Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คนทีสอทะเล

ชื่อท้องถิ่น: คนที (ประจวบคีรีขันธ์)/ กูนิง (มลายู-นราธิวาส)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex trifolia subsp. litoralis Steenis

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล:Vitex 

สปีชีส์: trifolia 

ชื่อพ้อง: 

-Vitex agnus-castus var. ovata (Thunb.) Kuntze

-Vitex ovata Thunb.

-Vitex ovata var. subtrisecta Kuntze

-Vitex repens Blanco

-Vitex rotundifolia L.f.

-Vitex rotundifolia f. albescens Hiyama

-Vitex rotundifolia f. albiflora S.S.Ying

-Vitex rotundifolia f. rosea Satomi

-Vitex trifolia var. simplicifolia Cham.

-Vitex trifolia var. unifoliolata Schauer

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

คนทีสอทะเล thai-herbs.thdata.co | คนทีสอทะเล สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

คนทีสอทะเล thai-herbs.thdata.co | คนทีสอทะเล สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นคนทีสอทะเล เป็นไม้เถาเลื้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นทรายริมทะเลที่มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาล เมื่ออายุมากจะมีสะเก็ดหลุดร่วงออกมา ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งมักโค้งงอลง


คนทีสอทะเล thai-herbs.thdata.co | คนทีสอทะเล สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับถี่บริเวณปลายยอด ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนจนถึงสีนวล


คนทีสอทะเล thai-herbs.thdata.co | คนทีสอทะเล สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่งหรือปลายยอด ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะของดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็นกลีบดอก 2 ส่วน ส่วนบนมีกลีบ 2 กลีบและส่วนล่างมีกลีบ 3 กลีบ ลักษณะคล้ายกลีบดอกผีเสื้อ กลีบดอกเป็นสีม่วง สีฟ้าอมม่วง หรือสีคราม ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 ก้าน ดอกจะทยอยบานจากโคนช่อเรื่อยไปจนถึงปลายช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเกือบ 1 เซนติเมตร

ผล ลักษณะผลเป็นผลสดเดี่ยว ทรงกลม ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มไว้เกือบครึ่งผล ผลเป็นสีเขียวหรือสีม่วง ผลแห้ง ปลายผลมีติ่ง ภายในมีเมล็ดเดี่ยวกลม สีน้ำตาล

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลน ตามริมน้ำลำคลองใกล้ชายทะเล

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: เกาะบอร์เนียว, จีนตอนเหนือ-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ฟิจิ, ฮาวาย, อินเดีย, ญี่ปุ่น, จาวา, คาซาน-เรตโต, เกาหลี, ซุนดาน้อย, มาลายา, โมลุกกะ, แมนจูเรีย, นันเซย์โชโต, นิวแคลิโดเนีย, นิวกินี, ดินแดนทางเหนือ,เกาะโอกะซาวาระ, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, ซามัว, เกาะโซไซตี้, ทะเลจีนใต้, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไต้หวัน, ไทย, วานูอาตู, เวียดนาม, ออสเตรเลียตะวันตก

คนทีสอทะเล thai-herbs.thdata.co | คนทีสอทะเล สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้ตัวพยาธิ ฟกบวม แก้เสมหะ แก้ลม แก้ริดสีดวงในคอ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังผื่นคัน เชื้อรา กลากเกลื้อน ชันนะตุ ใช้ใบต้มกับน้ำอาบ ช่วยแก้โรคผิวหนังผื่นคัน หรือจะทำเป็นแชมพูสระผมหรือหมักผมก็ได้ จะช่วยฆ่าเชื้อรา กลากเกลื้อน ชันนะตุได้ดี 

-เชื้อราบนเล็บมือเล็บเท้า ใช้ใบดองกับแอลกอฮอล์แล้วกรองเอาแต่น้ำมาไว้ใช้เป็นยาหัวเชื้อ หรือจะนำใบไปสกัดกับน้ำกะทิเคี่ยวทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมงจนได้น้ำมันคนที แล้วนำมาเก็บไว้เป็นหัวเชื้อน้ำมันสำหรับนวดตัว หรือจะเอาน้ำมันใบคนที 1 ส่วน ผสมกับน้ำมันมะรุมอีก 1 ส่วน ใช้เป็นยาหยอดเป็นยารักษาเล็บมือเล็บเท้าที่เป็นเชื้อรา เนื่องจากใบของคนทีสอจะมีกลิ่นหอมและมีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราอยู่ด้วย

-ทางภาคใต้นิยมใช้ใบของคนทีสอทะเลมาเป็นส่วนประกอบในการทำขนม โดยเป็นขนมพื้นเมืองเหนียว ๆ แต่ไม่ใช่กาละแม และเป็นสีเขียว ๆ มีรสชาติหวานอร่อยมาก เข้าใจว่าใช้ใบแห้งนำมาบดเป็นผงใช้ทำเป็นขนมคนทีสอ โดยนำใบแห้งไปผสมกับแป้งข้าวเหนียวและน้ำ แล้วนำไปนึ่งจนสุก นำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด น้ำตาล และเกลือ

-นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเวลาแตกต้นและกิ่งก้านมาก ๆ และเวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก ซึ่งในปัจจุบันท่านสามารถหาซื้อมาปลูกได้ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร โดยจะนิยมนำมาปลูกลงในกระถาง ตั้งประดับไว้ในที่แจ้ง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง