Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ชะเอมเทศ (ชะเอมจีน)

ชะเอมเทศ thai-herbs.thdata.co | ชะเอมเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ชะเอมป่า(กลาง)/ ตาลอ้อย(ตราด)/ ส้มป่อยหวาน(พายัพ)/ อ้อยช้าง(สงขลา)/ นราธิวาส อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี)/ กอกกั๋น ย่านงาย

ชื่อสามัญ: Licorice, Chinese licorice, Russian licorice, Spanish licorice

ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycyrrhiza glabra L.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE

สกุล:  Glycyrrhiza 

สปีชีส์: glabra 

ชื่อพ้อง: 

-Glycyrrhiza brachycarpa Boiss.

-Glycyrrhiza glabra var. caduca X.Y. Li

-Glycyrrhiza glabra var. glabra

-Glycyrrhiza glabra subsp. glandulifera (Waldst. & Kit.) Ponert

-Glycyrrhiza glabra var. glandulifera (Waldst. & Kit.) Regel & Herder

-Glycyrrhiza glabra var. glandulifera (Waldst. & Kit.) Boiss.

-Glycyrrhiza glabra var. glandulosa X.Y. Li

-Glycyrrhiza glabra var. laxifoliolata X.Y. Li

-Glycyrrhiza glabra var. typica L.

-Glycyrrhiza glabra var. violacea (Boiss. & Noe) Boiss.

-Glycyrrhiza glandulifera Waldst. & Kit.

-Glycyrrhiza hirsuta Pall.

-Glycyrrhiza pallida Boiss. & Noe

-Glycyrrhiza pallida Boiss.

-Glycyrrhiza violacea Boiss. & Noe

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ชะเอมเทศ thai-herbs.thdata.co | ชะเอมเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นชะเอมเทศ เป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-8 เมตร มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา 

ใบ มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาประมาณ 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปขอบขนาน มีขนที่ขอบใบ ผิวค่อนข้างเกลี้ยง เส้นใบ 3-5 คู่ แต่ไม่ชัดเจน ไม่มีก้านใบย่อย ก้านใบหลักยาวประมาณ 1.5-2.7 เซนติเมตร . มีขนหนาแน่น เหนือโคนก้านใบเล็กน้อยมีต่อม


ชะเอมเทศ thai-herbs.thdata.co | ชะเอมเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.3-2.3 เซนติเมตร  มีขนยาวกระจายทั่วไป ดอก 7-12 ดอก ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กลีบเลี้ยง หลอดกลีบกว้างไม่เกิน 1 มม. ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายแฉกยาว ¼ ของความยาวหลอดกลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด หลอดกลีบกว้างประมาณ 1.0-1.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร ปลายแฉกกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.0-2.5 มิลลิเมตร สีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้ยาว สีขาว 10 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมกันสูงประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร ปลายแยกกันยาวประมาณ 1.3-1.6 เซนติเมตร  สีขาว เกสรเพศเมีย รังไข่ยาวประมาณ 2.0-2.5 มิลลิเมตร มี 9-10 ออวุล ก้านรังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร  ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 10.5-18.0 มิลลิเมตร สีขาว 

ผล ลักษณะเป็นผลแบบฝัก แบน ปลายแหลม กว้างประมาณ 2.3-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.2-15.2 เซนติเมตร  โคนและปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ประมาณ 3-10 เมล็ดต่อฝัก ก้านผลยาว 2.5 เซนติเมตร มีขนหนาแน่น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองถึงน้ำตาล 

เมล็ด ขนาดความกว้างประมาณ 4-6 มม. ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ตรงบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด  

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าโปร่งทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: จีน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเฝื่อนหวาน สรรพคุณ ทำให้เสมหะแห้ง แก้ดีพิการ

*ดอก รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้คัน แก้ฝีดาษ

*ต้น รสหวานน้อย สรรพคุณ ขับลมให้ลงเบื้องต่ำ

*ราก รสหวาน สรรพคุณ ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจชุ่มชื้น แก้กำเดา แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว ทำให้ชุ่มคอเปลือกราก ทำให้อาเจียน

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดจตุทิพคันธา” ได้แก่ รากมะกล่ำเครือ รากชะเอมเทศ ดอกพิกุล เหง้าขิงแครง มีสรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะ แก้ลมปั่นป่วน แก้พรรดึก

2.“พิกัดทศกุลาผล” ได้แก่ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา ลูกเร่วน้อย  ลูกเร่วใหญ่ ชะเอมไทย ชะเอมเทศ ลำพันแดง ลำพันขาว อบเชยไทย อบเชยเทศ มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ชะเอมเทศ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน ตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) ตำรับ “ยาหอมแก้ลมวิงเวียน” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ

2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร  ปรากฏตำรับ “ยาธาตุอบเชย” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ตำรับ “ยาประสะกะเพรา” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ตำรับ “ยามหาจักรใหญ่” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมซาง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ตำรับ “ยาธรณีสันฑะฆาต” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้เถาดาน ท้องผูก

3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดประจาเดือน ช่วยให้ประจาเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด “ยาสตรีหลังคลอด” มีส่วนประกอบของเจตมูลเพลิงแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลา บารุงเลือด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังคลอด 

4.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ปรากฏตำรับ “ยาแก้ไอผสมกานพลู” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ไอผสมมะนาวดอง” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาอามฤควาที” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ 

5.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตำรับ “ยาธรณีสันฑะฆาต” มีส่วนประกอบของชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้กษัยเส้น 

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะติดของเชื้อ Helicobacter pylori  ที่เยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกาะติดของเชื้อ Helicobacter pylori type I strain G27 ที่เยื่อเมือกของกระเพาะอาหารในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ต่อการเกาะติดของเชื้อ H. pylori ที่เยื่อเมือกของกระเพาะอาหารในคน ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้  ทดสอบด้วยวิธี agar diffusion assay (in situ adhesion assay with FITC-labelled bacteria) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดจากรากชะเอมเทศในขนาดความเข้มข้น 1 mg/mL สามารถยับยั้งการเกาะติดของเชื้อ H. pylori  ที่เนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารคนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (การเกาะติดของเชื้อในกลุ่มควบคุมเท่ากับ 100%, positive control เท่ากับ 20% และสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศเท่ากับ 40%) สัมพันธ์กับผลการศึกษาสารโพลิแซคคาไรด์ที่ได้จากรากชะเอมเทศ (ประกอบด้วย carbohydrates 81% และ  protein 19%) ที่สามารถยับยั้งการเกาะติดของเชื้อ H. pylori  ที่เนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารคนได้ 40% โดยสรุปสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศมีศักยภาพในการนำมาพัฒนายาที่ปกป้องเยื่อเมือกที่กระเพาะอาหารต่อการเกาะติดของเชื้อ H. pylori  ได้ (Wittschier, et al., 2009)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC25923 ที่เจริญแบบอิสระ และแบบไบโอฟิล์ม (การเจริญของเชื้อแบคทีเรียแบบไบโอฟิล์ม แบคทีเรียจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เกิดชั้นป้องกันที่แข็งแรง และสร้างสารออกมาภายนอก ทำให้ถูกทำลายได้ยาก และมีความต้านทานต่อยา หรือสารยับยั้งมากกว่าเชื้อที่เจริญแบบอิสระ)    ทดสอบสารสกัดเอทานอลจากรากชะเอมเทศ ใช้วิธี disc diffusion method จากนั้นหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC)  และฆ่าเชื้อ (MBC) ด้วยวิธี macrobroth dilution เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน vancomycin ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากชะเอมเทศขนาด 100 mg/ml สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนใสในการยับยั้งเชื้อ (inhibition zone) เท่ากับ 15.41±1.16 mm ในขณะที่ยา vancomycin (0.03 mg/ml) มี inhibition zone เท่ากับ 10.43±0.23 mm ค่า MIC และ MBC ของสารสกัดรากชะเอมเทศต่อเชื้อ S. aureus ที่เจริญแบบอิสระ เท่ากับ 0.78 และ 1.56 mg/ml ตามลำดับ ค่า MIC ของสารสกัดรากชะเอมเทศต่อเชื้อ S. aureus ที่เจริญแบบไบโอฟิล์มเท่ากับ 0.78 mg/ml ขึ้นไป และในการศึกษาการทำลายเชื้อ S. aureus ที่เจริญแบบไบโอฟิล์มไปแล้ว 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากชะเอมเทศ และยา vancomycin ไม่สามารถกำจัดเชื้อในไบโอฟิล์มได้ทั้งหมด แต่สารสกัดของชะเอมเทศในขนาดความเข้มข้น 50 mg/ml  มีผลที่ใกล้เคียงกับการใช้ยา vancomycin ในขนาดความเข้มข้น 0.03 mg/ml (สุทธิพลินทร์ และคณะ, 2557) โดยสรุปสารสกัดเอทานอลจากรากชะเอมเทศ สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus (เชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อที่บาดแผล ฝี หนอง เป็นต้น) ทั้งที่เจริญแบบอิสระ และแบบไบโอฟิล์มได้ สามารถนำไปพัฒนายายับยั้งเชื้อก่อโรคโดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติสร้างไบโอฟิล์มได้ เนื่องจากเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบไบโอฟิล์มมากกว่าแบบอิสระ ซึ่งมีความสามารถในการทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าแบบอิสระ

-ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรากลุ่ม Candida ในหลอดทดลองของสารสกัด 80% เมทานอลจากราก และเหง้าของชะเอมเทศต่อเชื้อ Candida 4 ชนิด ได้แก่ Candida albicans, C. glabrata, C. para-psilosis  และ C. tropicalisจำนวนรวม 19 สายพันธุ์ (เชื้อ Candida เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อที่ช่องคลอด, ทางเดินปัสสาวะ,ช่องปาก และการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น) ทดสอบด้วยวิธี disc diffusion จากนั้นหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ (MFC) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดสามารถยับยั้งเชื้อ C. tropicalis ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ C. glabrata, C.  parapsilosis  และ C.  albicans ตามลำดับ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนใสในการยับยั้งเชื้อ (inhibition zone) เท่ากับ 10–13, 12, 10–12 และ 10–12 mm ตามลำดับ ผลการหาค่า MIC และ MFC พบว่าสารสกัดยับยั้งเชื้อ C. glabrata D1 ได้ดีที่สุด มีค่า MICและ MFC อยู่ระหว่างช่วง 0.1875- 0.375 และ  0.375 mg/mL ตามลำดับ  ผลต่อเชื้อ C. tropicalis AG1 และ T2.2 มีค่า MIC และ MFC เท่ากับ 0.375 และ 0.75 mg/mL ตามลำดับ และผลต่อเชื้อ C.  parapsilosis ATCC22019 มีค่า MIC เท่ากับ 1.5 mg/mL แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ สารสกัดไม่มีผลยับยั้งเชื้อรา C. albicans  นอกจากนี้สารสกัดชะเอมเทศยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อที่เจริญแบบไบโอฟิล์ม (Biofilm) ซึ่งเป็นโครงสร้างยึดเกาะกับพื้นผิว สร้างโดยกลุ่มของเชื้อที่อาศัยอยู่รวมกัน ซึ่งมีสารต่าง ๆ หลายชนิด ทำหน้าที่เป็นชั้นปกป้องเชื้อที่อาศัยอยู่ภายใน รวมทั้งสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อที่อยู่ภายในไบโอฟิล์ม และจากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดรากชะเอมเทศ สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ C. glabrata  และ C. tropicalis ได้ โดยค่า MFC ของสารสกัดชะเอมเทศ ในการยับยั้งเชื้อ C. glabrata สายพันธุ์ ATCC2001 D1 และ 513100 ต่อเชื้อเดี่ยวเท่ากับ 1.5, 0.375 และ 0.75mg/mL ตามลำดับ ต่อเขื้อที่สร้างไบโอฟิล์มเท่ากับ 3 mg/mL ทั้ง 3 สายพันธุ์ ค่า MFC ของสารสกัดชะเอมเทศ ในการยับยั้งเชื้อ C. tropicalis สายพันธุ์ ATCC750 ต่อเชื้อเดี่ยวเท่ากับ 1.5 mg/mL ต่อเขื้อที่สร้างไบโอฟิล์มเท่ากับ 3 mg/mL (Martins, et al., 2016) โดยสรุปสารสกัด 80% เมทานอลจากราก และเหง้าของชะเอมเทศ สามารถยับยั้งเชื้อราแคนดิดาหลายสายพันธุ์ได้ทั้งชนิดเชื้ออิสระ และเชื้อที่สร้างไบโอฟิล์ม

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-พิษเฉียบพลัน สารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศเมื่อป้อนให้หนูขาว และหนูถีบจักร มีค่า LD50 เท่ากับ 16 กรัม/กิโลกรัม นน.ตัว เมื่อฉีดเข้าทางหน้าท้อง และฉีดใต้ผิวหนัง มีค่า LD50 เท่ากับ 1.5 และ 4.2 กรัม/กิโลกรัม นน.ตัว ตามลำดับ (สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, 2543)

การใช้ประโยชน์: -



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง