Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ท้าวยายม่อม

ชื่อท้องถิ่น: ท่าละม่อม เท้ายายม่อมตัวเมีย ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด (กลาง)/ปิ้งขม ปิ้งหลวง (เหนือ)/ พญาเล็งจ้อน, เล็งจ้อนใต้ (เชียงใหม่)/ พญารากเดียว (ใต้)/ ไม้เท้าฤาษี (เหนือ ใต้)/พมพี (อด); พินพี (เลย)/ โพพิ่ง (ราชบุรี)/ หญ้าลิ้นจ้อน (ประจวบคีรีขันธ์)/ กาซะลอง รดพระธรณี ดอกคาน (ยะลา)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum indicum  (L.) Kuntze

ชื่อวงศ์:  LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล:  Clerodendrum 

สปีชีส์: indicum

ชื่อพ้อง: 

-Clerodendrum longicolle G.Mey.

-Clerodendrum mite (L.) Vatke

-Clerodendrum semiserratum Wall.

-Clerodendrum siphonanthus R.Br.

-Clerodendrum verticillatum Roxb. ex D.Don

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ท้าวยายม่อมดอกขาว thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อมดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นท้าวยายหม่อม ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2.5 เมตร เป็นไม้ลงรากแก้วอันเดียวลึก พุ่งตรง รากกลม ดำ โต ลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขา หรือแตกกิ่งบริเวณใกล้ยอด บริเวณปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม


ท้าวยายม่อมดอกขาว thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อมดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือรอบข้อ ข้อละ 3-5 ใบ จากต้นตรงขึ้นไปจนถึงยอด ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 12-18 เซนติเมตร เส้นกลางใบงอโค้งเข้าหาลำต้น เกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ดัดใบให้งอตามไปด้วยเมื่อแตกกิ่งใหม่ ปลายและโคนใบแหลม 


ท้าวยายม่อมดอกขาว thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อมดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง เป็นพุ่มกระจาย คล้ายฉัตรเป็นช่อชั้นๆ ตั้งขึ้น กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ขนาดดอกกว้าง 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 10-12 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว หรือแดง มี 5 แฉก 

ผล ลักษณะเป็นผลสดรูปทรงกลม แป้น เมื่อสุกมีสีน้ำเงินแกมสีดำ หรือสีดำแดง มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่  

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง 

ถิ่นกำเนิด: จีนทางตอนใต้ไปจนถึงสุมาเตรา 

การกระจายพันธุ์: อัสสัม บังกลาเทศ กัมพูชา จีนกลางตอนใต้ จีนตะวันออกเฉียงใต้ หิมาลัยตะวันออก อินเดีย ลาว มาลายา พม่า เนปาล ศรีลังกา สุมาเตรา ไทย เวียดนาม 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสจืดเฝื่อน สรรพคุณ ขับเสมหะให้ลงเบื้องต่ำ ขับพิษไข้หัว (หัดสุกใสดำแดง) แก้ไข้

*ราก  รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้พิษงู แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาเจียน แก้หืดไอ แก้พิษฝี

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจโลกวิเชียร” ( แก้ว 5 ดวง, ยา 5 ราก, เพชรสว่าง)ได้แก่ รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากท้าวยายม่อม รากคนทา รากมะเดื่อชุมพร สรรพคุณ ใช้กระทุ้งพิษต่างๆ หรือถอนพิษต่างๆ แก้ไข้ต้นมือ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว แก้ไข้เพื่อดีและโลหิต

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เจตมูลเพลิงแดง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของท้าวยาหม่อมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สาร flavonoids ที่พบจากราก ได้แก่ pectolinarigenin, hispidulin

-สาร triterpenoids ได้แก่ 3beta-hydroxy-D:B-friedo-olean-5-ene, oleanolic acid-3-acetate, taraxerol, lupeol

-สาร steroids และ steroid glycosides ได้แก่ (22E)-stigmasta-4, 22, 25-trien-3-one, stigmasta-4, 25-dien-3-one , stigmasta-4, 22-dien-3-one,  22-dehydroclerosterol, clerosterol, stigmasterol, 22-dehydroclerosterol-3-O-beta-D-glucopyranoside,  clerosterol-3-O-beta-D-glucopyranoside, stigmasterol-3-O-beta-D-glucopyranoside (Somwong, et al., 2015)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก

-ชนชาติสายมอญถือกันว่าเท้ายายม่อมเป็นพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง