Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ยางน่อง

ชื่อท้องถิ่น: น่อง น่องยางขาว ยางน่อง (ทั่วไป)/  นอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)/ เมี่ยนเดีย (เมี่ยน)/ ด่องชั่ว(ม้ง) โบ๊ะห์ ฮีโบ๊ะห์ (ซาไก)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Antiaris toxicaria Lesch

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Antiaris 

สปีชีส์: toxicaria 

ชื่อพ้อง: 

-Antiaris dubia Span. ex Hook.

-Antiaris innoxia Blume

-Antiaris palembanica Miq.

-Antiaris rufa Miq.

-Antiaris saccidora Dalzell

-Antiaris zeylanica Seem.

-Ipo palembanicum (Miq.) Kuntze

-Ipo rufa Kuntze

-Ipo saccidora (Dalzell) A.Lyons

-Ipo toxicaria (J.F.Gmel.) Pers.

-Lepurandra saccidora Nimmo

-Cestrum toxicarium J.F.Gmel.

-Toxicaria macassariensis Aepnel. ex Steud.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ยาน่องต้น thai-herbs.thdata.co | ยาน่องต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นยาน่อง เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 60 เมตร ลำต้นตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 1.80 เมตร บางครั้งก็แตกพอนได้สูงถึง 3 เมตร ผิวเปลือกเรียบแต่บางครั้งก็แตกลายเล็กน้อย ด้านนอกสีขาวอมเทา ด้านในอ่อนเป็นเส้นใย มียางสีขาวหม่นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่และเป็นเม็ดเล็กๆ เมื่อถูกอากาศแห้ง กิ่งอ่อนมีขนละเอียดปกคลุม 


ยาน่องต้น thai-herbs.thdata.co | ยาน่องต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ก้านใบยาว 0.2-1.0 เซนติเมตร มีขนละเอียดปกคลุม แผ่นใบรูปต่างกัน ตั้งแต่ค่อนข้างกลมไปถึงรูปหัวใจ รูปไข่ หรือขอบขนาน ขนาดกว้าง 3.5-8.5 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร. ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนแต่ค่อนข้างสมมาตร ขอบใบเรียบอาจมีหยักคล้ายฟันเลื่อยละเอียด ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเขียวจัดเป็นมัน

ดอก ออกดอกแบบแยกเพศอยูบนต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบหรือใต้ง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มกลุ่มละ 2-4 ดอก ดอกเพศผู้มักจะอยู่ใต้ดอกเพศเมียในกิ่งเดียวกัน ดอกเพศผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก รวมกลุ่มกันคล้ายจานบนก้านช่อเดี่ยว ดอกย่อยมีกลีบรวม 2-7 กลีบ เกสร 2-4 อัน ดอกเพศเมียรูปไข่ อาจมีก้านช่อหรือไม่มี 1-2 ดอกต่อช่อ วงกลีบรวม 4 พู รังไข่เชื่อมติดกับวงกลีบรวม ก้านเกสรมีปลายแยกเป็น 2 แฉก 


ยาน่องต้น thai-herbs.thdata.co | ยาน่องต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะฝัก ออกเป็นคู่ขนาดใหญ่ กว้าง 2-5 ซม.ยาว 15-30 ซม. ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาล  รูปไข่ มีขนคล้ายกำมะหยี่สีเล็กๆสีขาว 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินเดีย ศรีลังกา จีน ไปจนถึงตอนกลางมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, เกาะบอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม, ตรินิแดด-โตเบโก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ยาง เป็นพิษถูกบาดแผลทำให้ตายได้ เพราะยางไม้นี้วิ่งเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วมมาก ใช้แต่นอนที่สุด จะมีผลในทางดีได้ หรือใช้แก้ช็อกหมดสติ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

ยาน่องต้น thai-herbs.thdata.co | ยาน่องต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนใช้ยางสีขาวทาผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน

-ชาวเมี่ยนใช้น้ำยางที่มีพิษชุบลูกดอกสำหรับล่าสัตว์

-ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และพม่าใช้ยางจากใบและลำต้น ทำลูกดอกอาบยาพิษ สารที่เป็นพิษ คือ antiarin ซึ่งมีฤทธิ์คล้าย strychnine มีรายงานว่าสารนี้จะทำให้ถึงตาย 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง