Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐกะกลิ้ง (ตูมกาขาว, แสลงใจ)

โกฐกะกลิ้ง thai-herbs.thdata.co | โกฐกะกลิ้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กระจี้ กะกลิ้ง โกฐกะกลิ้ง ตูมกาแดง (กลาง) / แสงเบือ(อุบลราชธานี) / แสลงทม แสลงเบื่อ(นครราชสีมา)

ชื่อสามัญ: Nux-vomica tree / Snake wood

ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-vomica L.

ชื่อวงศ์: LOGANIACEAE

สกุล: Strychnos

สปีชีส์: nux-vomica

ชื่อพ้อง:

-Strychnos nux-vomica var. oligosperma Dop

-Strychnos spireana Dop

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นโกฐกะกลิ้ง ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน

โกฐกะกลิ้ง thai-herbs.thdata.co | โกฐกะกลิ้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ

      ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน

โกฐกะกลิ้ง thai-herbs.thdata.co | โกฐกะกลิ้ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด

เมล็ด (โกฐกะกลิ้ง) มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 สำหรับประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณแล้ง หรือป่าเต็งรัง พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย เว้นภาคใต้

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออก - ตอนใต้ของอินเดีย พม่า

การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ จีนตะวันออกเฉียงใต้ คิวบา ไหหลำ ไต้หวัน ตรินิแดด - โตเบโก อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้ เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หู ตา จมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย

      *ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม

      *ราก รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด แก่น รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

-พิกัดยา ประกอบด้วย “พิกัดโกฐพิเศษ” ได้แก่ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง โกฐน้ำเต้า

-ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และรับประทานแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ผสมกับรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวตืด เปลือกต้นผสมกับผลปอพราน และเหง้าดองดึงคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ  

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ด ใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลา บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร (curare) ของชนเผ่าอินเดียแดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์

-เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร ฯลฯ

 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง