Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกงกางใบใหญ่

โกงกาง thai-herbs.thdata.co | โกงกาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กงกอน, กงกางนอก, กงเกง, กางเกง, พังกางใบใหญ่

ชื่อสามัญ: Red mongro, Asiatisk mangrove, Loop-root mangrove

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhizophora mucronata Lam.

ชื่อวงศ์: RHIZOPHORACEAE

สกุล: Rhizophora

สปีชีส์: mucronata

ชื่อพ้อง:

-Mangium candelarium Rumphius

-Rhizophora candelaria Wight & Arn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นโกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร  มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอ

ราก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ ส่วนเปลือกในเป็นสีส้ม ในกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นเป็นสีน้ำตาล

      ราก มีรากเป็นแบบค้ำจุนขนาดใหญ่ โดยจะงอกจากลำต้นออกเป็นจำนวนมาก ดูไม่เป็นระเบียบ เพราะแตกแขนงระเกะระกะ และมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยคว่ำแบบแคบ ๆ

      ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตรงข้ามกัน โดยใบแต่ละคู่จะออกแบบสลับทิศทางกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปใบมนค่อนไปทางรูปหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแข็งเล็ก ๆ ส่วนฐานใบสอบเข้าหากันคล้ายกับรูปลิ่ม หน้าใบเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนหลังใบเรียบเกลี้ยง เป็นสีเขียวอมเหลือง และยังมีจุดสีดำน้ำตาลเล็ก ๆ เห็นได้ชัดเจนอยู่ทั่วหลังใบ โดยใบมีความกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร และยังมีหูใบสีเขียว ชมพู หรือสีแดงเข้มยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หุ้มใบอ่อนไว้

      ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบ cyme กระจุกตามง่ามใบ ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกประมาณ 2-12 ดอก มีสีขาวอมเหลือง มีกลีบอยู่รอบดอก 4 กลีบ ลักษณะของกลีบรอบกลีบดอกเป็นรูปไข่ โคนกลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกเป็นรูปใบหอก มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบของกลีบดอกจะมีขนยาวขึ้นปกคลุมอยู่ และดอกจะมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน ยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร

      ผล เป็นแบบ Drupebaceous ลักษณะรูปทรงกลมคล้ายไข่ปลายคอด สีน้ำตาลอมเขียว โดยจะเป็นผลแบบที่งอกก่อนผลจะร่วง ในส่วนใต้ใบเลี้ยงในเมล็ดจะงอกยื่นยาวออกมาคล้ายกับฝัก หรือที่เรียกว่า "ฝักโกงกางใบใหญ่" เมื่อผลหรือฝักแก่แล้วจะมีความยาวประมาณ 36-90 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนที่โตสุดประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: บริเวณที่เป็นดินเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอในบริเวณที่ติดกับทะเลหรือปากแม่น้ำ สำหรับในประเทศไทยจะพบต้นโกงกางใบใหญ่ได้มากตามริมคลอง ริมชายฝั่งทะเลที่มีน้ำเค็มท่วมถึงเป็นระยะเวลานาน

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: พบได้ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เอเชีย ภูมิภาคมาเลเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงหมู่เกาะตองกา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยใช้ฝัก

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *เปลือกต้น รสฝาดเค็ม  สรรพคุณ  ห้ามโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อติสาร

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เปลือกต้น ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด

-เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้น้ำจากเปลือกต้นนำมากินเป็นยาแก้ท้องร่วงได้เช่นกัน

-เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน

-เปลือกต้น นำมาตำใช้เป็นยาพอกช่วยห้ามเลือดได้ดีและช่วยสมานแผล หรือจะใช้ใบอ่อนเคี้ยวหรือตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบาดแผลสดและห้ามเลือด

-น้ำจากเปลือกต้น หรือ นำเปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม กินแก้บิด บิดเรื้อรัง

- น้ำจากเปลือกต้น หรือนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง

-ไม้โกงกางมีลักษณะเปลาตรง เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันต่าง ๆ ทำเสาและหลักในที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง ทำเยื่อกระดาษ

-ต้นโกงกาง นำมาใช้ทำเป็นฟืนและถ่านเกรดคุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเมื่อนำมาใช้งานอีกด้วย

-เปลือกต้น มีสาร tannin และ phenol จากธรรมชาติสูงมาก อีกทั้งยังมีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น

-เปลือกต้น มีน้ำฝาดประเภท Catechol ให้สีน้ำตาลที่สามารถนำมาย้อมสีผ้าได้ เช่น ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ

-ป่าโกงกาง มีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลต่าง ๆ เนื่องจากเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแหล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก

-ป่าไม้โกงกาง สามารถช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี

 

ชื่อไทย: โกงกางใบเล็ก

โกงกาง thai-herbs.thdata.co | โกงกาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: โกงกาง(ระนอง)/ พังกาใบเล็ก(พังงา)/ พังกาทราย(กระบี่)

ชื่อสามัญ: Bakau Minyak/ Bakau tandok/ Bakau akik/ Tall-stilt mangrove

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhizophora apiculata Blume

ชื่อวงศ์: RHIZOPHORACEAE

สกุล: Rhizophora

สปีชีส์: apiculata

ชื่อพ้อง: Rhizophora candelaria DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นโกงกางใบเล็ก ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเป็นสีเทาเกือบเรียบ เปลือกหนาประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เมื่อทุบทิ้งไว้สักครู่ด้านในของเปลือกจะเป็นสีแสดอมแดงไปจนถึงสีเลือดหมู ส่วนกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน แก่นเป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้มีลักษณะเป็นมันวาว มีรากเสริมหรือรากค้ำยันลำต้น

      ราก เป็นระบบรากแก้ว บริเวณโคนของลำต้นมีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้นประมาณ 1-3 เมตร โดยรากที่โคนต้นหรือรากค้ำจุนลำต้นจะแตกแขนงไม่เป็นระเบียบ โดยมีหนึ่งหรือสองรากที่ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเป็นมุมฉากลงดิน มีไว้เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรง

      ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบแต่ละคู่จะออกแบบสลับทิศทางกัน ใบหนาเป็นมัน ลักษณะเป็นรูปมนค่อนไปทางรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งเล็กสีดำมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนโคนใบสอบเข้าหากันคล้ายรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-18 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า ก้านใบยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มักมีสีออกแดง หูใบแคบ เป็นสีแดงหรือชมพูอมแดง ยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร หุ้มใบอ่อนไว้ ใบเกลี้ยงทั้งหน้าและหลังใบและมีจุดสีน้ำตาล

      ดอก ออดดอกเป็นช่อแบบ Cymes ในช่อหนึ่งจะมี 2 ดอกย่อยอยู่ชิดติดกัน แตกออกมาจากซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ที่ฐานของดอกย่อยจะมีใบประดับเป็นรูปถ้วยรองรับอยู่ เมื่อแห้งจะมีลักษณะแข็ง โดยกลีบเลี้ยงจะมี 4 กลีบ เป็นสีเขียวอมเหลือง แข็งอวบ ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร โดยโคนกลีบจะติดกัน ส่วนปลายกลีบแยกออกเป็นแฉก ๆ ดอกตูมลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายกลีบแกลมและยังคงติดอยู่จนเป็นผล ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอกเป็นแผ่นบาง ๆ ขาวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน มีความยาวประมาณ 8-11 มิลลิเมตร ไม่มีขนและร่วงเร็ว ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 12 อัน ยาวประมาณ 0.6-0.75 เซนติเมตร โดยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะอยู่ในดอกเดียวกัน ส่วนรังไข่เป็นแบบ Half-inferior มีอยู่ 2-3 ห้อง ซึ่งในแต่ละห้องจะมี 2 ออวุล

      ผล เป็นแบบ Drupebaceous ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมคล้ายไข่ เมื่อผลแก่จะไม่แตก เปลือกของผลมีลักษณะหยาบสีน้ำตาล มีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด โดยเมล็ดจะไม่มีการพักตัว และจะเจริญต่อไปในขณะที่ผลยังติดอยู่บนต้น ซึ่งเมล็ดจะงอกส่วนของ Radicle แทงทะลุออกมาทางส่วนปลายของผล ตามด้วยส่วนของต้นอ่อน โดยจะเจริญยาวออกมาเรื่อย ๆ มีลักษณะปลายแหลมยาว เป็นสีเขียว หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า "ฝักโกงกางใบเล็ก" โดยฝักจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร

      เมล็ด เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว 30-40  เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.2  เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: บริเวณที่เป็นดินเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอในบริเวณที่ติดกับทะเลหรือปากแม่น้ำ

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อน แอฟริกา แปซิฟิกอ เมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์: พบตามฝั่งทะเลศรีลังกา อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยใช้ฝัก โดยทั่วไปการปลูกไม้โกงกางใบเล็กจะปลูกโดยใช้ฝักโดยตรง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *เปลือกต้น รสฝาดเค็ม  สรรพคุณ  ห้ามโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อติสาร

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่ม กินแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน

-น้ำจากเปลือกต้น ใช้กินแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้บิด

-ใบอ่อน รับประทานแก้ท้องร่วง

-น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผลและใช้ห้ามเลือดได้ หรือจะนำเปลือกมาตำให้ละเอียด ใช้พอกห้ามเลือดจากบาดแผลสด

-ใบอ่อน นำมาเคี้ยวหรือบดให้ละเอียดก็ใช้พอกแผลสดเพื่อห้ามเลือด และป้องกันเชื้อโรค

-ไม้โกงกางมีลักษณะเปลาตรง เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันต่าง ๆ ทำเสาและหลักในที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง ทำเยื่อกระดาษ

-ประโยชน์ไม้โกงกางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำมาใช้ทำเป็นฟืนและถ่านเกรดคุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเมื่อนำมาใช้งานอีกด้วย

-เปลือกของต้นโกงกางมีสาร tannin และ phenol จากธรรมชาติสูงมาก อีกทั้งยังมีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น

-เปลือกมีน้ำฝาดประเภท Catechol ให้สีน้ำตาลที่สามารถนำมาย้อมสีผ้าได้ เช่น ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ

-ป่าโกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลต่าง ๆ เนื่องจากเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแหล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก

-ป่าไม้โกงกางสามารถช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง