Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กำลังวัวเถลิง

ชื่อท้องถิ่น: กำลังทรพี แหลขี้ควาย ช้าวัวเถลิง ปูน ปูนทา (ใต้)/ ชะแมบ (ตราด)/ นมวัว สะบันงา เครือ กำลังวัวเถลิง  ตีนตั่ง ตีนต้าง (เลย)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Anaxagorea luzonensis A. Gray

ชื่อวงศ์: ANNONACEAE

สกุล: Anaxagorea

สปีชีส์: luzonensis

ชื่อพ้อง: 

-Anaxagorea fruticosa (Teijsm. & Binn. ex Miq.) Scheff.

-Anaxagorea zeylanica Hook.f. & Thomson

-Rhopalocarpus fruticosus Teijsm. & Binn. ex Miq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นกำลังวัวเถลิง ไม้เถาเนื้อแข็ง ตามลำต้นมีหนามแข็งห่างๆ เห็นชัดเจน และกิ่งมีรยางค์เป็นตะขอ (Hook)

กำลังวัวเถลิง thai-herbs.thdata.co | กำลังวัวเถลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ใบ รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา แข็งและเหนียว ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน มีเส้นแขนงใบข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบยาว 0.5 -2 เซนติเมตร

กำลังวัวเถลิง thai-herbs.thdata.co | กำลังวัวเถลิง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก เป็นเดี่ยวหรือเป็นช่อ ออกตามกิ่งจากปลายตะขอ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นหอม กลีบดอกเรียงเป็นสองชั้น ตัวกลีบหนา รูปรี โคนกลีบคอด ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร    

ผล เป็นแบบย่อยแห้งแล้วแตก ลักษณะรูปกระบอง ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.5-2 เซนติเมตร ข้างในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด เป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีน้ำตาลดำเป็นมันวาว

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูง 200-500 เมตร จากระดับน้ำทะเล สำหรับประเทศไทยพบในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคเหนือ 

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย 

การกระจายพันธุ์: ศรีลังกา อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม บริเวณคาบสมุทรมลายู เช่นเกาะบอร์เนียว ชวา สุมาตรา และหมู่เกาะต่างๆในฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อไม้และเปลือกต้น รสขมเฝื่อน สรรพคุณบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงร่างกาย แก่ปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-การศึกษาสารสกัดจากเถาลำต้นของกำลังวัวเถลิงด้วย แอลกอฮอล์ พบว่ามีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่ม อัลคาลอยด์ (Alkaloids) และกลุ่ม แทนนินส์ (Tannins) ทั้งที่เป็น hydrolysable tannins และ condensed tannins และยังพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เช่นanthocyanidin, leucoanthocyanidin, catechin, aurone, flavone, dihydroflavonol, และ flavonol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดคลายตัว จากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากแก่นไม้ต้นกำลังวัวเถลิงต่อความตึงตัวของหลอดเลือดแดง พบว่ากำลังวัวเถลิงมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดเอออร์ตาของหนูแรทคลายตัว ซึ่งการตอบสนองของหลอดเลือดเออร์ตาต่อกำลังวัวเถลิง จะเกิดจากการออกฤทธิ์ผ่านไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ที่สร้างจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด 

นอกจากนี้การตอบสนองของหลอดเลือดจากกำลังวัวเถลิงยังเกิดจากการเพิ่มการผ่านของโพแทสเซียมไอออนออกนอกเซลล์ รวมทั้งการยับยั้งการผ่านของแคลเซียมไอออนจากภายนอกเข้าสู่เซลล์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากำลังวัวเถลิง มีฤทธิ์เป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ซึ่งมีผลดีต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดนอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ของกำลังวัวเถลิงว่า มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50 = 23.55ไมโครกรัม/มล.) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก(ที่ความเข้มข้น 0.39 มก./มล.) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนอง(ที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล.) และเชื้อ V. cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค(ที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล.)มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราสาเหตุของโรคกลาก(ที่ความเข้มข้น 8 มก./มล.) และยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 58.16 ไมโครกรัม/มล.) มีความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามโดยให้ค่า IC50 = 129.5 มก./มล.

-ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureu จากการศึกษาสารสกัดจากเถาลำต้นของกำลังวัวเถลิงด้วย 50% แอลกอฮอล์ พบว่าพืชชนิดนี้มีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ ทั้งที่เป็น hydrolysable tannins และ condensed tannins ในปริมาณไม่สูงมาก มีฟลาโวนอยด์ทั้งประเภท anthocyanidin, leucoanthocyanidin, catechin, aurone, flavone, dihydroflavonol, และ flavonol และมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50 = 23.55ไมโครกรัม/มล.) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากที่ความเข้มข้น 0.39 มก./มล. มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนองที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล.และเชื้อ V. cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรคที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล. มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราสาเหตุของโรคกลากที่ความเข้มข้น 8 มก./มล.มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 58.16 ไมโครกรัม/มล.) สารสกัดกำลังวัวเถลิงไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีเอนไซม์ แต่สามารถลดฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ของสารมาตรฐานที่ทดสอบได้ดีเมื่อมีการทำงานของเอนไซม์ในตับร่วมด้วยโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 8.02 และ 8.88 มก./plate และมีความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามโดยให้ค่า IC50 = 129.5 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง (IC50 = 163.5±11.7 ไมโครกรัม/มล.) พบว่ามีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติเช่นกัน และไม่พบว่ามีความสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตับตายแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-มีรายงานผลการศึกษาความเป็นพิษ โดยระบุว่าเมื่อให้หนูแรทกินสารสกัดเอทานอลของกำลังวัวเถลิง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) พบค่า LD50>7,500 มก./กก. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่อนข้างปลอดภัยในการใช้กำลังวัวเถลิง

การใช้ประโยชน์:

-มีการนำกำลังวัวเถลิงมาปลูกเป็นไม้ประดับในร่ม เพราะดอกของกำลังวัวเถลิง เมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีกลิ่นหอมทำให้บริเวณใกล้เคียงที่ปลูกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง