Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าพันงูเขียว

ชื่อท้องถิ่น: เจ๊กจับกบ (ตราด)/ เดือยงู พระอินทร์โปรย (ชุมพร)/ หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ)/ สี่บาท สารพัดพิษ (ภาคกลาง)/ หญ้าหางงู (ภาคใต้)/ ลังถึ่งดุ๊ก (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)/ เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว)/ ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง)/ ฉลกบาท หญ้าพันงูเขียว เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin, Arron’s Rod

ชื่อวิทยาศาสตร์: Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl

ชื่อวงศ์: VERBENACEAE

สกุล: Stachytarpheta 

สปีชีส์: jamaicensis

ชื่อพ้อง: 

-Abena jamaicensis (L.) Hitchc.

-Cymburus urticifolius Salisb.

-Stachytarpheta bogoriensis Zoll. & Moritzi

-Stachytarpheta jamaicensis f. albiflora S.S.Ying

-Stachytarpheta jamaicensis f. atrocoerulea Moldenke

-Stachytarpheta jamaicensis var. longifolia Hiern

-Stachytarpheta pilosiuscula Kunth

-Valerianoides jamaicensis (L.) Medik.

-Valerianoides jamaicensis var. angustifolia Kuntze

-Valerianoides jamaicensis f. glabra Kuntze

-Valerianoides jamaicensis var. spathulata Kuntze

-Valerianoides jamaicensis f. strigosa Kuntze

-Verbena americana Mill.

-Verbena jamaicensis L.

-Verbena pilosiuscula (Kunth) Endl.

-Vermicularia decurrens Moench

-Zappania jamaicensis (L.) Lam.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าพันงูเขียว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูเขียว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นพันงูเขียว เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง


หญ้าพันงูเขียว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูเขียว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร


หญ้าพันงูเขียว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูเขียว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกาบใบ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง

ผล ลักษณะผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ พบได้ในบริเวณช่อดอก ถ้าแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร

ถิ่นกำเนิด สหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าพันงูเขียว thai-herbs.thdata.co | หญ้าพันงูเขียว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสจืด สรรพคุณ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก พบสารจำพวก Phrnol, Chlorogenic acid เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์กระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลาย สารที่สกัดได้จากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา ส่วนสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กระตุ้นอ่อนกว่า แต่ทั้งสองชนิดจะไม่มีฤทธิ์ต่อหูรูด ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กของกระต่ายและมดลูกของหนูขาว

-ฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ สารที่สกัดได้จากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์กระตุ้นเพียงเล็กน้อยต่อหัวใจของกระต่าย ถ้านำมาฉีดเข้ากล้ามที่ขาหลังของหนูขาวทดลอง พบว่าสามารถขยายเส้นเลือดของหนูทดลองได้ แต่ถ้านำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัขที่ถูกวางยาสลบ พบว่าจะไม่มีผลต่อความดันโลหิต

-ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล และหาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดที่ได้จากส่วนของราก ลำต้น ใบ และช่อดอกพันงูเขียว ที่สกัดด้วย น้ำ, เอทานอล 50%, เอทานอล 75% ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดจากใบพันงูเขียวที่สกัดด้วยเอทานอล 75 % สามารถให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล ได้สูงสุดทั้งชนิดสดและชนิดแห้ง เท่ากับ 6.45 และ 54.00 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินอีที่ความเข้มข้น 5 ppm พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบแห้ง มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งมากกว่าวิตามินอี 1.16 เท่า แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบสด มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งน้อยกว่าวิตามินอี 7.21 เท่า แต่เมื่อนำสารสกัดหยาบมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีก็พบว่ามีกรดแกลลิกและควอซิตินเป็นองค์ประกอบ (การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้นพันงูเขียว โดย : ชัชฎาพร องอาจ และปวีณา ดารา)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-ทั้งสารที่สกัดได้จากน้ำและแอลกอฮอล์ หากนำมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลองในปริมาณ ตัวละ 0.1 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากฉีดยาแล้ว หนูจะตาย

การใช้ประโยชน์:

-ตำรับยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม, เจียไก้หลาน 35 กรัม และอิไต้เถิง 25 กรัม นำมารวมกันตำผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาที่บวม

-ตำรับยาแก้บวม ฟกช้ำ ใช้พันงูเขียวทั้งต้น, โกฐดอกขาว และสือเชียนเถา อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับกับเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการเจ็บคอ คออักเสบ ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล ใช้เป็นยาอม

-อาการแผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝีและหนอง และพิษอักเสบปวดบวม ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย ใช้ใบเป็นยาทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย

-ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ใช้ต้นพันงูเขียว (ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ 

-ใบประเทศบราซิลจะใช้ใบพันงูเขียว แทนใบชา และส่งขายทางยุโรป ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “Brazillian tea”




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง