Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย:  ลิ้นงูเห่า (ทองระอา)

ชื่อท้องถิ่น: เสลดพังพอนตัวผู้ พิมเสนต้น (ภาคกลาง)/ ก้านชั่ง (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)/ คันชั่ง (ตาก)/ ชองระอา ช้องละอา ทองระอา ลิ้นงูเห่า (กรุงเทพฯ)/ อังกาบ อังกาบเมือง (ไทย)/ ด่อมะอ้าย (ปะหล่อง)/ ฉิกแชเกี่ยม ฮวยเฮียะแกโต่วเกียง (จีน)/ ฮวาเย่เจี่ยตู้เจียน ชีซิงเจี้ยน ชื่อเสี่ยฮวา (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Hop Headed Barleria, Hophead, Porcupine flower, Philippine violet

ชื่อวิทยาศาสตร์: Barleria lupulina Lindl.

ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE

สกุล: Barleria 

สปีชีส์: lupulina 

ชื่อพ้อง:

-Barleria macrostachya Bojer

-Dicliptera spinosa Lodd. ex Nees

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ลิ้นงูเห่า thai-herbs.thdata.co | ลิ้นงูเห่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ลิ้นงูเห่า thai-herbs.thdata.co | ลิ้นงูเห่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นลิ้นงูเง่า จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนกิ่งและก้านเป็นสีน้ำตาลแดง ตามข้อของลำต้นและโคนก้านใบมีหนามแหลมคมและยาวสีน้ำตาลข้อละ 2 คู่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชุ่มชื้น ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไป


ลิ้นงูเห่า thai-herbs.thdata.co | ลิ้นงูเห่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง พื้นใบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน เส้นใบและก้านเป็นสีแดง ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร และโคนก้านมีหนามแหลม 1 คู่ โค้งงอ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร สีม่วงชี้ลง


ลิ้นงูเห่า thai-herbs.thdata.co | ลิ้นงูเห่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้ง โดยจะออกที่ปลายยอด ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-9 เซนติเมตร ช่อดอกอ่อนจะมองเห็นใบประดับรูปกลมรีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร หุ้มดอกไว้ภายใน ดอกจะมีใบประดับขนาดใหญ่เรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว ใบประดับที่โคนเป็นสีเขียว ปลายใบประดับเป็นสีม่วง หรือทั้งใบประดับเป็นสีแดงอมเขียวหรือสีม่วงอมน้ำตาล รูปไข่เกือบกลม ปลายเป็นติ่งแหลม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกจะมี 4 กลีบ เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร คู่นอกจะมีขนาดใหญ่กว่าคู่ใน ปลายเป็นติ่งหนาม เมื่อดอกโตเต็มที่ ดอกจะโผล่เลยกลีบประดับออกมา โดยกลีบดอกจะเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกคล้ายรูปปากเปิด มี 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 ปาก แบ่งเป็นปากบนมีกลีบมนขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่จะมี 4 กลีบ เรียงซ้อนแผ่ชิดกัน บานแผ่ออก ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และกลีบล่างอีก 1 กลีบ ที่มีขนาดเล็กกว่าและพับงอเล็กน้อย กลีบดอกจะหลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ยื่นพ้นจากปากหลอดกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ที่เป็นมัน 2 อัน สั้น ๆ รังไข่มี 2 ช่อง ส่วนก้านเกสรเพศเมียยาว โดยจะยาวได้ประมาณ 3 เซนติเมตร

ผล มีลักษณะเป็นฝักรูปมนรี รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ลักษณะแบนและยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด (ซีกละ 1-2 เมล็ด)

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ  ตำกับสุรา พอกแก้ปวดฝี ถอนพิษปวดอักเสบ

*ราก รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ ฝนกับสุรา ทาแก้พิษตะขาบ แมลงป่อง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้น  พบสารสำคัญ ได้แก่ Iridiod glycoside, Acetyl barlerin , Barlerin, Shanzhiside methyl ester.

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-อาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ใช้ใบสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป) นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล ที่มีอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด

-อาการเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ใช้ใบสด 1,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ

-อาการแพ้ ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี

-อาการแผลน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ใช้ใบสดตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง

-อาการแผลน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง