Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เทียนแดง

ชื่อท้องถิ่น: Garden Cress, Garden Cress Seed

ชื่อสามัญ: ถิงลี่จื่อ ตู๋สิงช่าย (จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 

-Lepidium sativum L. (อินเดีย)

-Lepidium apetalum Willd. (จีน)

ชื่อวงศ์:  BRASSICACEAE-CRUCIFERAE

สกุล:  Lepidium

สปีชีส์: 

-sativum (อินเดีย)

-apetalum (จีน)

ชื่อพ้อง: 

-Arabis chinensis Rottler ex Wight

-Cardamon sativum (L.) Fourr.

-Crucifera nasturtium E.H.L.Krause

-Lepia sativa (L.) Desv.

-Lepidium hortense Forssk.

-Lepidium spinescens DC.

-Nasturtium crispum Medik.

-Nasturtium sativum (L.) Moench

-Nasturtium spinescens (DC.) Kuntze

-Thlaspi sativum (L.) Crantz

-Thlaspidium sativum

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เทียนแดง thai-herbs.thdata.co | เทียนแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย เทียนแดง thai-herbs.thdata.co | เทียนแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเทียนแดง เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้ประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและมีความสูงประมาณ 10-40 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณยอดต้น รากเป็นสีขาว มีรากฝอยไม่มากแทงลงใต้ดิน มีขนอ่อนขึ้นปกคลุมทั้งต้น


เทียนแดง thai-herbs.thdata.co | เทียนแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแคบ ขอบใบหยักลึก แตกเป็นแฉกคล้ายขนนก มีประมาณ 2-3 แฉก หน้าใบมีขน แต่หลังใบมีขน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ใบยอดกิ่งมักมีขนาดเล็กเป็นเส้น ใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ส่วนใบด้านบนไม่มีก้านใบ ใบเทียนแดง


เทียนแดง thai-herbs.thdata.co | เทียนแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง รวมเป็นกระจุก ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวถึงสีม่วงอ่อน  มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ รอบกลีบมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 6 อัน


เทียนแดง thai-herbs.thdata.co | เทียนแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล (เทียนแดง) มีลักษณะกลมยาวเป็นรูปไข่แบนมีเหลี่ยม ออกบริเวณง่ามใบ มีขนอ่อนขึ้นปกคลุม ภายในมีเมล็ดกลมรูป ไข่กลมรี  มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีแดงเข้ม ผิวเมล็ดเรียบเป็นมัน ตรงกลางมีริ้ว 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด รสเผ็ดร้อนขมเล็กน้อย สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้ลม แก้น้ำดีพิการ แก้ลมเสียดแทง แก้คลื่นเหียนอาเจียน

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ แก้ลม เสมหะ และดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว  แก้มุตกิด  บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง

2.“พิกัดสัตตะเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี สรรพคุณ แก้ลม เสมหะและดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลมในท้อง แก้พรรดึก แก้ลมครรภ์รักษา

3.“พิกัดเนาวเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย สรรพคุณ แก้ลม เสมหะแบะดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลมในท้อ  แก้พรรดึก แก้ลมครรภ์รักษา

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เทียนแดง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน “ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ “ยามันทธาตุ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ “ยามหาจักรใหญ่” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมซาง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ “ยาอภัยสาลี” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บาบัดโรคลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่น “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น “ยาริดสีดวงมหากาฬ” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก 

3.ยาแก้ไข้  ปรากฏตำรับ “ยาประสะเปราะใหญ่” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ

4.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ  ปรากฏตำรับ “ยาปราบชมพูทวีป” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ  

5. ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของเทียนแดงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด พบน้ำมันระเหยยาก ประมาณ 23%  โดยมีกรดไขมันชนิดแอลฟา ไลโนเลอิก (ALA) คิดเป็น 34% ของกรดไขมันทั้งหมด วิตามินซี 37% นอกจากนี้ยังพบสารเมือก (mucilage) และเลคติน (lectin) เป็นองค์ประกอบของเมล็ดด้วย สารสำคัญที่พบแยกตามกลุ่มสารดังนี้ Imidazole alkaloid เช่น lepidine B, lepidine C, lepidine D, lepidine E, lepidine F, semilepidinoside A, semilepidinoside B        Glucosinolate พบประมาณ 1.2% 

-ใบ และเมล็ด พบน้ำมันระเหยง่าย เช่น N,N-dibenzylurea N,N-dibenzylthiourea, benzylthiocyanate, benzylisothiocyanate, benzylcyanide, sinapic acid ethyl ester

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ระบาย เพิ่มการขับเคลื่อนอาหารผ่านลำไส้ การศึกษาพบว่าสารสกัดด้วย 70% เมทานอล จากเมล็ดเทียนแดงที่ความเข้มข้น 30 และ 100 mg/kg สามารถทำให้อุจจาระของหนู mice เปียกและนุ่มลง คิดเป็น 53.8±9.2% และ 63.2±5.3% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน carbamylcholine (CCh )ขนาด 1 mg/kgทำให้อุจจาระเปียก 73.6±6.8% และในขณะเดียวกันพบว่าสารสกัดของเทียนแดงมีผลต่อการเพิ่มการขับเคลื่อนอาหารผ่านลำไส้เล็ก โดยการทดสอบกับอาหารที่ผสม charcoal ป้อนให้หนูเม้าส์ หลังจากนั้น 30 นาที นำลำไส้หนูมาตรวจสอบ พบว่าสารสกัดในขนาด 30 และ 100 mg/kg, สารมาตรฐาน CCh 1 mg/kg, และ negative contol ด้วย salineมีผลเพิ่มการขับเคลื่อนของอาหารผ่านลำไส้เล็กได้เท่ากับ 73.9±1.8% (p < 0.01), 86.7±2.8% (p < 0.001), 96.3±2.9% และ 57.1±2.6% ของความยาวลำไส้เล็ก ตามลำดับ การเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ของลำไส้ได้มากขึ้น ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือท้องอืดเฟ้อ (Rehmana, et al., 2011)

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิต  สารสกัดเมล็ดด้วยน้ำ เมื่อให้หนูที่มีความดันโลหิตสูงกิน ในขนาด 20 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ มีผลลดความดันได้ในวันที่ 7 ของการได้รับสารสกัด โดยไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และไม่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แต่ในหนูปกติจะเพิ่มการขับปัสสาวะ  (Maghrani, et al., 2005)

-ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดเมล็ดด้วยน้ำ เมื่อให้หนูกิน ขนาดสูงครั้งเดียว หรือให้ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูเบาหวาน และหนูปกติ โดยไม่ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดเปลี่ยนแปลง และทำให้น้ำหนักตัวหนูลดลง (Eddouks, et al., 2005)

-ฤทธิ์ลดคลอเรสเตอรอล การให้น้ำมันจากเมล็ด ในขนาด 10% แก่หนู เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าลดระดับคลอเรสเตอรอลที่ตับได้ 12.3% ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ 40.4% ลดระดับ LDL 9.45% แต่ระดับ HDL ไม่เปลี่ยนแปลง น้ำหนักตัว และน้ำหนักของอวัยวะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง    ระดับ ALA, EPA, DHA ในตับ และซีรัมเพิ่มขึ้น (Diwakar, et al., 2008)

-ฤทธิ์ขยายหลอดลม สารสกัดบิวทานอลจากเมล็ด เมื่อให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้หลอดลมหดตัว ด้วยสารฮีสตามีน และอะเซทิลโคลีน พบว่าสามารถป้องกันหลอดลมหดตัวได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน ketotifen (1 มก./กก.) และ atropine sulphate (2 มก./กก.) (Mali, et al., 2008)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-สารสกัดผลแห้งด้วย 50% เอทานอล ขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่มีพิษไม่ว่าจะให้หนูถีบจักรกิน หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และสารสกัดเมล็ดด้วย 95% เอทานอล ไม่มีพิษ เมื่อให้หนูถีบจักรกินขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม ครั้งเดียว หรือให้กินขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทุกวันติดต่อกัน เป็นเวลา 90 วัน  (นันทวัน และอรนุช, 2541)

-เทียนแดงมีส่วนประกอบของ mustard oil  การกินในขนาดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบได้ (Duke, et al., 2002)

การใช้ประโยชน์:

-ในแถบอินเดีย จะใช้ทั้งใบ ราก และเมล็ดเพื่อเป็นยา  ในทางยาพื้นบ้าน แถบอินเดีย และโมรอคโค ใช้เมล็ดในการรักษาหอบหืด โรคผิวหนัง โรคเบาหวาน และช่วยขับน้ำนม ในหญิงให้นมบุตร

-เมล็ด นิยมใช้ใส่ในซุป แซนด์วิช และสลัดเพื่อเพิ่มรสชาติ

-เมล็ดทั้งสดและแห้ง ใช้แต่งรส

-ต้นอ่อน ในอังกฤษนิยมใส่ในแซนด์วิชคู่กับไข่ต้ม มายองเนส และเกลือ







ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง