Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อัญชันป่า

ชื่อท้องถิ่น: หำพะยาว เอื้องชันป่า อัญชันป่า (เชียงใหม่)/ หมากแปบผี (เลย)/ ก่องข้าวเย็น (อุบลราชธานี)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria macrophylla Benth.

ชื่อวงศ์:  FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Clitoria 

สปีชีส์: macrophylla

ชื่อพ้อง: 

-Clitoria macrophylla var. sericea Fantz

-Clitoria macrophylla var. stipulacea Fantz

-Neurocarpum macrophyllum Kunth

-Ternatea macrophylla Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

อัญชันป่า thai-herbs.thdata.co | อัญชันป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นอัญชันป่า เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยไปตามหน้าดิน ยอดตั้งไม่ตรง มีความสูงประมาณ 15-25 เซนติเมตร เถาแข็ง ลำต้นกลม ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ปลายยอดค่อนข้างอ่อน ต้นมีความสูงประมาณ 38.42-78.66 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง มีขนยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 2.54-3.94 มิลลิเมตร 

ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปหอก รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมแบบมีติ่งอ่อน คือมีติ่งคล้ายขนยื่นออกมาจากปลายใบ โคนใบแหลมหรือสอบเรียว ส่วนขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย ใบกลางมีขนาดกว้างประมาณ 3.47-4.75 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9.03-12.95 เซนติเมตร ส่วนใบข้างกว้างประมาณ 3.04-3.66 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.4-9.1 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเหนียวและหยาบ หลังใบเป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเทา การเรียงตัวของเส้นใบเป็นแบบโค้งจรดกัน ส่วนล่างของลำต้นมีใบเดี่ยวขึ้นปะปน หูใบเป็นสีเขียวอ่อนเป็นเส้นเรียวปลายแหลม


อัญชันป่า thai-herbs.thdata.co | อัญชันป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบและตามข้าง ช่อดอกยาวประมาณ 4-5.4 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกอัญชัน แต่ดอกจะเป็นสีขาว กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล กลีบดอกที่อยู่นอกสุดมีขนาดกว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร


อัญชันป่า thai-herbs.thdata.co | อัญชันป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักกลมยาวและนูนคล้ายฝักของถั่วเขียว ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.61-0.71 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 4.38-4.94 เซนติเมตร เมื่อแห้งแก่ฝักจะแตกออก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 6-8 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่า ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าพลวง ป่าดิบแล้ง ป่าเขา และป่าโปร่ง

ถิ่นกำเนิด: อัสสัมไปจนถึงอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, ไทย, เวียดนาม

อัญชันป่า thai-herbs.thdata.co | อัญชันป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา ถอนพิษไข้และพิษอักเสบ เป็นแผลอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์: 

-ราก นำมาทุบใส่ในไหปลาร้าหรือใช้ปิดปากไห จะช่วยป้องกันหนอนแมลงวัน ฆ่าหนอนได้

-ทั้งต้น ใช้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์แทะเล็มตามธรรมชาติของโค กระบือ สัตว์ป่า 

-ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้ต้นอัญชันป่าทั้งต้นนำมาตำพอกเป็นยาห้ามเลือด ใช้รักษาแผลสด แผลถลอก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง