Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: แสมสาร

ชื่อท้องถิ่น: ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี), ขี้เหล็กโคก ขี้เล็กแพะ (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กราบัด กะบัด (ชาวบน-นครราชสีมา), ไงซาน (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE-CAESALPINIACEAE

สกุล: Senna 

สปีชีส์: garrettiana

ชื่อพ้อง: Cassia garrettiana Craib

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นแสมสาร จัดเป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตกเป็นเรือนยอดกลมทึบ เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ลำต้นขรุขระแตกเป็นร่องลึก แตกเป็นสะเก็ดเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม 

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 6-9 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปหอก หรือรูปหอกถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 10-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ส่วนหูใบเรียวเล็กและหลุดร่วงได้ง่าย

ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามมุมก้านใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ดอกย่อยเป็นสีเหลือง สีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองทอง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนกลีบดอกเรียว ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปกลม เป็นสีเขียวออกเหลือง แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีก้านดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังกลางดอก 10 อัน ก้านเกสรเป็นสีน้ำตาลมีขนาดยาวไม่เท่ากัน มีขนาดใหญ่ 2 อัน ขนาดเล็ก 5 อัน และอีก 3 อัน เป็นแบบลดรูป ส่วนรังไข่และหลอดเกสรเพศเมียเกลี้ยงหรือมีขนประปราย

ผล ลักษณะผลเป็นฝักแบน ฝักมักจะบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง ผิวฝักเรียบเกลี้ยงไม่มีขน มีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่ฝักมักจะบิดและแตกออก และเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 10-20 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: พบบริเวณป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าที่ราบต่ำทั่วไป และป่าผลัดใบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น รสขมกร่อย สรรพคุณ ระบายถ่ายเสมหะ ถ่ายกระษัย โลหิตระดูสตรี ทำให้เส้นเอ็นอ่อน

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้แสมสาร ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของแสมสารร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต

2.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของแสมสารร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-แก่น พบกลุ่มแอนทราควิโนนอยู่หลายชนิดร ได้แก่ Chrysophanol และ Cassialoin นอกจากนี้ยังพบ aloe emodin, aloin, deoxy, benz-(D-E)-anthracen-7-one, 7-(H): 6,8-dihydroxy-4 methyl, betulic acid, bibenzyl, 3,3-4-trihydroxy, bibenzyl, 3,3-dihydroxy, cassialoin, cassigarol A,B,C,D,E,F,G, chrysophanic acid, chrysophanol dianthrone, quercetin, piceatannol, piceatanol, protocatechuic aldehyde, scirpusin B, rhamnetin, rhamnocitrin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-แสมสาร มีฤทธิ์ด้านฮีสตามีน ด้านการบีบตัวของลำไส้ เมื่อนำมาผสมในยาทำให้แท้ง ทำให้มดลูกคลายตัว และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง เป็นพิษต่อตัวอ่อน กระตุ้นมดลูก ต้านมะเร็ง มีฤทธิ์เหมือน Lectin ยับยั้งเอนไซม์ H+,H+-ATPase และ lipoxygenase หยุดการขับน้ำย่อย

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารกสัดจากแก่นแสมาสารด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตรา 1:1 หรือฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูถีบจักรทดลองในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษ

การใช้ประโยชน์:

-ดอกอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายกับแกงขี้เหล็ก

-เนื้อไม้ มีความทนทาน เหนียว เสี้ยนตรง ไม่หักง่าย และไม่แข็งมากจนเกินไป ในสมัยก่อนนิยมนำมาใช้ในการต่อเรือ แต่ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือช่าง ทำสลัก เขียง ฝักมีด ฯลฯ 

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับไว้ตามข้างทางทั่วไป โดยเป็นไม้ขนาดค่อนข้างเล็ก มีทรงพุ่มเป็นเรือดยอดสวยงาม เมื่อยามออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง