Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อีเหนียวใหญ่

ชื่อท้องถิ่น: ขางคันนาแดง (เชียงใหม่)/ หญ้าตืดหมา (ลำปาง)/ อีเหนียวใหญ่ (ชัยภูมิ)/ พึงฮวย (ชุมพร)/ เส่งช้างโชก (กะเหรี่ยง ลำปาง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmodium heterocarpon var. strigosum Meeuwen

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Desmodium

สปีชีส์: heterocarpon

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นอีเหนียวใหญ่ เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งกึ่งตั้งและกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยถึงกึ่งแผ่ปกคลุมดิน มีความสูงได้ประมาณ 50-175 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้นนั้นเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนที่ถูกแสงแดดมักเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-5.2 มิลลิเมตร มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น 

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยบนสุดจะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมใบหอก ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ โดยใบบนสุดจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-2.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ส่วนใบด้านข้างจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.3-4 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงค่อนข้างจะเขียวเข้ม หลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมหนาแน่น ส่วนด้านหน้าใบนั้นไม่มีขน แต่พบได้ในบางสายพันธุ์ที่จะมีขนเล็ก ๆ ขึ้นกระจายอยู่ตามเส้นใบและแผ่นใบด้านหน้า ก้านใบยาวประมาณ 1.4-2.2 เซนติเมตร หูใบเป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดงเข้ม

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 4.3-5.8 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 43-90 ดอก การออกดอกจะเป็นแบบ Indeterminate กลีบดอกเป็นสีม่วงหรือสีม่วงปนสีขาวนวล มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว อับเรณูเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล ก้านอับเรณูเป็นสีแดง เกสรเพศเมียเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล ส่วนก้านเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว

ผล ลักษณะเป็นฝักยาว ยาวประมาณ 1.3-3 เซนติเมตร มีขนและคอดหักเป็นข้อ ๆ แตกออกได้ตามตะเข็บล่าง ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 4-9 เมล็ด บางช่อดอกย่อยฝักจะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด 

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 76-892 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเบื่อเอียนเย็น สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน พยาธิลำไส้ แก้ตัวร้อน ดับพิษตานซาง แก้ลำไส้อักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยาขับพยาธิ บับปัสสาวะ ใช้ลำต้นและใบขางคันนา (อีเหนียวใหญ่) นำมาต้มเป็นยาขับพยาธิได้ทุกชนิด และเป็นยาขับปัสสาวะ 

-ยาพื้นบ้านจะใช้รากขางคันนา (อีเหนียวใหญ่) นำมาผสมกับรากมะเดื่อดิน และผงปวกหาด ใช้ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง เป็นยาถ่ายพยาธิ 

-ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบและลำต้นขางคันนา (อีเหนียวใหญ่) นำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้บวมพอง 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง