Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ทองหลางใบมน (ทองหลางบก)

ชื่อท้องถิ่น: ทองกี ทองแค ทองบก (ภาคเหนือ) 

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina suberosa Roxb. 

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย  FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล:  Erythrina

สปีชีส์: suberosa

ชื่อพ้อง: 

-Corallodendron suberosum (Roxb.) Kuntze

-Erythrina alba Roxb. ex Wight & Arn.

-Erythrina bisetosa Griff.

-Erythrina glabrescens (Prain) R.Parker

-Erythrina hamiltoniana Steud.

-Erythrina maxima Roxb. ex Wight & Arn.

-Erythrina nahasuta Buch.-Ham. ex Wall.

-Erythrina reniformis Buch.-Ham.

-Erythrina stricta var. suberosa (Roxb.) Niyomdham

-Erythrina sublobata Roxb.

-Micropteryx suberosa (Roxb.) Walp.

-Micropteryx sublobata (Roxb.) Walp.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ทองหลางใบมน thai-herbs.thdata.co | ทองหลางใบมน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นทองหลางใบมน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นหนาเป็นร่องลึก ตามกิ่งและก้านมีหนามแหลมคมเล็ก ๆ


ทองหลางใบมน thai-herbs.thdata.co | ทองหลางใบมน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแต่มุมโค้งมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5 เซนติเมตร


ทองหลางใบมน thai-herbs.thdata.co | ทองหลางใบมน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีแดงเลือดนก มีลักษณะคล้ายดอกแค


ทองหลางใบมน thai-herbs.thdata.co | ทองหลางใบมน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ทองหลางใบมน thai-herbs.thdata.co | ทองหลางใบมน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเป็นฝักแคบ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วไปทางภาคเหนือ มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าผลัดใบ และมีปลูกไว้ตามบ้านและหัวไร่ปลายนา

ถิ่นกำเนิด: อินเดียจนถึงคาบสมุทรมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: บังกลาเทศ, กัมพูชา, หิมาลายาตะวันออก, อินเดีย, มาลายา, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสเฝื่อนเอียน สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ลม แก้ก้อนนิ่วในไต

*กระพี้ รสเฝื่อนเอียน สรรพคุณ แก้พิษฝี

*แก่น รสเฝื่อนเอียนเย็น สรรพคุณ แก้ฝีในท้อง(วัณโรค) 

*ใบ รสเบื่อเอียนเย็น สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตัวร้อน แก้ริดสีดวง

*ดอก รสขื่นเอียนเย็น สรรพคุณ ขับโลหิตระดู 

*ลูก (ฝัก)รสขม สรรพคุณ บำรุงน้ำดี

*ราก รสเฝื่อนเอียน สรรพคุณ แก้พิษทั้งปวง

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

2.“พิกัดสัตตะโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

3.“พิกัดเนาวโลหะ” ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง เนื้อไม้ขันทองพยาบาท รากต้นใบทอง รากต้นทองเครือ รากจำปาทอง สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะและลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ทองหลางใบมน ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของทองหลางใบมนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารสำคัญที่พบ ได้แก่ arachidic acid, behenic acid, campesterol, cyanidin-3-5-Ii-O-β-D-dlucoside, delphinidin-3-5-di-O-β-D-glucoside, erythrina suberosa lectin, flavonone, linoleic acid, myristic acid, oleic acid, palmitic acid, pelargonidin-3-5-di-O-β-D-glucoside, β-sitosterol, stearic acid, stigmastero

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต จากการทดลองในปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งทำการทดลองใช้สารสกัดจากเปลือกต้นและใบทองหลางใบมนในสัตว์ทดลอง พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดจากใบและเปลือกต้นทองหลางใบมนด้วยเอทานอล 50% เข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง พบว่าขนาดที่ทนได้สูงสุดคือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม และ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ ส่วนสาร alkaloid จากใบในขนาด 306.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำให้หนูถีบจักรตาย 50%

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อนและใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสด เช่น ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นผักแกล้มกับยำ ลาบหมู แกล้มกับตำมะม่วง เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง