Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ทองพันชั่ง

ชื่อท้องถิ่น: ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง) 

ชื่อสามัญ: White crane flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz

ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE

สกุล: Rhinacanthus

สปีชีส์: nasutus 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ทองพันชั่ง thai-herbs.thdata.co | ทองพันชั่ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม


ทองพันชั่ง thai-herbs.thdata.co | ทองพันชั่ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ เนื้อใบบางและเกลี้ยง แผ่นใบมีสีเขียวเป็นมัน


ทองพันชั่ง thai-herbs.thdata.co | ทองพันชั่ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกรวมกันเป็นหลอดรูปแจกันทรงสูง มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ปลายกลีบล่างห้อยย้อยลง กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และหยักเป็นสามลอน กลีบบนชี้ตั้งขึ้นปลายแยกเป็นสองลอน ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก เกสรเพศผู้สีน้ำตาลอ่อนยื่นพ้นปากหลอดออกมา

ผล ลักษณะผลเป็นฝักและมีขนสั้น ไ คลุม  ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด พอแห้งแตกออกได้

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเบื่อเย็น สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง

*ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

2.“พิกัดสัตตะโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

3.“พิกัดเนาวโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง เนื้อไม้ขันทองพยาบาท รากต้นใบทอง รากต้นทองเครือ รากจำปาทอง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะและลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ทองพันชั่ง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาผสมโคคลาน” มีส่วนประกอบของทองพันชั่งร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสารสำคัญคือ rhinacanthin และoxymethylanthraquinone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและยีสต์ ผลการศึกษาการฆ่าเชื้อรา Trichophyton rubrum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลาก โดยวิธี paper disc เทียบกับยาต้านเชื้อรา griseofulvin และ nystatin โดยใช้สารสกัดจากใบและกิ่ง ด้วยน้ำ แอลกอฮอล์ และคลอโรฟอร์ม พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์น้อยมาก ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดีพอสมควร สารสกัดทองพันชั่งด้วยเมทานอล ไดคลอโรมีเทนและเฮก เซน มีผลยับยั้งเชื้อรา Epidermophyton floccousm, Microsporum gypseum, Trichophyton mentagrophytes และ T. rubrum ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เมื่อทดสอบบนจานเลี้ยงเชื้อ 

สาร rhinacanthin C, D และ N ซึ่งแยกจากใบเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา บนจานเลี้ยงเชื้อ พบว่าสารดังกล่าวทั้ง 3 ชนิด สามารถต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคทางผิวหนัง ได้แก่ Trichophyton rubrum, T. mentagrophytes และ Microsporum gypseum ได้ โดยที่สาร rhinacanthin C มีฤทธิ์แรงที่สุด สารสกัด RN-A และ RN-B ซึ่งเป็นกลุ่ม sesquiterpenoid จากใบทองพันชั่ง มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับสาร pyrano-1,2-naphthoquinones สามารถฆ่าสปอร์ของเชื้อรา Pyricularia oryzae ซึ่งเป็นราที่เป็นสาเหตุของโรคในข้าวเจ้าได้ สาร 3,4-dihydro-3,3-dimethyl-2H-naphtho(2,3-o)pyran-5,10-dione จากทองพันชั่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อราสาร rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่ง สามารถยับยั้งยีสต์ Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อราในช่องปากและช่องคลอด

-ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส สารสกัดใบทองพันชั่งด้วยน้ำและเอทานอล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัส Herpes simplex type1 (HSV-1) ซึ่งเป็นสาเหตุของเริม สาร rhinacanthin C และ D จากต้นทองพันชั่ง เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัส ในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อ cytomegalovirus ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนี่งของการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง สาร rhinacanthin E และ F จากส่วนเหนือดินของต้นทองพันชั่ง เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดต้นทองพันชั่งด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50  เมื่อป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบอาการเป็นพิษในหนูเม้าส์ ซึ่งขนาดที่ใช้ทดลองนี้เป็น 3,333 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายา

การใช้ประโยชน์:

-นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่ว ๆไป (ต้น)




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง