Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าปราบ (โด่ไม่รู้ล้ม)

ชื่อท้องถิ่น: ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย)/ คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ)/ หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)/ ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ)/ ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ)/ จ่อเก๋ (ม้ง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Prickly-leaved elephant’s foot

ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephantopus scaber L.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Elephantopus 

สปีชีส์: scaber

ชื่อพ้อง: 

-Elephantopus scaber var. coeruleus Kuntze

-Elephantopus scaber var. typica J.Kost.

-Elephantopus sinuatus Zoll. & Moritzi

-Asterocephalus cochinchinensis Spreng.

-Scabiosa cochinchinensis Lour.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม thai-herbs.thdata.co | หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ


หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม thai-herbs.thdata.co | หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้าติดกันเป็นวงกลม เรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุก คล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ แผ่นใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่าง ๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็ก ๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน โดยท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ แผ่นใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ


หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม thai-herbs.thdata.co | หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อ แทงออกจากกลางต้น ช่อดอกรูปขอบขนาน มี 4 ดอกย่อย ยาวประมาณ  8-10 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  2-3 มิลลิเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ  3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ปลายกลีบดอกยาวประมาณ  1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน เกสรเพศผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาว 2.2-2.3 มิลลิเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ก้านชูอับเรณูยาว 1.5-1.7 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ  7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาวประมาณ  0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนที่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยมาอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก บริเวณโคนกระจุกดอกมีใบประดับแข็งรูปสามเหลี่ยม แนบอยู่ 3 ใบ ยาวประมาณ  1-2 เซนติเมตร กว้างประมาณ  0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกยาวถึง 8 เซนติเมตรมีขนสากๆทั่วไป ฐานรองดอก แบน เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูงประมาณ  7-10 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  2-3 มิลลิเมตร  ใบประดับรูปใบหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง และที่ขอบมีขนครุย ชั้นนอกรูปใบหอก ยาวประมาณ  4-6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ  0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ชั้นที่ 2 รูปขอบขนานยาวประมาณ  8-10 มิลลิเมตร กว้างประมาณ  1-2 มิลลิเมตร ปลายแหลม แพปพัส สีขาวเป็นเส้นตรงแข็งมี 5 เส้น เรียง 1 ชั้น ยาวประมาณ  5-6 มิลลิเมตร

ผล ลักษณะเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลเล็กเรียว รูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกมีขนหนาแน่น ยาว 2.5-3 มิลลิเมตร กว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร ไม่มีสัน

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วไปตามป่าโปร่งที่มีดินค่อนข้างเป็นทราย ในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และในป่าสนเขา

ถิ่นกำเนิด: is Tropical & Subtropical Asia.

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม thai-herbs.thdata.co | หญ้าปราบ-โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้กระษัย แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงกำหนัด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นโด่ไม่รู้ล้ม พบสาร Crepiside E, cynaropicrin deacyl; cyanaropicrin-3-β-D-glucopyranoside deacyl; dotriacontan-1-ol; elephantopin, 11-13-dihydro-deoxy; elephantopin, 11-13-dihydro; elephantopin deoxy; elephantopin, iso-deoxy; friedelanol, epi; friedelinol, epi; lupeol; stigmasterol; stigmasterol 3-O- β-D-glucoside; triacontan-1-ol; zaluzanin C, gluco; scabertopin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-สารสกัดต่างๆ ของโด่ไม่รู้ล้มมีฤทธิ์ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก  ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิตและยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก กระตุ้นมดลูก ยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase, glutamate-oxaloacetate-transaminase และ glutamate-pyruvate-transaminase   

-มีการศึกษาผลของโด่ไม่รู้ล้มในหนูเพศผู้ต่อความกำหนัด คุณภาพน้ำอสุจิ อวัยวะเพศเสริม ขนาดและกล้ามเนื้อลึงค์ และสัดส่วนเพศลูก พบว่าสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม มีฤทธิ์กระตุ้นกำหนัดและทำให้ระดับ testosterone สูงขึ้นในหนูแรท แต่ในขนาดสูงกลับทำให้ระดับ testosterone และเชื้ออสุจิลดลง  เพิ่มการเกิด libido เปลี่ยนแปลงค่า osmolality และจำนวนอสุจิของน้ำอสุจิ ลดเปอร์เซ็นต์อสุจิเคลื่อนไหว เพิ่มน้ำหนักอวัยวะเพศเสริม และเพิ่มสัดส่วนเพศลูก (เพศเมีย/เพศผู้)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-สารสกัด 50% เอทานอลจากพืชทั้งต้น ไม่มีพิษ เมื่อให้หนูถีบจักรกินแม้จะให้ในขนาดสูงถึง 6.0 กรัม/กิโลกรัม และพบว่าขนาดของสารสกัดทั้งสองชนิดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 มีค่ามากกว่า 2 กรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง

-สารสกัดรากและใบที่หมักกับเหล้าโรง 40 ดีกรี เมื่อนำมาป้อนหนูทดลองในขนาดความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพียงครั้งเดียว แล้วเก็บผลในวันที่ 14 ผลการทดสอบพบว่าหนูไม่แสดงอาการผิดปกติ ส่วนการทดสอบความเป็นพิษแบบระยะสั้น พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของน้ำหนักตัว น้ำหนักตับ ไต ม้าม หัวใจ adrenal cortex และอัณฑะ รวมทั้งระดับเอนไซม์ BUN creatinine AST และ ALT ของหนูทุกกลุ่ม

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่งและม้ากระทืบโรง หรือจะใช้ใบต้มกับน้ำดื่ม

-ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้มนำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยใช้ผสมเข้ายาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ คือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง ลำต้นฮ่อสะพายควาย สะค้าน ตานเหลือง มะตันขอ เปลือกลำ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และข้าวหลามดง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาบำรุงก็ได้เหมือนกัน

-อาการไข้ ไข้หวัด ใช้รากโด่ไม่รู้ล้มนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ราก ลำต้น ใบ และผล ต้มเป็นน้ำดื่ม

-อาการไอ ไอเรื้อรัง ใช้ต้นหรือรากต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไอ 

-อาการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นแห้งประมาณ 6 กรัม นำมาแช่ในน้ำร้อนขนาด 300 cc. ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วรินเอาน้ำมาดื่มจะช่วยบรรเทาอาการ หรือจะใช้ต้นแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วปั้นเป็นเม็ดไว้รับประทาน

-อาการแผลในช่องปาก ใช้ต้นแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มดื่มวันละครั้ง 

-อาการปวดฟันได้ ใช้รากต้มกับน้ำนำมาอม หรือใช้รากนำมาตำผสมกับพริกไทยอม

-โรคท้องมานหรือภาวะที่มีน้ำในช่องท้องมากเกินปกติ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับดื่มเช้าเย็น หรือใช้ตุ๋นกับเนื้อแล้วนำมารับประทานก็ได้

-โรคฝีฝักบัวใช้ต้นสดประมาณ 25 กรัม ใส่เหล้า 1 ขวด และน้ำ 1 ขวด แล้วนำมาต้มดื่ม และใช้ต้นสดต้มกับน้ำเอาน้ำมาชะล้างบริเวณหัวฝีที่แตก (

-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ในสตรี (กามโรค) ใช้แบบสดหรือแห้งประมาณ 2 กำมือนำมาต้มเป็นน้ำดื่มแก้อาการ 

-โรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ 

-โรคนิ่ว ใช้ต้นสดประมาณ 90 กรัม ต้มรวมกับเนื้อหมู 120 กรัม พร้อมใส่เกลือเล็กน้อย ต้มแล้วเคี่ยวกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม เอากากออก แบ่งรับประทานเป็น 4 ครั้ง หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม

-อาการขัดเบา (อาการเริ่มต้นของทางเดินปัสสาวะอักเสบ) ใช้ต้นสดประมาณ 15-30 กรัม ใช้ต้มกับน้ำดื่ม

-อาการเหน็บชา ใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัมและเต้าหู้ประมาณ 60-120 กรัม แล้วเติมน้ำพอประมาณ ใช้ตุ๋นรับประทาน -อาการปวดหลังปวดเอวได้ ใช้รากต้มร่วมกับลุบลิบก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ใบต้มกับน้ำดื่มร่วมกับเหงือกปลาหมอ

-อาการปวดเมื่อยตามร่างกายกาย ใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง

-อาการฝีบวม ฝีมีหนอง ใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย และละลายน้ำส้มสายชูพอข้น ๆ แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี 

-ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ใช้รากต้มกับน้ำดื่ม 

-ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาไหลง่าย ใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาต้มกับเนื้อหมูแดงพอประมาณแล้วใช้รับประทานติดต่อกัน 3-4 วัน 

-ช่วยรักษาบาดแผล ดรใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาทาแผล



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง