Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เข็มขาว

ชื่อท้องถิ่น: เข็มไม้ (ไทย)/ เข็มพระราม (กรุงเทพ)/ เข็มปลายสาน (ปัตตานี)/ เข็มขาว (นครศรีธรรมราช, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Siamese white ixora

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ixora lucida R.Br. ex Hook.f.

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Ixora 

สปีชีส์: lucida

ชื่อพ้อง: 

-Ixora ebarbata Craib

-Ixora straminea Craib

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นเข็มขาว เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นทรงกระบอก ผิวเรียบ สีน้ำตาล กิ่งยอดมีสีเขียว แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก ขึ้นเป็นพุ่มแน่น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร เปลือกต้นเป็นสีดำ รากมีรสหวาน มีหูใบ 2 ข้าง น้ำยางใส

ใบ เป็นใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก หรืออาจออกจากข้อเดียวกัน 3 ใบ รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 9.7 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.4 เซนติเมตร ปลายใบมน หรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบค่อนข้างหนา


เข็มขาว thai-herbs.thdata.co | เข็มขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก อดอกแบบซี่ร่มเชิงประกอบ มีกลิ่นหอม ออกดอกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นรูปหลอดปลายแยกออกเป็นกลีบ 4-5 กลีบ ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม คนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับ ขอบกลีบและโคนกลีบงุ้มลง ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวกว่าดอกเข็มชนิดอื่น ๆ     

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีดำ

สภาพนิเวศวิทยา: ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าราบหรือตามป่าเบญจพรรณ[

ถิ่นกำเนิด: คาบสมุทรมาเลเซียถึงประเทศไทย

การกระจายพันธุ์: มาลายา และไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และปักชำ 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสหวาน สรรพคุณ แก้โรคตา เจริญอาหาร ขับเสมหะและกำเดา (ลดไข้)  บำรุงไฟธาตุ  แก้บวม 

*ใบ  รสขื่น ฆ่าพยาธิ

*ดอก รสหวานเย็น แก้โรคตา

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยเจริญอาหาร และแก้โรคตาต่างๆ ใช้ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยา

-นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับสวย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ดอกมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกเกือบตลอดทั้งปี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง