Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หนามเล็บแมว (หนามเล็บเหยี่ยว)

ชื่อท้องถิ่น: หมากหนาม หนามเล็บเหยี่ยว มะตันขอ (ภาคเหนือ)/ ยับยิ้ว (ภาคใต้)/ พุทราขอ เล็ดเหยี่ยว เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง)/ แสงคำ (นครศรีธรรมราช)/ สั่งคัน (สุราษฎร์ธานี ระนอง)/ ตาฉู่แม โลชูมี (เชียงใหม่)/ เล็บแมว ยับเยี่ยว (นครราชสีมา)

ชื่อสามัญ: Jackal Jujube, Small-fruited Jujube, Wild Jujube

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ziziphus oenopolia (L.) Mill.

ชื่อวงศ์: RHAMNACEAE

สกุล: Ziziphus 

สปีชีส์: oenopolia 

ชื่อพ้อง: 

-Girtanneria oenopolia (L.) Neck.

-Rhamnus oenopolia L.

-Ziziphus albens Roxb.

-Ziziphus celtidifolia DC.

-Ziziphus ferruginea B.Heyne ex Wall.

-Ziziphus latifolia Blanco

-Ziziphus lotus Blanco

-Ziziphus oenopolia var. fasciculata Bhandari & Bhansali

-Ziziphus oenopolia var. pallens Bhandari & Bhansali

-Ziziphus oenopolia var. pedicellaris Bhandari & Bhansali

-Ziziphus pallens Wall.

-Ziziphus pedicellala Wall.

-Ziziphus rufula Miq.

-Ziziphus scandens Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหนามเล็บแมว เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 3-10 เมตร เถาและกิ่งมีหนามสั้นแหลมโค้งตามลำต้น และกิ่งก้าน เปลือกเถาเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย สีดำเทา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกในสีแดง


หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบรี กว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบอ่อนทั้งสองด้านมีขนนุ่มสั้นๆ ผิวใบด้านบนเรียบ หรือมีขนเล็กน้อย ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มจำนวนมาก เส้นใบ 3 เส้น ออกจากฐานใบไปปลายใบ ก้านใบยาวประมาณ 2-8 มิลลิเมตร


หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบเป็นช่อกระจุก ขนาดเล็ก ดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย ใบประดับช่อดอก 1 อัน ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีขนกระจายทั่วไป ดอกจำนวน 5-11 ดอก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.0-2.5 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปช้อน ปลายกลม ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 0.2-0.5 มิลลิเมตร สีเขียว หรือสีเขียวอมเหลือง ออกสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ มี 5 อัน สีเขียวอมเหลือง ก้านชูเกสรแบน ยาวประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.1-0.2 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่เกิดจาก 2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 1 ช่อง และ 1 ออวุล ก้านและยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูปขวด ยาวประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร เกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง จานฐานดอกขนาด 1.5 มิลลิเมตร ผิวขรุขระ สีเหลือง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ หลอดกลีบกว้างประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5-2.0 มิลลิเมตร ปลายแฉกกว้าง 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.0-1.5 มิลลิเมตร สีเขียว หรือสีเขียวอมเหลือง ปลายกลีบด้านนอกมีขนเล็กน้อย 


หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลสดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ก้านผลยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีขนกระจายทั่วไป เมล็ดแข็งมี 1 เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร ปลายกลม

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าคืนสภาพ

ถิ่นกำเนิด: จีน (ยูนนานใต้, กวางสี) ไปจนถึงเอเชียเขตร้อนและออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, เนปาล, นิวกินี, ดินแดนทางตอนเหนือ, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม

หนามเล็บแมว thai-herbs.thdata.co | หนามเล็บแมว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเปรี้ยวขื่น สรรพคุณ ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้มดลูกพิการ ฝีมุตกิด ฝีในมดลูก แก้เบาหวาน

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากกำจาย รากดังดีด รากคนทา รากทองกวาว รากมะแว้งต้น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว นำมาตำให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาประคบแก้ตะคริวบริเวณที่เป็น 

-อาการปวดเมื่อย ใช้ลำต้นเล็บเหยี่ยวตากแห้งผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพานควาย แก่นฝาง ข้าวหลามดง จะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง ม้ากระทืบโรง ไม้มะดูก และหัวยาข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุไว้ว่าข้าวเย็นเหนือ หรือข้าวเย็นใต้) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง และแก้อาการปวดเมื่อย

-อาการไอ ระคายเคืองคอ ใช้ผลมีรสเปรี้ยวหวาน ฝาดและเย็น รับประทานช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากหญ้าคา และรากหญ้าชันกาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ

-ช่วยขับปัสสาวะ ขับระดูขาวของสตรี ฝีมุตกิด และฝีในมดลูก ใช้รากและเปลือกต้นมีรสจืดเฝื่อนเล็กน้อย นำมาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ระดูขาวของสตรี ฝีมุตกิด และฝีในมดลูก

-คนเมืองจะใช้ลำต้นเล็บเหยี่ยวมาผสมกับข้าวหลามดง และปูเลย ปรุงเป็นยาช่วยทำให้มีกำลังหลังจากฟื้นไข้

-ประเทศอินเดียใช้รากขับพยาธิตัวกลม ช่วยย่อย ฆ่าเชื้อ รักษาภาวะกรดเกิน ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร สมานแผล





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง