Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระไดลิง

ชื่อท้องถิ่น: มะลืมคำ (เชียงใหม่)/ กระไดลิง (ราชบุรี)/ กระไดวอก โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ)/ เครือเสี้ยว (ไทใหญ่)/ กระไดวอก มะลืมดำ (ภาคเหนือ)/ บันไดลิง ลางลิง (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia scandens L.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อยCAESALPINIOIDEAE-CAESALPINIACEAE

สกุล: Bauhinia 

สปีชีส์: scandens

ชื่อพ้อง: 

-Bauhinia anguina Roxb.

-Bauhinia debilis Hassk.

-Bauhinia divergens Baker

-Bauhinia horsfieldii (Miq.) J.F.Macbr.

-Bauhinia japonica var. subrhombicarpa (Merr.) Hiroë

-Bauhinia piperifolia Roxb.

-Bauhinia scandens L.

-Bauhinia scandens var. anguina (Roxb.) H.Ohashi

-Bauhinia scandens var. horsfieldii (Miq.) K.Larsen & S.S.Larsen

-Bauhinia subrhombicarpa Merr.

-Lasiobema anguinum Miq.

-Lasiobema horsfieldii Miq.

-Lasiobema scandens (L.) de Wit

-Lasiobema scandens var. horsfieldii (Miq.) de Wit

-Phanera debilis (Hassk.) Miq.

-Phanera divergens (Baker) Thoth.

-Phanera piperifolia (Roxb.) Benth.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระไดลิง thai-herbs.thdata.co | กระไดลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระไดลิง เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งผลัดใบขนาดใหญ่ มีมือเกาะ มักขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้อื่นไปได้ไกล เถาแก่มีลักษณะแข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอ ลักษณะเป็นขั้น ๆ ดูคล้ายบันได จึงเรียกชื่อไม้ชนิดนี้ว่า กระไดลิง” ตามกิ่งอ่อนจะมีขนขึ้นประปราย ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยงไม่มีขน 


กระไดลิง thai-herbs.thdata.co | กระไดลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปพัด ปลายใบแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร ใบที่อยู่ส่วนปลายจะเว้าลึกลงมาค่อนใบ แผ่นใบจะมีลักษณะเป็นสองแฉก โคนใบกว้างและมักเว้าเล็กน้อย ที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนขึ้นประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร หูใบมีขนาดเล็กมาก เป็นติ่งยาวและร่วงได้ง่าย


กระไดลิง thai-herbs.thdata.co | กระไดลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อดอก แบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมเหลือง แยกจากกัน คล้ายรูปหัด ก้านกลีบดอกสั้น ดอกมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน และเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์อีก 2 อัน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า รังไข่ก้านสั้น

ผล ลักษณะเป็นฝักแบน รูปรี หรือรูปไข่แกมรี ปลายฝักมน มีติ่งแหลมสั้น ๆ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลแดง เมื่อแห้งจะแตกออก ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและตามป่าเบญจพรรณชื้น

ถิ่นกำเนิด: อินเดียไปจนถึงไหหลำและหมู่เกาะซุนดา

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, หิมาลัยตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, เมียนมาร์, เนปาล, ศรีลังกา, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม

กระไดลิง thai-herbs.thdata.co | กระไดลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา  รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษทั้งปวง แก้ตัวร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้พิษฝี  แก้ไข้เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดข้อ ใช้เปลือกต้มต้มกับน้ำดื่ม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดข้อ

-คุมกำเนิด ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำอาบเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิด แต่คนท้องห้ามใช้เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้ 

-เปลือกของต้น มีความเหนียว สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้ ส่วนเถาแห้งที่คดงอไปมานั้นนิยมนำมาใช้ในงานประดิษฐ์หลายอย่าง เช่น ต้นไม้ประดิษฐ์, กรอบรูป, แกนของโคมไฟ ฯลฯ

-ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานของไทยจะใช้เถาหรือต้นนำมาต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด 

-ในประเทศอินโดนีเซียจะนิยมใช้น้ำเลี้ยง (sap) หรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดของกระไดลิงที่ไหลซึมออกมา แล้วใช้ภาชนะรอง นำมาจิบกินบ่อย ๆ เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการไอ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง