Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐกระดูก

โกฐกระดูก thai-herbs.thdata.co | โกฐกระดูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: บักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), มู่เชียง(Mu Xiang) มู่เซียง (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Costus Root

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aucklandia lappa DC.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Saussurea

สปีชีส์: lappa

ชื่อพ้อง: Saussurea lappa (Decne.) C.B.Clarke)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โกฐกระดูก thai-herbs.thdata.co | โกฐกระดูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโกฐกระดูก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กและมีขนขึ้นปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

ใบ มีขนาดใหญ่ เป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปสามเหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยลักษณะคล้ายหนาม หน้าใบเป็นสีเขียวและมีขนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม ส่วนหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ก้านใบยาว

ดอก เป็นสีม่วงเข้ม โดยจะออกติดกับโคนใบ ก้านดอกยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ ในดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 10 ชั้น เป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกยาวประมาณ 9-25 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ลักษณะคล้ายดอกบานไม่รู้โรย ดอกขาว ดอกสีม่วงเข้ม เป็นดอกเดี่ยว

ผล มีลักษณะเป็นเส้นแบน ยาว 6 มิลลิเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออก

ราก (โกฐกระดูก) เป็นรากสะสมอาหารที่มีขนาดใหญ่ รากเป็นสีเทาถึงสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมยาวเป็นรูปกระสวย คล้ายกระดูก เนื้อแข็ง มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเทา หรือเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีรอยย่นชัดเจนและมีร่องตามยาว ผิวนอกมีร่องไขว้ไปมาคล้ายร่างแห ส่วนด้านข้างมีรอยแผลเป็นรากแขนง เนื้อแข็งและหักยาก รอยหักเป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม พบรากแขนงบ้างเล็กน้อย เมื่อนำมาผ่าตามแนวขวาง เนื้อในรากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนอกที่บางกว่า และส่วนในที่เป็นเนื้อราก ซึ่งจะมีสีจางกว่า วงแคมเบียมสีน้ำตาล และมีลายเส้นตามแนวรัศมี ส่วนเนื้อตรงกลางจะยุบตัวลงและมีรูพรุน

สภาพนิเวศวิทยา: ภูเขาสูง

ถิ่นกำเนิด: ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่บริเวณประเทศ จีน และ อินเดีย

การกระจายพันธุ์: จีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกราก รสร้อน กลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ขับลมในลำไส้ แก้โลหิตจาง แก้เสมหะและลม แก้หืด หอบ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น บำรุงกระดูก

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต

2.“พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก

3.“พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

4.“พิกัดตรีทิพย์รส” คือการจำกัดจำนวนของที่มีรสดี 3 อย่าง คือโกฐกระดูก เนื้อไม้ และอบเชยไทย มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงโลหิต

5.พิกัดสัตตะปะระเมหะ” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้เสมหะมีกลิ่น 7 อย่าง คือ ต้นตำแยทั้ง 2 ต้นก้นปิด ลูกกระวาน ผลรักเทศ ตรีผลาวะสัง และโกฐกระดูก มีสรรพคุณชำระมลทินโทษให้ตกไป แก้อุจจาระธาตุลามก ชำระเมือกมันในลำไส้

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โกฐกระดูกในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐกระดูกอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของโกฐกระดูกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: -




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง