Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เปล้าน้อย

ชื่อท้องถิ่น: เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Thai croton

ชื่อวิทยาศาสตร์: Croton fluviatilis Esser, Croton stellatopilosus H.Ohba, Croton sublyratus Kurz

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Croton

สปีชีส์: fluviatilis 

ชื่อพ้อง: Oxydectes sublyrata (Kurz) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เปล้าน้อย thai-herbs.thdata.co | เปล้าน้อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเปล้าน้อย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ที่เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ 


เปล้าน้อย thai-herbs.thdata.co | เปล้าน้อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกรียาว มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียว แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ส่วนขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีขนาดเล็ก โดยจะออกบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้นเมื่อบานแล้วจะโค้งไปด้านหลัง โดยกลีบดอกมีประมาณ 10-15 กลีบ มีสีขาวนวล


เปล้าน้อย thai-herbs.thdata.co | เปล้าน้อย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกผลเมื่อแห้งมีสีน้ำตาลและแตกได้ง่าย โดยผลจะแบ่งออกเป็นพู 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลผิวเรียบ มีลายเส้นตามแนวยาวสีขาวหนึ่งเส้น มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ตามป่าเบญจพรรณ 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ ทำให้อาหารงวด ช่วยย่อยอาหาร

*ใบ รสร้อน สรรพคุณ แก้คันตามตัว

*ผล รสร้อน สรรพคุณ ขับหนองให้กระจาย

*ราก รสร้อน สรรพคุณ แก้ลมขึ้นเบื้องบนให้เป็นปกติ

*แก่น รสร้อน สรรพคุณ ขับโลหิต แก้ช้ำใน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ มีสารสำคัญคือ “เปลาโนทอล” (plaunotol) ทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะน้อยลง และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบ ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ ด้วยการรับประทานร่วมกับน้ำพริก 

-ใบสด นำมาชงเป็นชาสมุนไพรดื่มก็ได้เช่นกัน แต่ยังมีข้อจำกัดก็คือ 

-ใบ มีรสขมมาก อีกทั้งปริมาณของสารเปลาโนทอลก็มีอยู่ค่อนข้างต่ำ จึงใช้รับประทานครั้งละมาก ๆ ไม่ได้ และไม่เพียงพอต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเฉียบพลันเหมือนกับการใช้ยาเปลาโนทอลแบบสำเร็จรูป แต่ทั้งนี้สามารถใช้รับประทานเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพระยะยาวได้ เนื่องจากจะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง ลดอาการกำเริบของโรค ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น

-ใบและราก สามารถนำมาทำเป็นยาปฏิชีวนะได้ โดยใบเปล้าน้อยสามารถนำไปสกัดเป็นยา “เปลาโนทอล” (Plaunotol) หรือยารักษาโรคกระเพาะ โดยจะเริ่มเก็บใบได้เมื่อต้นมีอายุ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งในหนึ่งปีจะสามารถเก็บผลผลิตจากต้นเดิมได้แค่ 3 ครั้ง ถ้ามีการบำรุงดูแลที่ดี สำหรับวิธีการเก็บก็คือการตัดช่อใบจากส่วนยอดของแต่ละกิ่ง โดยนับจากปลายยอดลงมาไม่เกินใบที่ 10 หรือยาวไม่เกิน 6 นิ้ว เมื่อเก็บใบมาได้ก็นำมาผึ่งในร่มจนแห้ง แล้วนำไปบรรจุในภาชนะส่งโรงงาน เพื่อใช้ผลิตเป็นยาเปลาโนทอลในรูปเม็ดสำเร็จ แบบซอง หรือแบบแคปซูลซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่าย







ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง