Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐเชียง

โกฐเชียง thai-herbs.thdata.co | โกฐเชียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: สมุนไพรตังกุย หรือ โสมตัง โกศเชียง(ไทย) ตังกุย(จีนกลางและจีนแต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ: Dong quai, Chinese Angelica, Female ginseng

ชื่อวิทยาศาสตร์: Angelica sinensis (Oliv.) Diels

ชื่อวงศ์: APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Angelica

สปีชีส์: sinensis

ชื่อพ้อง:

-Angelica polymorpha var. sinensis Oliv.

-Angelica sinensis var. sinensis

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โกฐเชียง thai-herbs.thdata.co | โกฐเชียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ต้นตังกุย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 40-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง ส่วนของเหง้าหรือรากที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบหนาเป็นรูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก ผิวเปลือกรากภายนอกเป็นสีน้ำตาล เนื้อในนิ่ม

โกฐเชียง thai-herbs.thdata.co | โกฐเชียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ใบ เป็นใบเดี่ยว หยักลึกแบบขนนก 2-3 ชั้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แฉกใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน มักแยกเป็นแฉกย่อย 2-3 แฉก ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ มีก้านใบยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร โคนแผ่เป็นครีบแคบ ๆ สีเขียวอมม่วง

โกฐเชียง thai-herbs.thdata.co | โกฐเชียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ดอก ออกดอกเป็นช่อบริเวณยอดของลำต้นหรือตามง่ามใบ ช่อดอกมีลักษณะเป็นช่อแบบซี่ร่มเชิงประกอบ มีช่อย่อยขนาดไม่เท่ากันประมาณ 10-30 ช่อย่อย ก้านช่อดอกนั้นยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใบประดับมีไม่เกิน 2 ใบ ดอกเป็นสีขาวหรือเป็นสีแดงอมม่วง ในแต่ละก้านจะมีดอกย่อยประมาณ 13-15 ดอก ส่วนกลีบดอกนั้นมี 5 กลีบ

      ผล เป็นแบบผลแห้งแยก มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบาง ขนาดกว้างเท่ากับความกว้างของผล และมีท่อน้ำมันตามร่อง

โกฐเชียง thai-herbs.thdata.co | โกฐเชียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ราก (โกฐเชียง) รากสดมีลักษณะอวบเป็นรูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก โดยรากนั้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนราก และส่วนรากแขนง ส่วนของรากแห้งเป็นรูปแกมทรงกระบอก ปลายแยกออกเป็นแขนง 3-5 แขนง หรือมากกว่านั้น โดยมีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวด้านนอกนั้นเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาล รากมีรอยย่นเป็นแนวตามยาว รอยช่องอากาศตามแนวขวาง ผิวไม่เรียบ และมีรอยควั่นเป็นวง ๆ มีขนาดประมาณ 6-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และมีรอยแผลเป็นของใบปรากฏอยู่ตอนบน ซึ่งโกฐเชียงในตำรายาไทยนั้นจะหมายถึง ส่วนของรากแขนง โดยรากแขนงแห้งนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแกมเทาจาง ๆ มีลักษณะเป็นเส้นยาว มีรอยควั่นเป็นวง ๆ รากแขนงนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 10 เซนติเมตร ตอนบนหนา ส่วนตอนล่างเรียวเล็ก ส่วนมากจะบิด เนื้อจะเหนียว รอยหักสั้นและนิ่ม รอยหักของเหง้าแสดงว่ามีผิวหนามากเกือบถึงครึ่งเหง้า มีต่อมน้ำยางสีน้ำตาลหรือสีเหลืองแกมแดงออกเป็นแนวรัศมีจากกลางเหง้า ส่วนที่เป็นเนื้อสีเหลืองนั้นจะมีรูพรุน แกนเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะ ฉุน มีรสหวานอมขม และเผ็ดเล็กน้อย

สภาพนิเวศวิทยา: บริเวณที่อยู่ใกล้ทางน้ำไหล ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000-9,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: ภาคกลางของประเทศจีน

การกระจายพันธุ์: ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และในประเทศจีน (โดยเฉพาะในป่าดิบตามภูเขาสูงของมณฑลเสฉวน ไต้หวัน ส่านซี กุ้ยโจว เหอเป่ย และมณฑลยูนนาน)

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย ใช้แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้หอบ แก้เสียดแทงสองราวข้าง รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ปวดประจำเดือน ใช้รักษาอาการปวดท้อง ปวดข้อ และอาการปวดหลังจากการผ่าตัด แก้ท้องผูก ตับอักเสบเรื้อรัง บำรุงโลหิต กระจายโลหิต

-พิกัดยา ประกอบด้วย

      1.“พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต

      2.“พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก

      3.“พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

-ในตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์ มีตำรับ “ยาทรงนัตถุ์” ขนานหนึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 15 ชนิด รวมทั้งโกฐเชียงด้วย โดยนำตัวยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียดรวมกัน ใช้สำหรับนัตถุ์ ใช้ดมแก้ปวดหัว แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โกฐเชียงในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

      1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐเชียงอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

      2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของโกฐเชียงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ

-จีนนิยมใช้โกฐเชียงมาก “รากแก้วส่วนบน” จีนเรียก “ตังกุยเท้า” ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากแขนงนั้นจีนเรียก (ตัง)กุยบ๊วย ใช้เป็นยาขับระดู แพทย์แผนจีนใช้เครื่องยาชนิดนี้ในยาเกี่ยวกับโรคเฉพาะสตรี เช่น อาการปวดเอว ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะขาดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เป็นยาขับประจำเดือน แก้รกตีขึ้น แก้ไข้บนกระดานไฟ เกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ตกมูกเลือด สตรีจีนนิยมใช้โกฐเชียงเป็นยากระตุ้นอวัยวะเพศ เพื่อให้ปรนนิบัติสามีได้ดีและเพื่อให้มีลูกดก ใช้ในภาวะขาดน้ำ ความผิดปกติของเส้นประสาท

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: -



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง