Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระทุ้งหมาบ้า (ผักฮ้วนหมู)

ชื่อท้องถิ่น: ผักฮ้วนหมู (เชียงใหม่)/ เครือเขาคลอน (อุบลราชธานี)/ ผักง่วนหมู ต้นง่วนหมู หัวเขาคอน (ร้อยเอ็ด)/ มวนหูกวาง (เพชรบุรี)/ เครือเขาหมู ผักฮ้วนหมู ฮ้วนหมู (ภาคเหนือ)/ กระทุงหมาบ้า คันชุนสุนัขบ้า (ภาคกลาง)/ เถาคัน (ภาคใต้)/ มุ้งหมู ฮ้วน ผักม้วน ผักโง้น ผักง้วน ผักง้วนหมู (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f.

ชื่อวงศ์: APOCYNACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASCLEPIADOIDEAE-ASCLEPIADACEAE

สกุล: Dregea 

สปีชีส์: volubilis

ชื่อพ้อง: 

-Apocynum tiliifolium Lam.

-Asclepias viridiflora Roxb. ex Decne. 

-Asclepias volubilis L.f.

-Cynanchum viridiflorum Ker Gawl. ex Spreng.

-Dregea angustifolia (Hook.f.) Santapau & Irani

-Dregea formosana T.Yamaz.

-Dregea pubescens (Miq.) Boerl.

-Dregea volubilis var. angustifolia Hook.f.

-Dregea volubilis var. glabra Costantin

-Dregea volubilis var. lacuna (Buch.-Ham. ex Wight) Hook.f.

-Dregea volubilis var. viridiflora (Hassk.) Kuntze

-Hoya formosana T. Yamaz.

-Hoya lacuna Buch.-Ham. ex Wight

-Hoya viridiflora R.Br.

-Hoya viridiflora Griff.

-Hoya volubilis Griff.

-Marsdenia volubilis (L. f.) Cooke

-Schollia volubilis (L. f.) Jacq. ex Steud.

-Tylophora macrantha Hance

-Wattakaka angustifolia (Hook.f.) S.D.Deshp.

-Wattakaka pubescens Miq. 2012-03-23

-Wattakaka viridiflora Hassk.

-Wattakaka volubilis (L. f.) Stapf

-Wattakaka volubilis var. glabra (Costantin) Tsiang

-Wattakaka volubilis var. lacuna (Buch.-Ham. ex Wight) M.A. Rahman & Wilcock

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระทุ้งหมาบ้า thai-herbs.thdata.co | กระทุ้งหมาบ้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระทุ้งหมาบ้า เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง 10 เมตร เถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถากลม เปลือกเถาอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่เป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอ่อน ตามผิวกิ่งตะปุ่มตะป่ำ และมีช่องอากาศ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม ปลายใบแหลมหรือยาวรี โคนใบมนหรือเว้าหรือป้าน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาวประมาณ 4 เซนติเมตร


กระทุ้งหมาบ้า thai-herbs.thdata.co | กระทุ้งหมาบ้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กระทุ้งหมาบ้า thai-herbs.thdata.co | กระทุ้งหมาบ้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก โดยจะออกบริเวณซอกใบหรือระหว่างก้านใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน บิดเวียนกัน ยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบแยกออกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม เส้าเกสร 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร


กระทุ้งหมาบ้า thai-herbs.thdata.co | กระทุ้งหมาบ้า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝัก ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร โคนฝักป่องแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลาย มีครีบตามยาว ผิวฝักมีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ข้างในฝักมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่หรือรูปรีกว้าง โค้งเว้า มีขนาดยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวเรียบเป็นมันวาว ขอบบางเป็นครีบ มีพู่ขนสีขาวเป็นมันเหมือนเส้นไหม

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามบริเวณป่าดิบ ป่าราบ หรือบริเวณชายป่า

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปัก

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ กระทุ้งพิษไข้หัว ไข้กาฬ พิษฝี ขับปัสสาวะ แก้ดีกำเริบนอนละเมอเพ้อกลุ้ม ปวดศีรษะ เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการหวัด ทำให้จาม ใช้รากนำมาตัดเสียบเข้าไปในจมูกเพื่อทำให้เกิดการจาม

-อาการปัสสาวะออกเป็นหนอง นิ่ว ใช้เปลือกต้นของทางกวาว เปลือกต้นจำปี เปลือกดอกแก้ว รากหญ้าขัดมอนใบมน และรากกระทุ้งหมาบ้า อย่างละเท่ากัน ตัดเป็นท่อนใส่หม้อดินเติมน้ำสะอาด 3 ส่วน ต้มและเคี่ยวให้เหลือน้ำเพียง 1 ส่วน กรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 3 เวลา หลังอาหาร อาการจะดีขึ้น

-อาการไข้ตัวร้อนในเด็ก ใช้เปลือกต้นกระทุ้งหมาบ้า รากผักหวานบ้านและนมผา อย่างละเท่ากันผสมในน้ำ แช่ไว้ประมาณ 30-60 นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่ม

-แผลน้ำร้อนลวก บวม ฝี ฝีภายใน พิษต่าง ๆ ใช้ใบสดใบมีรสเมาเบื่อเอียนติดขม มาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลหรือใช้พอกฝีและบริเวณที่อักเสบ

-ใบ ดอก และฝักอ่อน นำมาต้มแล้วใช้เป็นอาหารได้ โดยจะมีรสขมเล็กน้อย ชาวเหนือและชาวอีสานจะนิยมรับประทานใบอ่อน ยอด และดอกสด โดยนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น แกงกับปลาแห้ง หรือแกงกับผักชนิดอื่น ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือใส่ส้มตำ ผักชนิดนี้ในหน้าแล้งจะมีรสอร่อยกว่าหน้าฝน เพราะหน้าแล้งจะมีรสขมออกหวาน ส่วนหน้าฝนจะมีรสขมมาก

-ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้เป็นยาลดไข้ ทำให้อาเจียน ใช้ในการรักษาอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือดสด , เจ็บคอ, อาการฝีหนองติดเชื้อ, กลาก, โรคหอบหืดและเป็นยาแก้พิษสำหรับยาพิษ (เนื่องจากทำให้อาเจียนได้ แต่ใช้รากเท่านั้น)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง