากสีเขียวแกมเหลืองเป็นสีเหลือง 


ว่านเพชรหึง thai-herbs.thdata.co | ว่านเพชรหึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันบนลำต้น ลักษณะเป็นรูปเส้นยาวและแคบ เป็นรูปแถบ ใบมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เรียงตัวในระนาบเดียวกัน ใบอ่อนจะโค้งลงด้านล่าง เมื่อแก่จัดจะร่วงหลุดไปจากลำต้น ทิ้งรอยแผลไว้เป็นระยะ ๆ ซึ่งมองดูคล้ายข้อบนลำต้น


ว่านเพชรหึง thai-herbs.thdata.co | ว่านเพชรหึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บริเวณยอดครั้งละ 2-3 ช่อ โดยดอกจะทยอยบานติดต่อกันประมาณ 3 เดือน โดยช่อดอกจะมีทั้งแบบเป็นช่อห้อยและช่อตั้ง ช่อดอกมักโค้งลงและอาจยาวได้ถึง 2 เมตร ส่วนก้านดอกจะยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก (75-125 ดอก) ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกย่อยจะมีขนาดใหญ่และหนา เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร โดยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกพื้นมีสีเหลืองหม่นหรือเหลืองอมเขียวและมีจุดประสีน้ำตาลแกมม่วงกระจายอยู่ทั่วกลีบคล้ายกับลายเสือ กลีบปากจะเล็กกว่ากลีบอื่น ๆ และแผ่นกลีบจะแยกเป็นสามแฉก ส่วนกลางกลีบมีสันนูน 3 สัน หูกลีบเป็นปากตั้งโค้งขึ้น ดอกมีเกสรตัวผู้ 3 ก้าน มีเกสรตัวเมีย 1 ก้าน และมีรังไข่ 3 ห้อง

ผล ลักษณะผลมีพู 3 พู รูปร่างยาว ผลเมื่อแก่แห้งจะแตกออกเป็นกลีบ 3 กลีบ ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก และจะปลิวไปตามลม

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบชื้น

ถิ่นกำเนิด: อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมาร์, ไทยเ, วียดนาม

การกระจายพันธุ์: เกาะบอร์เนียวม จาวาม ลาวม แหลมมลายูเม มียนมาร์ม สุลาเวสีม สุมาเตราม ไทยม เวียดนามม, ฟิจิ

ว่านเพชรหึง thai-herbs.thdata.co | ว่านเพชรหึง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รสเมาเบื่อร้อนขม สรรพคุณ  ถอนพิษสัตว์กัดต่อย แก้เคล็ดยอกช้ำบวม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ลำต้นตำผสมเหล้าเอาน้ำมากินหรือนำมาฝนกับเหล้าดื่ม ส่วนกากที่เหลือเอามาใช้พอกปากแผล มีฤทธิ์เป็นยาเย็นช่วยถอนพิษ แก้อาการอักเสบเพิษตะขาบ และพิษแมงป่องต่อย

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นเพชรหึง เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีความสวยงามมาก ทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้ที่หาดูได้ยาก ในหนึ่งปีจะออกดอกเพียง 3 เดือนเท่านั้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง