Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านกลีบแรด

ชื่อท้องถิ่น: กีบแรด (แพร่)/ ปากูปีเละ ปียา (ปัตตานี)/ กีบม้าลม (ภาคเหนือ)/ ว่านกีบม้า (ภาคกลาง)/ ปากูดาฆิง (ภาคใต้)/ ดูกู (มลายู-ภาคใต้)/ โด่คเว่โข่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)/ เฟิร์นกีบแรด/ กูดกีบม้า/ ผักกูดยักษ์ เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Giant fern, Mule’s-foot fern

ชื่อวิทยาศาสตร์: Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm.

ชื่อวงศ์: MARATTIACEAE

สกุล: Angiopteris 

สปีชีส์: evecta 

ชื่อพ้อง:

-Callipteris heterophylla T.Moore

-Lomaria pedunculata Goldm.

-Myriotheca arborescens Blanco

-Angiopteris acrocarpa de Vriese

-Angiopteris affinis de Vriese

-Angiopteris alata Nadeaud

-Angiopteris albidopunctulata Rosenst.

-Angiopteris amboinensis de Vriese

-Angiopteris angustata Miq.

-Angiopteris angustifolia C.Presl

-Angiopteris ankolana de Vriese

-Angiopteris aphanosorus de Vriese

-Angiopteris approximata de Vriese

-Angiopteris arborescens (Blanco) Merr.

-Angiopteris assamica de Vriese

-Angiopteris athroocarpa Alderw.

-Angiopteris aurata de Vriese

-Angiopteris badioneura de Vriese

-Angiopteris beecheyana de Vriese

-Angiopteris brongniartiana de Vriese

-Angiopteris canaliculata Holttum

-Angiopteris caudata de Vriese

-Angiopteris commutata C.Presl

-Angiopteris crassifolia de Vriese

-Angiopteris cumingii Hieron.

-Angiopteris cupreata de Vriese

-Angiopteris cuspidata de Vriese

-Angiopteris dregeana de Vriese

-Angiopteris durvilleana de Vriese

-Angiopteris elongata Hieron.

-Angiopteris erecta Desv.

-Angiopteris evanidostriata Hieron.

-Angiopteris evecta var. rurutensis E.D.Br.

-Angiopteris grisea Alderw.

-Angiopteris hellwigii Hieron.

-Angiopteris inconstans Alderw.

-Angiopteris indica Desv.

-Angiopteris intricata C.Presl

-Angiopteris javanica C.Presl

-Angiopteris lancifoliolata Alderw.

-Angiopteris lasegueana de Vriese

-Angiopteris lauterbachii Hieron.

-Angiopteris leytensis Alderw.

-Angiopteris longifolia Grev. & Hook.

-Angiopteris lorentzii Rosenst.

-Angiopteris medogensis Ching & Y.X.Lin

-Angiopteris mekongensis Ching ex C.Chr. & Tardieu

-Angiopteris microsporangia de Vriese

-Angiopteris microura Copel.

-Angiopteris miqueliana de Vriese

-Angiopteris monstruosa Alderw.

-Angiopteris naumannii Hieron.

-Angiopteris norrisii Rosenst.

-Angiopteris novocaledonica Hieron.

-Angiopteris oligotheca Hieron.

-Angiopteris olivacea Alderw.

-Angiopteris palauensis Hieron.

-Angiopteris pallescens de Vriese

-Angiopteris pallida Rosenst.

-Angiopteris palmiformis (Cav.) C.Chr.

-Angiopteris papandayanensis Hieron.

-Angiopteris polytheca C.Chr. & Tardieu

-Angiopteris presliana de Vriese

-Angiopteris ruttenii Alderw.

-Angiopteris similis C.Presl

-Angiopteris stellatosora C.Chr.

-Angiopteris subfurfuracea Alderw.

-Angiopteris teysmanniana de Vriese

-Angiopteris uncinata de Vriese

-Angiopteris willinkii Miquel

-Clementea palmiformis Cav.

-Danaea evecta (G.Forst.) Spreng.

-Polypodium evectum G.Forst.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ว่านกีบแรด thai-herbs.thdata.co | ว่านกีบแรด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย



ต้นว่านกีบแรด เป็นไม้จำพวกเฟิร์น มีความสูงได้ประมาณ 60-180 เซนติเมตร โคนต้นพอง มีลำต้นเป็นหัวอยู่ฝังที่ระดับผิวดิน เป็นเนื้ออวบอ้วน ที่หัวมีร่องรอยบุ๋มรอบหัว ซึ่งเกิดจากขั้วของก้านใบที่หลุดออก เหลือไว้เป็นร่อง มองดูคล้ายกีบเท้าแรด มีสีน้ำตาลออกดำ เนื้อในหัวสีเหลืองคล้ายสีของขมิ้น และมีรสเย็นฝาด


ว่านกีบแรด thai-herbs.thdata.co | ว่านกีบแรด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย    

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบรวมทั้งหมดยาวประมาณ 1.8-4.5 เมตร และกว้างได้ถึง 2 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนไม่เท่ากันหรือเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ และเบี้ยว ส่วนขอบใบจักมน จักเป็นฟันเลื่อย หรือจักถี่ ๆ ตลอดทั้งขอบใบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา อวบน้ำ มีเมล็ดสีน้ำตาล หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบอิสระแยกสาขาเป็นคู่ จำนวนมาก ก้านใบย่อยบวม ยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร ก้านใบร่วมมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบกลม ตามใบแก่จะมีอับสปอร์สีน้ำตาล เรียงติดกันเป็นแถวอยู่ใกล้กับขอบใบตรงด้านท้องใบ กลุ่มอับสปอร์จะอยู่ห่างจากขอบใบประมาณ 1 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปรี ประกอบด้วย 7-12 อับสปอร์ ผนังเชื่อมติดกัน ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

ดอก -

ผล -

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเองตามสภาพของเขา ตามป่าชื้น ป่าดิบเขาที่มีร่มเงาและมีความชื้นสูง ใกล้แหล่งน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป หรือภายในสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะตามห้วยต่าง ๆ

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเอเชียถึงแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: -

ว่านกีบแรด thai-herbs.thdata.co | ว่านกีบแรด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รสเย็นจืด สรรพคุณ แก้พิษไข้ พิษตานซาง แก้กาฬมูตร แก้อาเจียน แก้พิษกำเดา แก้น้ำลายเหนียว

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ว่านกีบแรดในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยาแก้ไข้ปรากฏตำรับ “ยาเขียวหอม” มีส่วนประกอบของว่านกีบแรดร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส

องค์ประกอบทางเคมี:  -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดอาการปวด การทดสอบฤทธิ์ลดปวด ด้วยวิธี Abdominal Writhing Test โดยการให้สารสกัดเมทานอลจากรากว่านกีบแรด ป้อนให้แก่หนูถีบจักร ในขนาดยา 50, 100, 200 และ 400 mg/kg หนูถูกกระตุ้นให้ปวดด้วยการฉีดกรดอะซีติกเข้าไปยังช่องท้อง ผลการทดลองพบว่าการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนท้องของหนูลดลง เท่ากับ 25.9, 40.7, 48.1 และ 59.3% ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน aspirin ขนาดยา 200 และ 400 mg/kg การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนท้องของหนูลดลงเท่ากับ 48.1 และ 63.0% ตามลำดับ (Molla, et al., 2014)

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ด้วยวิธี oral glucose tolerance tests (OGTT) โดยการให้สารสกัดเมทานอลจากรากว่านกีบแรด ป้อนให้แก่หนูถีบจักร ในขนาดยา 50, 100, 200  และ 400 mg/kg หลังจากนั้นจึงป้อนน้ำตาลกลูโคสในขนาด 2 กรัม กลูโคส/ kg body weight แก่หนู จากนั้น 2 ชั่วโมง จึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดหนู ผลการทดลองพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลงเท่ากับ 11.3, 23.0, 32.8 และ 46.7% ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน glibenclamide ขนาดยา 10 mg/kg body weight ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง เท่ากับ 47.4% (Molla, et al., 2014)

-ฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง  จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สารในว่านกีบแรดมีฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง แต่มีฤทธิ์น้อย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ HIV (HIV-1reverse transcriptase) อีกด้วย (สมจินตนา ทวีพานิชย์)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,111 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

-การทดสอบพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรด้วยการแบ่งหนูเป็น 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหนู 6 ตัว กลุ่มที่ 1 ได้รับ 1% Tween 80 (2 ml mg/kg body weight) กลุ่มที่ 2-9 ได้รับ สารสกัดว่านกีบแรดขนาด 100, 200, 300, 600, 800, 1000, 2000 และ 3000 mg/kg body weight ติดตามอย่างใกล้ชิดใน 8 ชั่วโมงแรก และติดตามในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา พบว่าไม่มีการเกิดพิษใดๆ หนูทดลองมีพฤติกรรมที่ปกติ ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีการตายของหนูทดลอง (Molla, et al., 2014)

การใช้ประโยชน์:

-ตำรับยาบำรุงเลือดและบำรุงกำลัง รใช้หัวว่านกีบแรดหั่นตากดองกับเหล้าหรือต้มกับน้ำดื่ม

-ตำรับยาแก้อาการนอนไม่หลับใช้ว่านกีบแรด รากหญ้าคา รากหญ้านาง และเนระพูสี อย่างละพอสมควร นำมาต้มให้เดือด ใช้ดื่มก่อนนอน 1 แก้ว จะช่วยทำให้หลับสบายดี

-หมอยาพื้นบ้านในสามจังหวัดภาคใต้จะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยารักษาโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ด้วยการใช้หัวว่านกีบแรดและหัวกระทือหั่นตากแห้ง นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนแบนุ หมอยาปัตตานี ก็ใช้หัวว่านกีบแรดเป็นยารักษาโรคมะเร็งเช่นเดียวกัน โดยจะใช้หัวนำมาต้มกับแก่นขี้เหล็ก แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มเป็นประจำ

-หมอยาภาคใต้จะใช้หัวตากแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นประจำจะช่วยควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวาน 

-โรคแผลในปากและในคอใช้หัวว่านกีบแรด นำมาฝนกับน้ำหรือต้มเคี่ยว ใช้เป็นยาทาหรืออมไว้ให้ตัวยาสัมผัสกับแผล 

-อาการไข้ ปวดศีรษะ ใช้เหง้าหัวใต้ดิน ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นตากแดดให้แห้ง ใช้ประมาณ 5 กรัม นำมาต้มในน้ำสะอาด 1 ลิตร กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง

-อาการไอ ใช้ใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาโขลกแล้วพอกบริเวณคอ

-คนเมืองจะใช้หัวว่านกีบแรดนำมาสับแล้วตากให้แห้ง นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า ดีปลี และพริกไทย ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง

-ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้โคนก้านใบที่อยู่ใต้ดิน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการตัวบวม

-ใบอ่อน มีรสเฝื่อน สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ ด้วยการนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ป่น แจ่ว เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง