Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ชะมวง (ส้มมวง)

ชะมวง thai-herbs.thdata.co | ชะมวง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง)/ หมากโมก (อุดรธานี)/ มวงส้ม (นครศรีธรรมราช)/ กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้)/ กานิ (มลายู-นราธิวาส)/ ตระมูง (เขมร)/ ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง

ชื่อสามัญ: Cowa

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia cowa Roxb. ex Choisy

ชื่อวงศ์: CLUSIACEAE-GUTTIFERAE

สกุล: Garcinia  

สปีชีส์: cowa

ชื่อพ้อง: 

-Cambogia crassifolia Blanco

-Garcinia cornea Roxb. ex Sm.

-Garcinia dioica Sm.

-Garcinia roxburghii Wight

-Garcinia umbellifera Wall.

-Garcinia wallichii Choisy

-Oxycarpus gangetica Buch.-Ham.

-Stalagmitis cowa (Roxb. ex Choisy) G.Don

-Stalagmitis kydiana G.Don

-Stalagmitis umbellata G.Don

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นชะมวง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำทรงสูง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นเกลี้ยงและแตกกิ่งใบตอนบนของลำต้น กิ่งย่อยผิวเรียบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำน้ำตาลมีลักษณะขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น 


ชะมวง thai-herbs.thdata.co | ชะมวง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมใบหอกหรือแกมขอบขนาน โคนใบสอบแหลม ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมสีม่วงแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม (สีน้ำเงินเข้ม) บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1-3 ยอด หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนาและเปราะ ขอบใบเรียบมีกลิ่นเล็ก เส้นใบเห็นได้ไม่ชัด แต่ด้านหลังใบจะเห็นเส้นกลาง ส่วนก้านใบเป็นสีแดงมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีรสเปรี้ยว


ชะมวง thai-herbs.thdata.co | ชะมวง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ออกดอกตามซอกใบและตามกิ่ง ดอกตัวผู้จะออกตามกิ่งเป็นกระจุก มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากเรียงกันเป็นรูปสีเหลี่ยม ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกแข็งหนา 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบกลม ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนดอกตัวเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง ดอกมีเกสรตัวผู้เทียมเรียงอยู่รอบรังไข่ มีก้านเกสรติดกันเป็นกลุ่ม ที่ปลายก้านมีต่อม 1 ต่อม


ชะมวง thai-herbs.thdata.co | ชะมวง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้มหม่น และตามผลมีร่องตื้น ๆ ประมาณ 5-8 ร่อง ด้านบนปลายบุ๋ม และมีชั้นกลีบเลี้ยงประมาณ 4-8 แฉกติดอยู่ เนื้อหนา สีเหลือง ล 

เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหนา เรียงตัวกันเป็นวงรอบผ เมล็ดมีขนาดใหญ่ประมาณ 4-6 เมล็ด 

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตรขึ้นไป สำหรับในประเทศไทยพบในป่าดิบชื้นตามที่ลุ่มต่ำทั่วไป และจะพบได้มากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ 

ถิ่นกำเนิด: อินเดีย เทือกเขาหิมาลัยตอนกลางไปจนถึงจีน

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนใต้ - กลาง, หิมาลายาตะวันออก, อินเดีย, ลาว, มาลายา, เมียนมาร์, เนปาล, หมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ ผล รสเปรียว สรรพคุณ ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ

*ราก รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสารกลุ่ม flavonoids ชนิด C-glycoside เช่น vitexin, orientin สารกลุ่ม steroids เช่น beta-sitosterol และยังพบสาร chamuangone ที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งอีกด้วย

-กิ่ง พบสาร garcicowin B , C และ D 

-เปลือกต้น พบสาร dulxanthone A 

-น้ำยาง พบสารกลุ่ม xanthone เช่น α-mangostin , cowanol และ 7-o-methylgarcinone E 

-ผล พบสาร hydroxycitric acid, oxalic acid, citric acid, cowaxanthone A-E, fuscaxanthone C, 7-Omethylgarcinone E, β–mangostin, cowanol, 6-O-methylmangostanin, cowanin, α-mangostin, cowaxanthone

-ผลอ่อน พบสารกลุ่ม tetraoxygenated xanthones เช่น β-mangostin , fuscaxanthane A , cowaxanthone D และ rubeaseanthane เป็นต้น

-ราก พบสารกลุ่ม β-sitosterol, sitgmasterol, cowanin, cowagarcinone E, cowaxanthone, cowanol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด มีการศึกษาวิจัยสารสกัดเฮกเซน และไดคลอโรมีเทนจากใบชะมวง ในขนาด 10 ug/mL โดยจากการศึกษาในหลอดทดลอง (invitro enzymatic test) พบว่ามีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ได้อย่างสมบูรณ์ ร้อยละ 100 และ 80.55 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการยับยั้งการทำหน้าที่ของเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล และสารสกัดทั้งสองยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ pancreatic lipase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมัน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 67.45 และ 342.80 ug/mL ตามลำดับ

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีการศึกษาวิจัยสารสกัดอะซีโตนจากผลอ่อนของชะมวง โดยเมื่อนำสารมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่าประกอบด้วยสารในกลุ่ม tetraoxygenated xanthones ได้แก่ garcicowanones A และ B ซึ่งเป็นสารที่ค้นพบใหม่ และที่เคยมีรายงานมาก่อน ได้แก่ α-mangostin, β-mangostin, 9-hydroxycalaba-xanthone, fuscaxanthone A, cowaxanthone D, cowanin, , cowagarcinone E และ rubraxanthone โดยเมื่อนำสารเหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวก (Bacillus cereus TISTR 688, Bacillus subtilis TISTR 008, Micrococcus luteus TISTR 884, Staphylococcus aureus TISTR 1466) และแกรมลบ (Escherichia coli TISTR 780, Pseudomonas aeruginosa TISTR 781, Salmonella typhimurium TISTR 292, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228) พบว่าสารส่วนใหญ่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้ดีกว่าแกรมลบ โดยสาร α-mangostin จะมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกทั้ง B. cereus , B. subtilis และ M. luteus โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย (MIC) อยู่ในช่วง 0.25-1 มคก./มล. ส่วนสาร garcicowanone A และ β-mangostin แสดงฤทธิ์ที่ดีเช่นกันในการยับยั้งเชื้อ B. cereus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.25 มคก./มล.

-ฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของส่วนสกัดจากยางส่วนต้นชะมวง โดยใช้ MeOH เป็นตัวทำละลายแล้วแยกองค์ประกอบของสารให้บริสุทธิ์โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟฟีแบบคอลัมน์ และ โครมาโทกราฟฟีแบบเยื่อบาง ทำให้ได้สารในกลุ่มเซนโทน 5 ชนิด ได้แก่ cowaxanthone , cowanin ,cowanol , 1,3,6-trihydroxy-7-methoxy-2,5-bis (3-methyl-2-butenyl) xanthone และ norcowanin เมื่อนำสารดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Stapphylococcus aureus ATCC 25923 และ S. aureus ที่ดื้อต่อยา penicillin พบว่า cowanin ทำให้เกิด clear zone เส้นผ่านศูนย์กลาง 13.50, 12.25, 0.0และ 0.0 mm ในจานเลี้ยงเชื้อ S. aureus และ 12.75, 12.00, 0.0 และ 0.0mm ในจากเลี้ยงเชื้อ S. aureus สายพันธุ์ที่ดื้อยา penicillin ในขณะที่ cowanol ทำให้เกิด clear zone เส้นผ่านศูนย์กลาง 15.25, 14.25, 11.0 และ 0.0 mm ในจานเลี้ยงเชื้อ S. aureus 25923 และ 15.50, 13.25, 10.0 และ 0.0 mm ในจานเลี้ยงเชื้อ S. aureus penicillin ตามลำดับและยังมีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาฉบับอื่นๆ อีกเช่น สาร chamuangone จากใบชะมวง มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว สาร garcicowin B, C และ D จากกิ่งชะมวง มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลําไส้ และสาร dulxanthone A จากเปลือกต้นชะมวงมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งตับ

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก มีสีเหลืองใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน หรือนำผลมาหั่นเป็นแว่นตากแดดใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้

-ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น

-ผลและใบอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน โดยจะมีรสเปรี้ยวคล้ายกับมะดัน (การรับประทานมาก ๆ จะเป็นยาระบายท้องเหมือนดอกขี้เหล็ก)

-ผลและใบแก่เมื่อนำมาหมักจะให้กรด ซึ่งนำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี

-นิยมนำต้นชะมวงปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากไม้ให้ร่มเงาได้ดี

-ลำต้นหรือเนื้อไม้ สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ฯลฯ

-เปลือกต้นและยาง จะให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า

-น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง สมัยก่อนนำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงา

-ยอดอ่อนชะมวงเมื่อนำไปหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืชได้ เช่น เพลี้ย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง