Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักโขมหัด

ชื่อท้องถิ่น: ผักโขมหัด (ภาคกลาง)/ ผักหม (ภาคใต้)/ กะเหม่อลอมี, แม่ล้อคู่ (กระเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)/ ปะตี (เขมร)/ ผักหมหัด ผักโขม ผักโขมไทย

ชื่อสามัญ: Slender amaranth, Amaranth, Green amaranth

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus viridis L.

ชื่อวงศ์: AMARANTHACEAE

สกุล: Amaranthus 

สปีชีส์: viridis

ชื่อพ้อง: 

-Albersia caudata (Jacq.) Boiss.

-Albersia gracilis (Desf.) Webb & Berthel.

-Albersia polystachya (Willd.) Kunth

-Amaranthus fasciatus Roxb.

-Amaranthus polystachyus Willd.

-Chenopodium caudatum Jacq.

-Euxolus caudatus (Jacq.) Moq.

-Euxolus caudatus var. gracilis Moq.

-Euxolus caudatus var. maximus Moq.

-Euxolus polystachyus (Willd.) Miq.

-Euxolus viridis (L.) Moq.

-Galliaria adscendens Bubani

-Glomeraria viridis (L.) Cav.

-Pyxidium viride (L.) Moq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:


ผักโขมหัด thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักโขมหัด เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 0.5-2 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยมมน และมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่บ้างเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด 


ผักโขมหัด thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบมีความกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วและยาวประมาณ 1.5-3.5 นิ้ว ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนโคนใบแหลมและกว้างกว่าปลายใบ ตามเส้นใบมีขน ขอบใบเป็นจักโค้งมนหรือกึ่งฟันเลื่อย ผิวท้องใบเกลี้ยง

 ผักโขมหัด thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีสีเขียว เรียงกันเป็นแถวประมาณ 20-30 ดอก ดอกมีขนอยู่หนาแน่น มีใบประดับลักษณะคล้ายรูปหอกแคบ กลีบดอกมีสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนจะแยกเป็น 2 พู ลักษณะเป็นรูปโล่ ส่วนปากล่างจะแยกเป็น 3 พู

ผล ลักษณะผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก เป็นรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น 3 พู โดยจะแตกตามขวางของผล ในผลมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลม ตรงกลางทั้งสองด้านจะนูน มีขนาดเล็กมากประมาณ 0.05 เซนติเมตร และเมล็ดผักโขมหนามมีสีน้ำตาลเป็นมันเง

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปตามที่ชุ่มชื้น และพบได้ทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักโขมหัด thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นชื่น สรรพคุณ แก้พิษร้อนใน ต้มเอาน้ำอาบ แก้เม็ดผื่นคัน ถอนพิษไข้ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ผักโขมมีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ เป็นผักใบเขียวที่มีวิตามินเอ บี 6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต และแร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดงและแมงกานีส

-อาการปวดท้องเฉียบพลัน โดยให้ใช้น้ำต้มเดือด 1 ลิตรเทลงบนราก 20 กรัม ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วกรองเอารากออก สำหรับผู้ใหญ่ให้ดื่มน้ำที่ได้วันละ 4-5 ถ้วย 

-อาการท้องผูกในเด็ก ใช้ใบและรากนำมาชงเป็นชาให้เด็กดื่ม ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย

-อาการอักเสบของเยื่อเมือกในระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของสตรี ใช้น้ำต้มเดือด 1 ลิตร เทลงบนราก 20 กรัม ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วกรองเอารากออก สำหรับผู้ใหญ่ให้ดื่มน้ำที่ได้วันละ 4-5 ถ้วย

-อาการประจำเดือนที่หยุดมากะทันหัน ให้ใช้น้ำต้มเดือด 1 ลิตรเทลงบนราก 20 กรัม ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วกรองเอารากออก สำหรับผู้ใหญ่ให้ดื่มน้ำที่ได้วันละ 4-5 ถ้วย

-อาการคันตามผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ใบนำมาปรุงเป็นยาแก้คันตามผิวหนัง 

-อาการอักเสบและช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ใช้ต้นและรากตำพอกที่ผิวหนัง บริเวณที่มีอาการช่วยบรรเทาอาการอักเสบจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้

-ช่วยบำรุงสายตา ชะลอความเสื่อมของดวงตา เนื่องจากผักโขม มีบีตา-แคโรทีนสูง โดยมีสารลูทีนและสารเซอักแซนทิน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารทั้งสองนี้มีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงจากโรคดวงตาเสื่อมได้ถึงร้อยละ 43 ทั้งยังมีผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 

-ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ผักโขมมีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

-ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากผักโขมมีเส้นใยอาหารมาก จึงช่วยระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

-ช่วยขับน้ำนมของสตรี ใช้รากนำมาทุบต้มกับน้ำ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 30 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม

-ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกเช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง

-ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง