Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะกาต้น

ชื่อท้องถิ่น: ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น)/ ซำซา มะกาต้น (เลย)/ มัดกา มาดกา (หนองคาย)/ มาดกา (นครราชสีมา)/ กอง กองแกบ (ภาคเหนือ)/ ก้องแกบ (เชียงใหม่)/ ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bridelia ovata Decne.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล:  Bridelia 

สปีชีส์: ovata

ชื่อพ้อง: 

-Bridelia burmanica Hook.f.

-Bridelia kurzii Hook.f.

-Bridelia lanceolata Kurz ex Teijsm. & Binn.

-Bridelia pedicellata Ridl.

-Cleistanthus lanceolatus (Kurz ex Teijsm. & Binn.) Müll.Arg.

-Kaluhaburunghos lanceolatus (Kurz ex Teijsm. & Binn.) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว 


มะกาต้น thai-herbs.thdata.co | มะกาต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น


มะกาต้น thai-herbs.thdata.co | มะกาต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง


มะกาต้น thai-herbs.thdata.co | มะกาต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

สภาพนิเวศวิทยา: สำหรับประเทศไทย พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศ

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีนไปจนถึงมาเลเซียตอนใต้

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, กัมพูชา, จาวา, ซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม

มะกาต้น thai-herbs.thdata.co | มะกาต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสขมขื่น สรรพคุณ ถ่ายเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษตานซางเด็ก ชัดลมขึ้นเบื้องสูงให้ลงต่ำ

*เปลือกต้น รสขมฝาด สรรพคุณ แก้กระษัย สมานลำไส้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ระบายท้อง จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยท้องผูก ด้วยการใช้ใบแห้งในขนาด 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลดี แต่มีอาการข้างเคียงคือ ปวดท้อง คลื่นไส้

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยาระบายอย่างอ่อน ใช้ใบแห้งปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 15-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอนเป็นยาระบาย

-ขับเสมหะ ใช้ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน

-โรคกระษัย ด้วใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด และรากต้นเสาให้ อย่างละเท่ากัน นำมาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เกลือทะเล 1 กำมือ รับประทาน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง