Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พลูคาว

ชื่อท้องถิ่น: ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี)/ คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร)/ ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน)/ ผักคาวปลา ผักเข้าตอง ผักคาวตอง (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: Plu Kaow

ชื่อวิทยาศาสตร์: Houttuynia cordata Thunb.

ชื่อวงศ์: SAURURACEAE

สกุล: Houttuynia 

สปีชีส์: cordata

ชื่อพ้อง:

-Houttuynia cordata f. polypetaloidea T.Yamaz.

-Houttuynia cordata f. viridis J.Ohara

-Houttuynia emeiensis Z.Y.Zhu & S.L.Zhang

-Polypara cochinchinensis Lour.

-Polypara cordata (Thunb.) H.Buek

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

พลูคาว thai-herbs.thdata.co | พลูคาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นพลูคาว พืชล้มลุกขนาดเล็ก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีรากแตกออกตามข้อ สูง 30-50 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง กลม สีเขียว เรียบมัน อาจพบสีม่วงแดงอ่อน ทั้งต้นถ้านำมาขยี้ดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา  


พลูคาว thai-herbs.thdata.co | พลูคาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบแผ่บาง เกลี้ยง โคนใบเว้าเข้าหากัน คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไต ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3.5-9 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร เส้นใบออกจากฐานใบ 5-7 เส้น มีขน ผิวใบด้านบนเรียบสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ โคนก้านใบแผ่เป็นปีกแคบ ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร หูใบเป็นแผ่นยาวติดกับก้านใบ เมื่อขยี้ใบดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา รสฝาดเล็กน้อย ร กลีบรองดอกและกลีบดอกลดรูป เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรตัวเมียมีก้านชูยอดเกสร 3 อัน 


พลูคาว thai-herbs.thdata.co | พลูคาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อ สีเหลือง ขนาดเล็กมาก และมีจำนวนมากอัดกันแน่นบนแกนช่อ รูปทรงกระบอก  ออกบริเวณปลายยอดหรือซอกใบใกล้ยอด ไม่มีกลีบดอกและก้านดอก มีใบประดับ 4 ใบ สีขาวนวล รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาดไม่เท่ากันรองรับโคนช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อติดผลจะเจริญยาวขึ้นได้ถึง 2.5-5 เซนติเมต


พลูคาว thai-herbs.thdata.co | พลูคาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลกลมรี มีขนาดเล็กมาก ติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก แห้งแตกได้ ที่บริเวณยอด มีเมล็ดขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ริมน้ำ พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบต่ำไปจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,500 เมตร 

ถิ่นกำเนิด: จีน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนเหนือกลางจีนใต้-กลางจีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, ญี่ปุ่น, เกาหลี, พม่า, เนปาล, เกาะโอกาซาวาระ, ไต้หวัน, ไทย, ทิเบต, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก, แอละแบมา, ออสเตรีย, คอสตาริกา, เชโกสโ, ลวะเกีย, เยอรมนี, นิวยอร์ก

พลูคาว thai-herbs.thdata.co | พลูคาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสร้อนเล็กน้อยกลิ่นคาวชื่น สรรพคุณ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เข่าข้อ ทำให้แผลแห้ง แก้โรคผิวหนังทุกชนิด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้น พบน้ำมันระเหยง่ายประมาณ 0.5% และพบสารอื่นๆ ได้แก่ สารกลุ่มเทอร์ปีน caprinaldehyde, myrcene, geraniol, linalool, cineole, limonene, pinene, thymol, caryophyllene, 3-oxodecanol สารกลุ่มฟลาโนอยด์ ได้แก่ quercitrin, rutin, quercetin, afzelin, reynoutrin, hyperin สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ได้แก่ อะริสโทแลคแทมเอ, พิเพอโรแลคแทมเอ สารอื่นๆ ได้แก่ capric acid, potassium chloride, potassium sulphate

-ผล พบน้ำมันหอมระเหย เป็นของเหลวใส สีเหลืองทอง มีกลิ่นเฉพาะตัว ประกอบด้วย alpha pinene, beta pinene, d-limonene, borneol, linalool, beta caryophyllene, eucalypttol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง (Cytotoxic against tumor cell lines) มีรายงานการวิจัยว่า สาร aristolactam A, piperolactam A, aristolactam B, norcepharadione B, cepharadione B และ splendidin ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์ที่แยกได้จากส่วนเหนือดินของผักคาวตอง แสดงฤทธิ์ปานกลางในหลอดทดลองในการทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง 5 ชนิดคือ 1. A-549 (human lung adenocarcinoma: เซลล์มะเร็งปอด) 2.SK-OV-3 (human ovarian adenocarcinoma: เซลล์มะเร็งรังไข่), 3.SK-MEL-2 (human malignant melanoma: เซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย), 4.XF-498 (human CNS carcinoma: เซลล์มะเร็งสมอง) และ 5.HCT-15 (human colon adenocarcinoma: เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่) โดยที่สาร splendidin มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งทั้ง 5 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขนาดที่ให้ผล 50% (ED50) มีค่าเท่ากับ 3.4, , , aristolactam B จะมีฤทธิ์เฉพาะต่อ XF-498 โดยมีค่า ED50 เท่ากับ 0.84 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดผักคาวตองมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ในคน HT-29 โดยทำให้เกิด cell apoptosis (อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว หรือ programmed cell death ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์)ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์อาจสัมพันธ์กับ mitochondrial-dependent pathway  

-ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Antileukemic activity) เมื่อนำเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาว(leukemic cell lines) 5 ชนิดได้แก่ L1210, U937, K526, Raja และ P3HR1 ไปเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดด้วยน้ำของผักคาวตองพบว่า สารสกัดผักคาวตองมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของ leukemic cell lines ทั้ง 5 ชนิด โดยค่าความเข้มข้นที่ให้ผลยับยั้ง 50% (IC50) มีค่าระหว่าง 478-662 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่าสารสกัดน้ำและสารสกัดเมทานอลของผักคาวตองมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์จากสาร  benzo(a)pyrene, aflatoxin B1 และ oxidized frying oil (OFO) โดยที่ความแรงในการออกฤทธิ์แปรตามขนาดของสารสกัดที่ใช้ และสารสกัดน้ำมีฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดเมทานอล

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำ ออกฤทธิ์อย่างอ่อนต่อเชื้อ Staphylococcus aureus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 140 ไมโครกรัม./มล. และต้านเชื้อ S. pyogenes โดยมีค่า MIC เท่ากับ 32 ไมโครกรัม./มล. และ สารสกัดส่วนเหนือดินแห้งด้วยแอลกอฮอล์ (95%) สารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 1% ต้านเชื้อ S. aureus นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุขนาด ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกหลายชนิด และยังพบว่าสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 200 มก./มล. พบว่าต้านเชื้อ b-streptococcus group A S84 แต่ไม่ต้านเชื้อ S. aureus

-ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus

-ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาว ซึ่งประกอบด้วย n–decyl aldehyde, n–dodecyl aldehyde และ methyl–n–nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลองได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type–1 (HSV–1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV–1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ้ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และ คอกซากีไวรัส

-ฤทธิ์ลดการอักเสบ เมื่อฉีดสารสกัดน้ำร้อนของยาสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนผสมเข้าช่องท้องหนูขาว พบว่าลดการอักเสบจาก formalin หรือ cotton-pellet granuloma และมีการศึกษากับผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทั้ง 2 เพศ โดยการฉีดยาสมุนไพรตำรับนี้เข้ากล้ามเนื้อ 10 ราย หลอดเลือดดำ 74 ราย สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ เมื่อให้สารสกัดของตำรับยาซึ่งมีพลูคาวเป็นส่วนผสมแก่หนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่เหนี่ยวนำด้วย adjuvant และในการทดสอบ granuloma pouch แต่ไม่แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่ถูกทำให้อักเสบด้วย carrageenan และ mustard แต่โลชั่นซึ่งมีสารสกัดพลูคาวผสมกับสารสกัดอื่น แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบ และสมานแผลในหนูถีบจักร และมีการศึกษากระบวนการอักเสบ พบว่าสามารถยับยั้ง cyclooxygenase (COX-2), nitric oxide synthase (iNOS) ซึ่งทำให้อักเสบ พบว่าเมื่อทดสอบสารสกัดพลูคาวด้วยเมทานอล (100%) ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม./มล. ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase (COX-2) ในเซลล์ macrophages RAW264.7 ของหนูถีบจักร ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยlipopolysaccharide (LPS)  แต่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ nitric oxide synthase (iNOS) 13.2%

-ฤทธิ์ต้านการแพ้ การวิจัยฤทธิ์ต้านการหลั่งฮีสตามีนซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ พบว่าเมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำร้อนแก่หนูขาว ในขนาด 25 มก. มีผลยับยั้ง concanavalin A ต่อ mast cell ในการหลั่งฮีสตามีน มีการศึกษาตำรับยาสมุนไพรที่มีพลูคาวเป็นส่วนผสมในเรื่องต้านการแพ้ พบว่าต้าน picryl-chloride และ passive cutaneous anaphyaxis ในหนูถีบจักร ต้าน masugi’s nephritis แต่ไม่ต้าน immune-complex induced glomerulonephritis และ homologous passive cutaneous anaphylaxisในหนูขาว  แต่ทดสอบการแพ้โดยการฉีดสารสกัดน้ำของตำรับยาที่มีพลูคาวเข้าช่องท้องหนูตะเภา ไม่พบอาการแพ้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง

-ฤทธิ์ระงับปวด โดยเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยออกฤทธิ์ เช่นเดียวกับยาแก้ปวดและลดการอักเสบแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

-ฤทธิ์ขับปัสสาวะ (diuretic activity) จากการทดลองในกบและคางคกพบว่า น้ำคั้นจากต้นสดมีผลขายหลอดเลือดฝอยทำให้การไหลเวียนของเลือดและการขัยปัสสาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งฤทธิ์การขับปัสสาวะนี้อาจเนื่องมาจากสารโปแตสเซียม หรืออาจเป็นเพราะสาร quercetin ในผักคาวตองที่มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัวะ

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำทางสายยางแก่หนูถีบจักร ค่า LD50 (ค่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง) เท่ากับ 0.75 ก./กก.

-ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดพลูคาวส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยน้ำ สารสกัดเมทานอลในขนาด 100 มก./มล. รวมถึงสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ หรือสารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในSalmonella typhimurium TA98 และ TA100 แต่สารสกัดเมทานอล ออกฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อนใน Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และเมื่อฉีดสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ หรือสารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ 

-พิษต่อเซลล์ พบว่าน้ำมันหอมระเหย ค่า IC50 (ค่าความเข้มข้นที่สารมีประสิทธิภาพในการยังยั้ง 50%) มากกว่า 59 ppm เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ Hela, cells-MDCK สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเมทานอลและสารสกัดน้ำในขนาด 5% เป็นพิษอย่างอ่อนและแสดงฤทธิ์ไม่แน่นอนต่อเซลล์ CA-Ehrlich-ascites

การใช้ประโยชน์:

-แถบภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้นบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ  ใบใช้แก้บิด นอกจากใช้เป็นผักแล้วยังใช้ต้มกับปลาหรือไข่เป็ดช่วยดับกลิ่นคาว

-ตำราสมุนไพรไทยจีน ใช้พลูคาว 15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ บิด และวัณโรค

-ตำรายาจีน เรียกอวี่ซิงเฉ่า (ภาษาจีนกลาง) หรือ ฮื่อแชเฉ่า (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ลำต้นใช้เป็นยาช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ช่วยต้านแบคทีเรีย

-จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดียใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ (Detox) รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงกัดต่อย

-เกาหลีใช้ผักคาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง, arterosclerosis  และมะเร็ง

-เนปาลใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบ และขับระดู ใบใช้ในยารักษาโรคผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร     

-อินเดียใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นผัก

-ยุโรปและอเมริกานั้นนิยมปลูกพลูคาวพันธุ์ใบด่างเป็นไม้ประดับ

-ใบ ยอดอ่อน รสเผ็ดคาว ใช้รับประทานสดเป็นผักกับน้ำพริก ทางภาคเหนือรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับลาบ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง