Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตีนเป็ดต้น

ชื่อท้องถิ่น: พญาสัตบรรณ ชบา ตีนเป็ด (ภาคกลาง)/ หัสบรรณ (กาญจนบุรี)/ กะโน้ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ สัตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี)/บะซา ปูล, ปูแล (มลายู-ยะลา-ปัตตานี)/ ยางขาว (ลำปาง)

ชื่อสามัญ: Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อวงศ์:  APOCYNACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย RAUVOLFIOIDEAE

สกุล:  Alstonia 

สปีชีส์: scholaris 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตีนเป็ดตัน thai-herbs.thdata.co | ตีนเป็ดตัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตีนเป็ดต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35-40 เมตร ต้นอายุน้อยมีเรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ทรงแบนเมื่อต้นใหญ่เต็มที่ โคนจะเป็นพูพอนขยายใหญ่ ลำต้นมีร่องตามแนวยาวของความสูง เปลือกมีสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาล เมื่อถาดเปลือกออกจะมีสีขาว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวไหลมาก เนื้อไม้ และกิ่งเปราะหักง่าย เนื้อไม้เรียบ แตกเป็นร่องง่าย กิ่งที่แตกออกมีรอยแตก เพื่อใช้แลกเปลี่ยนอากาศตีนเป็ดตัน thai-herbs.thdata.co | ตีนเป็ดตัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบกิ่ง วงละ 5-8 ใบ ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร แผ่นใบรูปรีถึงรูปหอก ปลายใบแหลม และมีติ่งเล็กน้อย ขอบ และผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีด้านบน และด้านล่างใกล้เคียงกัน ใบแก่มีใบด้านบนสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างใบมีสีขาวนวล มีเส้นใบมาก มองเห็นชัดเจน เส้นใบกางออกเป็นมุมฉากกับเส้นกลางใบ แผ่นใบเหนียวเหมือนหนังคล้ายใบต้นดอกรัก ก้านใบยาวประมาณ 1.5-3 ซม. 


ตีนเป็ดตัน thai-herbs.thdata.co | ตีนเป็ดตัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นดอกช่อ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีก้านดอกหลักยาว 3-8.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดเล็ก ที่เป็นกลีบดอกรูปไข่ มีหยักเว้า กว้างประมาณ 1-1.9 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5-2.3 มิลลิเมตร สีขาวหรือเหลืองอมเขียว ปลายดอกอาจแหลม และแบบมน มีขนนุ่มปกคลุม ปากท่อด้านในดอกมีขนยาวปุกปุย เกสรตัวผู้อยู่บริเวณกลางวงท่อกลีบดอก อับเรณูเกสรตัวผู้มีขนนุ่มปกคลุม ยาวประมาณ 1.1-1.5 มิลลิเมตร เกสรตัวเมียมีขนาดประมาณ 2.8-5.2 มิลลิเมตรดอกเริ่มบานประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม เมื่อดอกบาน 1-2 วัน จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก หากดมมากบางคนอาจวิงเวียนศรีษะได้

ผล ลักษณผลออกเป็นฝัก มีลักษณะกลมยาว สีขาวอมเขียว ออกเป็นคู่ มีผิวฝักเกลี้ยง หย่อนห้อยลงด้านล่าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแระมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ปลายผลมีลักษณะมนกลม ฝักแก่มีสีเทาน้ำตาล และแตกตามตะเข็บ 2 ซีกซ้าย-ขวา ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก รูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง สำหรับพยุงลอยตามลม ฝักแห้ง 1 กิโลกรัม จะมีจำนวนฝักประมาณ 260 ฝัก

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสขม สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีพิการ สมานลำไส้

*ใบ รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้หวัด

*ดอก รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อโลหิต ไข้ตัวร้อน ไข้เหนือ 

*ราก รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับผายลม 

*กระพี้ รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับโลหิตให้ตก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ตีนเป็ดต้น เป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลำต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้

-เนื้อไม้ สามารถนำไปทำทุ่นของแหและอวนได้ (ในบอร์เนียว)

-เนื้อไม้ มีลักษณะหยาบ อ่อน แต่เหนียว สามารถใช้ทำหีบใส่ของ หีบศพ ทำโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสำหรับเด็ก รองเท้าไม้ หรือไม้จิ้มฟันได้

-เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน หรือนำใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น

-สารสกัดจากน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ไล่ยุงได้

-นิยมปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงา และปลูกไม้มงคลนามที่นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นพญาสัตบรรณ (ตีนเป็ดต้น) ไว้ที่บ้านจะทำให้มีเกียรติยศ จะทำให้ได้รับการยกย่องและการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคำว่าพญา ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคำว่า สัต ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือและผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง