Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เขี้ยวงู (ตึ่งเครือคำตัวแม่)

ชื่อท้องถิ่น: เล็บลอก เขี้ยวงา เขี้ยวงู เครือ คำตึ่งเครือคำ ตึ่งเครือคำตัวเมีย  ฝอยทอง ฝอยไหม 

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cuscuta reflexa Roxb.

ชื่อวงศ์: CONVOLVULACEAE

สกุล: Cuscuta

สปีชีส์: reflexa 

ชื่อพ้อง: 

-Kadurias reflexa (Roxb.) Raf.

-Monogynella reflexa (Roxb.) Holub

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเขี้ยวงู เป็นไม้เถาเลื้อย พาดพันอาศัยอยู่บนไม้อื่น ลำต้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว หรือสีทองแกมเขียว อวบน้ำ และมีลักษณะคล้ายเส้นหนวดแข็งแรง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2.5 มิลลิเมตร และมีความยาวได้ประมาณ 1-3 เมตร มีรากพิเศษแทงเข้าไปในใบพืชที่อาศัยเพื่อแย่งอาหาร

ใบ  ไม่มีหรือมีใบแต่มีขนาดเล็กมากคล้ายเกล็ดสีเขียวอ่อน


เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกย่อยมีประมาณ 2-3 ดอก ดอกมีขนาดเล็กและค่อนข้างกลม มีกลิ่นหอมมากในตอนเช้า ก้านดอกไม่มี กลีบดอกเป็นสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดหรือเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ลักษณะงองุ้ม มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ยาวได้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร


เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู-ตึ่งเครือคำตัวแม่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลรูปกลมแบน เมื่อแห้งแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมรี เมล็ดเป็นสีเหลืองอมเทา

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าหินปูนและตามชายป่าโปร่ง ที่ความสูงประมาณ 600-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยสามารถขึ้นตามพืชต้นสูงได้

ถิ่นกำเนิด: อัฟกานิสถานไปจนถึงอินโดจีน, จาวา

การกระจายพันธุ์: อัฟกานิสถาน, อัสสัม, บังกลาเทศ, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, อินเดีย, จาวา, ลาว, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ศรีลังกา, ไทย, ทิเบต, เวียดนาม, หิมาลายาตะวันตก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสขื่นร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับโลหิตในมดลูกหลังคลอดบุตร แก้สันนิบาตหน้าเพลิง แก้มดลูกอักเสบ แก้ปวดท้อง ขับลม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-น้ำต้มจากทั้งต้นแห้งเครือเขาคำมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อพยาธิตัวกลมที่พบในสุนัข (Toxocara canis) ฆ่าเชื้อกลากในหลอดทดลอง ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัวและลดความดันโลหิต

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยารักษาสัตว์ เช่น แม่วัวที่มีน้ำนมน้อยจะนำลำต้นสดประมาณ 500 กรัม ตำให้ละเอียด ชงหรือละลายกับเหล้าที่ทำด้วยข้าวเหนียว อุ่นให้แม่วัวกิน และวัวที่มีอาการตาแดงหรือเจ็บตา ใช้ลำต้นสดตำคั้นเอาน้ำยาทารอบๆ ขอบตา

-ชาวบ้านในถิ่นอีสานนำส่วนลำต้นอ่อนมารับประทานเป็นผักจิ้มแจ่วหรือน้ำพริก

-หมอพื้นบ้านอีสานใช้ฝอยทอง (เขี้ยวงู) ตำรวมกับวุ้นของว่านหางจระเข้ นำมาใช้ทารักษาสะเก็ดเงิน

-ในตำรายาจีนมีการรับรองว่าต้นเขี้ยวงูมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถนะทางเพศในผู้ชาย บำรุงตับ ทำให้ชะลอวัย มีอนุมูลอิสระจำนวนมาก ป้องกันโรคกระดูกพรุน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง