Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะกอกป่า

ชื่อท้องถิ่น:  กอกเขา (นครศรีธรรมราช)/ กูก กอกกุก (เชียงราย)/ ไพแซ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)/ กอกหมอง (เงี้ยว-เชียงใหม่)/ กราไพ้ย ไพ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะผร่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ กอกป่า (เมี่ยน)/ มะกอกไทย (ไทลื้อ)/ มะกอกป่า (เมี่ยน)/ สือก้วยโหยว (ม้ง)/ โค่ยพล่าละ แผละค้อก เพี๊ยะค๊อก ลำปูนล (ลั้วะ)/ ตุ๊ดกุ๊ก (ขมุ)/ ไฮ่บิ้ง (ปะหล่อง)

ชื่อสามัญ: Hog plum/ Wild Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์: Spondias pinnata (L. f.) Kurz

ชื่อวงศ์: ANACARDIACEAE

สกุล: Spondias 

สปีชีส์: pinnata

ชื่อพ้อง: 

-Evia amara Comm. ex Blume

-Mangifera pinnata L.f.

-Poupartia acuminata (Roxb.) Wall.

-Spondias acuminata Roxb.

-Spondias amara Lam.

-Spondias bivenomarginalis K.M.Feng & P.I Mao

-Spondias macrophylla Wall.

-Spondias mangifera Willd.

-Spondias paniculata Roxb. ex Wight & Arn.

-Spondias sinensis Lour. ex Steud.

-Wirtgenia decandra Jungh.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:มะกอกป่า thai-herbs.thdata.co | มะกอกป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะกอกป่า เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม 


มะกอกป่า thai-herbs.thdata.co | มะกอกป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ โดยจะออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเบี้ยวหรือขอบไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อใบหนาเป็นมัน หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบเรียบ มีก้านใบร่วมยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร


มะกอกป่า thai-herbs.thdata.co | มะกอกป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นสีครีม มีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม มีขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก


มะกอกป่า thai-herbs.thdata.co | มะกอกป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ ผลเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียวถึงสีเหลืองอ่อน ประไปด้วยจุดสีเหลืองและดำ มีรสเปรี้ยวจัด ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

ถิ่นกำเนิด: อินเดียไปจนถึงจีน (ยูนนานใต้, กวางสีใต้) และมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, จีนตอนใต้ - กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, มาลายา, โมลุกกะ, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, สุลาเวสี, ไทย , เวียดนาม,กัมพูชา, เกาะแคโรไลน์

มะกอกป่า thai-herbs.thdata.co | มะกอกป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว สรรพคุณ ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้อง แก้ปวดมวน แก้สะอึก

*ใบ รสฝาดเปรี้ยว สรรพคุณ คั้นเอาน้ำหยอดหู แก้ฝีในหู แก้ปวดหู แก้รูหูอักเสบ

*ผล รสฝาดเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เลือดออกตามไรฟัน

*ผล เปลือก ใบ ยาง รสเปรี้ยวฝาดหวานชุ่มคอ   สรรพคุณ แก้บิด แก้ธาตุพิการ แก้น้ำดีไม่ปกติ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ใเมล็ดแห้ง เผาไฟให้เป็นถ่าน แล้วนำไปแช่น้ำ กรองเอาน้ำดื่ม แก้ร้อนใน หอบ และสะอึก

-ผลสุก มีรสเปรี้ยวและฝาดเล็กน้อย ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในส้มตำ ปรุงรสเปรี้ยวในน้ำพริกหรือทำมะกอกทรงเครื่อง

-ผลสุก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือทำเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย โดยนำมาปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่น เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบใจ ก็จะได้น้ำมะกอกปั่นที่มีกลิ่นและรสชาติอร่อยไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ 

-ผล มีสารต้านมะเร็งและสารต้านอนุมูลอิสระสูง

-ผล ใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดี นายพรานป่ามักจะเฝ้าต้นมะกอกเพื่อรอส่องสัตว์ป่าที่เข้ามากินผลมะกอกที่ร่วงอยู่บนพื้น

-ยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยใช้รับประทานทั้งสุกและดิบร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทยำที่มีรสจัด 

-ใบ มีกลิ่นหอม นอกจากจะใช้เป็นผักจิ้มแล้วยังใช้แต่งกลิ่นอาหารได้

-ยางจากต้น มีลักษณะใสเป็นสีน้ำตาลปนแดง ไม่ละลายน้ำ แต่จะเกิดเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของ และทำให้เยื่อเมือกอ่อนนุ่ม

-เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ ฯลฯ

-ชาวเหนือนิยมนำใบมาสับผสมลงไปในลาบ เพื่อช่วยให้รสชาติไม่เลี่ยนและอร่อยขึ้นส่วนช่อดอกมะกอกใช้กินแบบดิบ ๆ

-ชาวปะหล่องจะใช้เปลือกต้นขูดเป็นฝอยแล้วนำมาใส่ลาบกิน

-ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ใบเคี้ยวกินแก้ท้องเสีย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง