Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าพันงูแดง

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าพันงูเล็ก (นครราชสีมา)/ ควยงูน้อย หญ้าควยงู งูน้อย (ภาคเหนือ)/ พันงูแดง หญ้าพันธุ์งูแดง (ภาคกลาง)/ อั้งเกย ซั้งพี พีไห่ (จีนแต้จิ๋ว)/ เปยเซี่ยน (จีนกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyathula prostrata (L.) Blume

ชื่อวงศ์: AMARANTHACEAE

สกุล: Cyathula 

สปีชีส์: prostrata

ชื่อพ้อง: 

-Achyranthes debilis Poir.

-Achyranthes diffusa Moench

-Achyranthes globosa Pers.

-Achyranthes mollis Lepr. ex Seub.

-Achyranthes prostrata L.

-Cyathula alternifolia Druce

-Cyathula geniculata Lour.

-Cyathula globosa (Pers.) Moq.

-Cyathula repens Moq.

-Desmochaeta globosa (Pers.) Schult.

-Desmochaeta micrantha DC.

-Desmochaeta prostrata (L.) DC.

-Desmochaeta repens Schult.

-Pupalia prostrata (L.) Mart.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าพันงูแดง thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าพันงูแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุปลายปี มีลำต้นสูงประมาณ 1-2.5 ฟุต ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อมีสีแดง ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีแดง ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามลำต้นหรือกิ่งก้าน 


หญ้าพันงูแดง thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวอมแดง เส้นใบเป็นสีแดงเมื่อแก่


 หญ้าพันงูแดง thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้งออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 7.5-18 นิ้ว ปลายช่อมีดอกออกเป็นกระจุกรวมกัน โคนช่อจะมีดอกห่างกัน รอบก้านช่อดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อน ไม่มีกลีบ ดอกมีเกสรเป็นเส้นสีชมพู 9 เส้น

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยมผิวเรียบ ภายในผลมีเมล็ดสรน้ำตาลเป็นมัน ผลเป็นผลแห้งและแตกได้

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในที่ร่มทั่วไป และตามชายป่า โดยมักขึ้นเองตามธรรมชาติ

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าพันงูแดง thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสจืด สรรพคุณ แก้ขัดเบา

*ใบ รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้คออักเสบ เป็นเม็ดเป็นหนามในคอ

*ดอก รสจืด สรรพคุณ แก้เสมหะคั่งในทรวงอก ละลายก้อนนิ่ว

*ราก รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ

*ใช้ทั้งต้น รสจืดเย็น สรรพคุณ รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้ แก้อักเสบในลำคอ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด จากการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดของสารสกัดเมทานอลจากหญ้าพันงูแดง โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 50, 100, และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรท พบว่าสามารถช่วยลดอาการบวมอักเสบบริเวณอุ้งเท้าที่เกิดจากการทำให้ปวดด้วยคาร์ราจีแนน (carageenan) ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยาอินโดเมตทาซิน (Indomethacin) หรือยาแก้ปวดอักเสบในขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว และสารสกัดจากสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถยับยั้งการบวมของใบหูที่เกิดจากการฉีด arachidonic acid และ xylene ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่จะไม่มีผลยับยั้งการสร้าง nitric oxide และการแสดงออกของ cyclooxygenase-2 ของเซลล์ macrophage เมื่อทดสอบในหลอดทดลอง

-ฤทธิ์บรรเทาอาการปวด สารสกัดจากหญ้าพันงูแดงในขนาด 200 มิลลิกรัม ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ใกล้เคียงกับการฉีดมอร์ฟีนในขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว (ทดสอบด้วยวิธี hot plate test) และยังช่วยระงับอาการปวดจากการฉีด acetic acid ได้อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคบิด แก้บิดติดเชื้อ ใช้ทั้งต้น (ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม สวนต้นแห้งให้ใช้เพียง 20-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนในมาเลเซียจะใช้รากปรุงเป็นยาต้มแก้บิด 

-อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ใช้ทั้งลำต้นสด (ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม สวนต้นแห้งให้ใช้เพียง 20-30 กรัม)  นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ส่วนที่ประเทศมาเลเซียจะนำมาตำใช้เป็นยาทารอบคอแก้อาการไอ 

-อาการปัสสาวะหยดย้อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ใช้ราก มีรสจืด (รากสดประมาณ 30-60 กรัม, รากแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม) นำมาต้มดื่ม

-ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับนิ่ว ด้วยการใช้ทั้งต้ (ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม สวนต้นแห้งให้ใช้เพียง 20-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือดอกใช้เป็นยาแก้นิ่ว ละลายก้อนนิ่ว 

-ช่วยขับโลหิตประจำเดือนของสตรี ใช้ทั้งต้น (ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม สวนต้นแห้งให้ใช้เพียง 20-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม

-โรคเริม งูสวัด ขยุ้มตีนหมา ใช้ใบ (ปริมาณตามความเหมาะสม) เป็นยาตำพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการพิษจากแมมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษตะขาบ แมงป่อง ใช้ทั้งต้น (ปริมาณตามความเหมาะสม) ตำพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการปวดบวม อักเสบ อาการฟกช้ำ ใช้ทั้งต้นสด (ปริมาณตามความเหมาะสม) ตำพอกบริเวณที่มีอาการ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง