Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะยม 

ชื่อท้องถิ่น: หมากยม หมักยม (ภาคอีสาน)/ ยม (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อวงศ์: PHYLLANTHACEAE

สกุล: Phyllanthus 

สปีชีส์: acidus 

ชื่อพ้อง:

-Averrhoa acida L.

-Cicca acida (L.) Merr.

-Cicca acidissima Blanco

-Cicca disticha L.

-Cicca nodiflora Lam.

-Cicca racemosa Lour.

-Diasperus acidissimus (Blanco) Kuntze

-Phyllanthus acidissimus (Blanco) Müll.Arg.

-Phyllanthus cicca Müll.Arg.

-Phyllanthus cochinchinensis (Lour.) Müll.Arg.

-Phyllanthus distichus (L.) Müll.Arg.

-Phyllanthus longifolius Jacq.

-Tricarium cochinchinense Lour.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะยม thai-herbs.thdata.co | มะยม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะยม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นสีขาวตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะและหักง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล


มะยม thai-herbs.thdata.co | มะยม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบขนนก ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบย่อยรูปหอก หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ริมขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร 


มะยม thai-herbs.thdata.co | มะยม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อและออกตามกิ่งแก่ สีแดง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ


มะยม thai-herbs.thdata.co | มะยม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลรูปร่างกลมแบนหรือเป็นเฟืองมนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่ง ผลมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง ผลรสออกหวานหรือเปรี้ยว ผลหลุดจากขั้วง่าย เมล็ดเดี่ยวขนาดเล็กเปลือกแข็งหรือรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: บราซิล

การกระจายพันธุ์: บราซิลเหนือ, หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบลีซ, บอร์เนียว, กัมพูชา, เคปเวิร์ด, เกาะเคย์แมน, เกาะคริสต์มาส, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, ฟลอริดา, กาบอง, กินีบิสเซา, เฮติ, ฮาวาย, อินเดีย, จาเมกา, เกาะลีวาร์ด, เกาะซุนดา, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงเหนือ, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, เมียนมาร์, นิการากัว, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, เปอร์โตริโก, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, แทนซาเนีย, ไทย, ตรินิแดด - โตเบโก, ยูกันดา, เวียดนาม, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เม็ดผื่นคัน

*ใบ รสเปรี้ยว สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน และไข้หัว

*ราก รสจืดเย็นติดเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เม็ดประดง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคเบาหวานใช้ใบสดและรากใบเตยพอประมาณนำมาใส่หม้อ เติมน้ำแล้วต้มเอาน้ำดื่ม ซึ่งจะช่วยไปกระตุ้นตับอ่อนให้แข็งแรงและสามารถผลิตน้ำตาลในภาวะสมดุลโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลินจากภายนอก 

-โรคความดันโลหิต ใช้ใบแก่พร้อมก้านประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อดับรสเฝื่อน ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที แล้วนำมาดื่มจนความดันเป็นปกติแล้วจึงหยุดรับประทาน 

-โรคหวัด เนื่องจากผลมะยมมีวิตมินซี จึงช่วยต้านการเกิดหวัด

-โรคอีสุกอีใส ใช้ใบต้มกับน้ำแล้วนำมาอาบ

-โรคประดง ใช้รากประมาณ 1 กิโลกรัมนำมาต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นแล้วนำมาอาบ และควรทำควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาบริเวณผดผื่นที่เป็นด้วย

-อาการไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม 

-อาการปวดศีรษะ ใช้ใบมะยมแก่รวมก้าน 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำ ใส่น้ำตาลกรวดพอประมาณไม่ให้หวานมาก นำมาต้มจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น

-อาการติดเหล้า ใช้รากมะยมตัวผู้ นำมาสับเป็นชิ้นบาง ๆ จำนวน 10 ชิ้น ชิ้นละ 2 ข้อมือแล้วนำไปย่างไฟก่อน แล้วนำมาตากแดด 3 แดด แล้วจึงนำไปดองในเหล้าขาวพอท่วมยาประมาณ 5 วัน แล้วนำมาดื่ม ยิ่งช่วงกำลังเมาจะยิ่งดี เมื่อดื่มไปได้ไม่ถึงครึ่งแก้ว จะคลุ้มคลั่งและอาเจียนออกมา ซึ่งช่วงนี้ให้ระวังไว้ให้มาก เพราะอาจจะดิ้นคลุ้มคลั่งประสาทหลอนกันพักใหญ่ ต้องหาคนมาช่วยกันจับ ถ้าหมดช่วงนี้ไปได้ก็จะเป็นปกติ และไม่อยากดื่มเหล้าอีกเลย 

-ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากผลมะยมมีวิตมินซี อี ที่ช่วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้

-ช่วยบำรุงโลหิต รใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ

-ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ นำมาชุบแป้งทอดรับประทานร่วม กับขนมจีน นำมาแกงเลียง ผลแก่ นำมาแกงคั่ว ปรุงเป็นส้มตำ

-ผลดิบ รับประทานเป็นผลไม้สดและมีการนำมาประกอบอาหาร เช่น ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดกินกับน้ำพริก ลาบ ขนมจีน ส้มตำ

-ผลดิบ สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมดอง มะยมเชื่อม น้ำมะยม มะยมแยม มะยมกวน หรือนำมาใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง