Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ประยงค์บ้าน (หอมไกล)

ชื่อท้องถิ่น: ประยงค์บ้าน ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง)/ ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ)/ หอมไกล (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Chinese rice flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aglaia odorata Lour.

ชื่อวงศ์: MELIACEAE

สกุล:  Aglaia  

สปีชีส์: odorata

ชื่อพ้อง: 

-Aglaia chaudocensis Pierre

-Aglaia duperreana Pierre

-Aglaia oblanceolata Craib

-Aglaia pentaphylla Kurz

-Aglaia repoeuensis Pierre

-Aglaia sinensis Pierre

-Camunium chinense Roxb.

-Murraya exotica Reinw. ex Miq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ประยงค์บ้าน thai-herbs.thdata.co | ประยงค์บ้าน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ประยงค์บ้าน thai-herbs.thdata.co | ประยงค์บ้าน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นประยงค์บ้าน เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบค่อนข้างกลม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตรและสูงไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา 


ประยงค์บ้าน thai-herbs.thdata.co | ประยงค์บ้าน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5 ใบ (บางใบอาจมีใบย่อยเพียง 3 ใบ) ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก


ประยงค์บ้าน thai-herbs.thdata.co | ประยงค์บ้าน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กมากกว่า 10 ดอก ดอกย่อยเป็นสีเหลืองและมีกลิ่นหอมแรง ลอยไปได้ไกล (แม้ดอกแห้งก็ยังมีกลิ่นหอมอยู่) มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกซ้อนกันไม่บานออก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมเล็กคล้ายไข่ปลาสีเหลือง สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดทั้งวัน

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี มีขนาดประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ 

ถิ่นกำเนิด: จีน (กวางสีกวางตุ้ง) จนถึงคาบสมุทรมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: กัมพูชา, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, ลาว, มาลายา, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา ทำให้อาเจียน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ มี Aglaiol, Aglaiondiol, (24 S) - Aglaitriol  (24 R) - Aglaitriol, อัลคาลอยด์ Odoratine และ Odoratinol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวัน ต้นประยงค์ พบสารสำคัญ ในกลุ่ม Cyclopentabenzofuran (เป็นอนุพันธ์ของสาร Rocaglamide, Odorine, Aglain, Lignanes และ Triterpenes) ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงวันผลไม้ได้

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตหญ้า สารสกัดด้วยน้ำจากกิ่งอ่อนของต้นประยงค์มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของผักโขมและหญ้าข้าวนกได้

-ฤทธิ์ยับยั้งการกินอาหารของแมลง มีฤทธิ์ฆ่าแมลง ฆ่าตัวอ่อนของแมลง เป็นพิษต่อปลา ช่วยยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ช่วยเสริมฤทธิ์การยับยั้งเนื้องอก เป็นพิษต่อเซลล์ (ไม่มีข้อมูลยืนยัน)

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ดอกแห้ง สามารถนำมาใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม และใช้แต่งกลิ่นใบชาเช่นเดียวกับดอกมะลิ ซึ่งชาวจีนจะนิยมกันมาก

-นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน สวนหย่อม สวนในป่าอนุรักษ์ หรือใช้ปลูกประดับรั้ว เนื่องจากดอกมีกลิ่นหอมแรง กลิ่นลอยไปไกล ออกดอกให้ชมได้บ่อย เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบและทรงพุ่มสวยงาม (แต่ต้องคอยตัดแต่งกิ่งก้านสาขาบ้าง) มีความแข็งแรงทนทาน ปลูกได้ง่าย และมีอายุยืนยาว

-ต้นไม้มงคล ด้วยเชื่อว่าหากปลูกต้นประยงค์ไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่ชีวิต ช่วยปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ช่วยเสริมดวงทางคงกระพันชาตรี เพิ่มเดชให้ตัวเอง และเพื่อความเป็นสิริมงคลให้ปลูกต้นประยงค์ในวันเสาร์เพื่อเอาคุณ และควรปลูกในทางทิศตะวันตกของบริเวณบ้าน

-ในฟิลิปปินส์ ใช้ต้มเป็นยาบำรุงร่างกาย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง