Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หมากผู้-หมากเมีย

ชื่อท้องถิ่น: มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง)/ ปูหมาก (เชียงใหม่)/ หมากผู้ (ภาคเหนือ)/ ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว)/ เที่ยซู่ (จีนกลาง) 

ชื่อสามัญ: Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cordyline fruticosa (L.) A.Chev.

ชื่อวงศ์: ASPARAGACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย LOMANDROIDEAE-

สกุล:  Cordyline 

สปีชีส์: fruticosa

ชื่อพ้อง: 

-Aletris chinensis Lam.

-Calodracon heliconiifolia (Otto & A.Dietr.) Planch.

-Calodracon nobilis Planch.

-Calodracon sieberi (Kunth) Planch.

-Calodracon terminalis (L.) Planch.

-Convallaria fruticosa L.

-Cordyline amabilis Cogn. & Marchal

-Cordyline baptistii Cogn. & Marchal

-Cordyline cheesemanii Kirk

-Cordyline dennisonii André

-Cordyline densicoma Linden & André

-Cordyline eschscholziana Mart. ex Schult. & Schult.f.

-Cordyline gloriosa Linden & André.

-Cordyline guilfoylei Linden ex Lem.

-Cordyline hedychioides F.Muell.

-Cordyline heliconiifolia Otto & A.Dietr.,

-Cordyline hendersonii Cogn. & Marchal.

-Cordyline javanica Klotzsch ex Kunth.

-Cordyline metallica Dallière.

-Cordyline nobilis (Planch.) K.Koch.

-Cordyline reali (Linden & André) G.Nicholson

-Cordyline regina Veitch ex Regel

-Cordyline sepiaria Seem.

-Cordyline sieberi Kunth.

-Cordyline ti Schott.

-Cordyline timorensis Planch.

-Dianella cubensis A.Rich.

-Dracaena amabilis auct.

-Dracaena argenteostriata W.Bull.

-Dracaena aurora Linden & André.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นหมากผู้-หมากเมีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก


หมากผู้ thai-herbs.thdata.co | หมากผู้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นวงสลับกันบริเวณส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 นิ้ว และยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ใบเป็นสีแดงเขียวหรือสีแดงม่วง ทั้งนี้ ลักษณะของใบและสีของใบก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เเช่น บางพันธุ์ใบจะเป็นรูปใบหอกปลายแหลม บางพันธุ์ใบเป็นรูปใบพาย หรือเป็นรูปเรียวแหลมแคบเป็นรูปเข็ม หรือใบแคบเรียวยาวแตกกิ่ง ใบที่เป็นเหมือนใบอ้อยก็มี ซึ่งแผ่นใบจะยาวเรียวแหลมมาก เป็นต้น


หมากผู้ thai-herbs.thdata.co | หมากผู้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว โดยจะออกบริเวณยอดลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปทรงกระยอก ดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลืองอ่อน ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน มีรังไข่ 3 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีผลอ่อน 4-6 ผล ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร


หมากผู้ thai-herbs.thdata.co | หมากผู้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะรูปโค้ง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนของทวีปเอเชีย

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปักชำลำต้น การปักชำยอด การปักชำเหง้า และการแยกลำต้น

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน เหือด หัด สุกใส ดำแดง ต้มอาบ แก้คันตามผิวหนัง

*ราก ต้มเอาน้ำอม แก้ฟันผุ หรือแก้สารปรอทกิน 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสารกลุ่ม Phenols และ Amino acid เช่น glutamic acid , Aspartic acid เป็นต้น 

-ผล พบสาร neocycasin และ cycasin 

-เมล็ด พบว่ามีสารชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของเมล็ดคือ สาร Phytomelanin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย การศึกษาฤทธิ์ของสาร steroidal saponins สามชนิด ที่แยกได้จากใบของหมากผู้หมากเมียในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ การทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อโดยใช้เทคนิค microdilution method ต่อเชื้อ S. aureus  ATCC 25923, E. coli  ATCC 25922, P. aeruginosa ATCC 27853, E. faecalis ATCC 29212 และ C. albicans  ATCC 24433 ผลการทดลองพบว่า สารทุกชนิดไม่สามารถยับยั้งเชื้อได้ที่ความเข้มข้นสูงสุด 256 มิลลิกรัม/ลิตร ยกเว้น compound ที่ 2 สามารถยับยั้งเชื้อ E. faecalis ได้ โดยมีค่า MIC เท่ากับ 128 มิลลิกรัม/ลิตร (Fouedjou, et al., 2014)

-การศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเมทานอลของหมากผู้หมากเมีย และส่วนสกัดย่อยอื่นๆ   ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมทานอลขนาด 500 μg/disk มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ระดับปานกลางต่อเชื้อ Escherichia  coli, Shigella boydii, Streptococcus pyogenes  และ Staphylococcus epidermidis  โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เท่ากับ 12, 14, 13 และ 12 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน kanamycin ขนาด 30μg/disk มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เท่ากับ 39, 38, 40 และ 32 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัด hexane มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ระดับต่ำต่อเชื้อ Escherichia  coli (8 มม.), Salmonella typhi (9 มม.), shigella boydii (8 มม.) และ Shigella dysenteriae (9 มม.) ในขณะที่สารสกัด acetone และ chloroform ไม่ออกฤทธิ์ (Ahmed, et al., 2014)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อ trypanosoma การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ trypanosoma ของสารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล โดยทำการศึกษาในหลอดทดลอง ทดสอบฤทธิ์ต่อเชื้อ Trypanosoma evansi  สายพันธุ์  Te7  ซึ่งเป็นโปรโตซัวที่พบในกระแสเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ทำให้เกิดโรคทริพพาโนโซมิเอซิส หรือเซอร่า (surra) ทำให้สัตว์มีไข้ขึ้นๆลงๆ เบื่ออาหาร ซีดและผอม บวมน้ำ อาจพบดีซ่าน ทำให้สัตว์แท้ง อาการรุนแรงจะมีไข้ ตาอักเสบ หรือขุ่น ขาแข็ง หลังแข็ง คอบิด โลหิตจาง อาจตายอย่างเฉียบพลันได้  พบได้ในวัว ควาย แกะ แพะ หมา แมว หมู ฯลฯ  การทดสอบโดยวัดค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (IC50)  ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ trypanosoma โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 7.61 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดน้ำ   มีค่า IC50 เท่ากับ 48.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากการศึกษานี้สรุปว่าสารสกัดของหมากผู้หมากเมียมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ T. evansi  ได้ (Dyary, et al., 2014)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 4,545 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

-การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดหมากผู้หมากเมียในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์ไตของลิง (green monkey kidney (Vero) Cells)  และใช้เทคนิค  MTT-cell proliferation assay kit  และทำการวัดความเข้มข้นเฉลี่ยที่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ (Median cytotoxic concentration : CC50) พบว่าสารสกัดน้ำ จากใบของหมากผู้หมากเมีย มีค่า CC50 เท่ากับ  1,309.01±53.81 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และในสารสกัดเอทานอล มีค่า CC50 มากกว่า 500  ไมโครกรัม/มิลลิลิตริ (Dyary, et al., 2014)

การใช้ประโยชน์:

-โรคประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน 

อาการคันตามผิวหนังหรือเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง ใช้ใบนำมาต้มกับน้ำอาบ หรือใช้ใบร่วมกับใบหมากและใบมะยมก็ได้เช่นกัน

-อาการปวดบวมอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสด หรือรากนำมาตำพอกบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยฟอกเลือด ใช้รากสดครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

-ช่วยห้ามเลือด ใช้ใบและดอกสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณที่ีอาการ

-อาการท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ ใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากหมากผู้หมากเมียเป็นไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร หรือจะปลูกไว้ในสวนที่มีแสงปานกลางถึงรำไรเพื่อเป็นจุดเด่นให้กับสวน

-ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพราะหมากผู้หมากเมียเป็นของคู่กันเหมือนคู่สุขคู่สมคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย นอกจากนี้ยังใช้ใบเพื่อนำไปใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสำคัญอีกหลายงาน เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรือใช้เป็นเครื่องบูชาพระ เป็นต้น และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปทางใบให้ปลูกกันในวันอังคาร

-กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน นำช่อดอกนำมาลวกกับน้ำพริกกินหรือนำไปแกงได้

-ชาวไทใหญ่ๅ, ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องจะนำดอกมาใช้บูชาพระ 

-ชาวไทลื้อใช้ใบนำมาสับแล้วตากให้แห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ ช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ 

-ชาวฮาวายใช้รากนำมาทำเป็นขนมหรือหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ใบห่ออาหาร




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง