Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตูมกาขาว (โกฐกะกลิ้ง, แสลงใจ)

ชื่อท้องถิ่น: ขี้กา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (ภาคเหนือ)/ ตูมกาขาว (ภาคกลาง)/ มะตึ่ง (คนเมือง)/ อีโท่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ กล้อวูแซ กล้ออึ กล๊ะอึ้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ มะปินป่า (ปะหล่อง)/ ปลูเวียต (เขมร)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-blanda A.W. Hill

ชื่อวงศ์:  LOGANIACEAE-STRYCHNACEAE

สกุล: Strychnos 

สปีชีส์: nux-blanda 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตูมกาขาว thai-herbs.thdata.co | ตูมกาขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตูมกาขาว ป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ มีความสูงของต้นได้ถึง 15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีเหลือง ไม่มีช่องอากาศ เกลี้ยง และไม่มีมือจีบ ตามง่ามใบบางครั้งมีหนาม


ตูมกาขาว thai-herbs.thdata.co | ตูมกาขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปค่อนข่างกว้างหรือกลม ปลายใบมนหรือเรียวแหลม ปลายสุกมักมีติ่งแหลม โคนใบแหลม หรือกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ผิวใบมันเรียบเป็นสีเขียวเข้ม มีเส้นใบตามยาวคมชัดประมาณ 3-5 เส้น เส้นกลางใบด้านบนแบนหรือเป็นร่องตื้น ๆ ส่วนด้านล่างนูนเกลี้ยงหรือมีขนประปรายตามเส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 5-17 มิลลิเมตร


ตูมกาขาว thai-herbs.thdata.co | ตูมกาขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบแบบกระจุกแยกแจนง โดยจะออกบริเวณยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียวถึงขาว ก้านดอกยาวไมเกิน 2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก ยาวประมาณ 1.5-2.2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนถึงเกลี้ยง ส่วนด้านในเกลี้ยง ส่วนกลีบดอกเป็นสีเขียวถึงขาว ยาวประมาณ 9.4-13.6 มิลลิเมตร โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดจะยาวกว่าแฉก 3 เท่า ด้านนอกเกลี้ยง หรือมีตุ่มเล็ก ๆ ด้านใน บริเวณด้านล่างของหลอดมีขนแบบขนแกะ แฉกมีตุ่มหนาแน่น หนาที่ปลายแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้าน ติดกันอยู่ภายในหลอดดอก ส่วนอับเรณูเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร เกลี้ยง ปลายมนหรือมีติ่งแหลม ส่วนเกสรเพศเมียยาวประมาณ 8-13 มิลลิเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม


ตูมกาขาว thai-herbs.thdata.co | ตูมกาขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร เปลือกผลหนาและสาก ผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มถึงแดง ไม่แตก ภายในมีเมล็ดประมาณ 4-15 เมล็ด


ตูมกาขาว thai-herbs.thdata.co | ตูมกาขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

เมล็ด ลักษณะกลมแบนคล้ายกระดุม มี 4-15 เมล็ด ยาว 1.5-2.2 เซนติเมตร หนา 5-15 มิลลิเมตร มักพบด้านหนึ่งนูน อีกด้านหนึ่งเว้า หรือเว้าทั้ง 2 ด้าน ผิวนอกมีขนสีนวลเหลือบสีเทา ปกคลุมหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ ขนมักเอนไปทางเดียวกัน ขอบมักนูนหนาขึ้น ผิวด้านล่างเห็นขั้วเมล็ด คล้ายจุดนูนขึ้น เนื้อในแข็ง สีขาวแกมสีเหลืองอ่อน

สภาพนิเวศวิทยา: มักพบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าหญ้าที่ค่อนข้างแห้ง 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา ไทย เวียดนาม และทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด โดยฝันกับสุรา ชุบสำลีปิดบาดแผล ผสมรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวดีด 

*เมล็ด รสเมา สรรพคุณ รับประทานทำให้อาเจียน อันตรายถึงตายได้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด มีอัลคาลอยด์กลุ่มอินโดล ร้อยละ 1.8-5.3 สารสำคัญได้แก่ สตริกนีน (strychnine) ร้อยละ 1.3 และบรูซีน (brucine) ร้อยละ 1.55 นอกจากนี้ยังพบกรดคลอโรเจนิก โปรตีน และน้ำมันระเหยยากราวร้อยละ3  อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ loganin ทำให้มีรสขม

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-เมล็ดมีพิษเมาเบื่อ อาจทำให้ตายได้ การนำมาใช้เป็นยาต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากรับประทานเข้าไปจะทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง ขาสั่น กลืนลำบาก ชักอย่างแรง ทำให้หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ส่วนในกรณีที่ไม่ตาย พบว่ามีไข้ ตัวชา หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน และกล้ามเนื้อเกร็ง ซึ่งในขนาด 60-90 มิลลิกรัม ก็ทำให้ตายได้

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก ใช้รับประทานได้ (กินได้แต่เนื้อ ส่วนเมล็ดห้ามกินเพราะมีพิษมาก) (คนเมือง, ปะหล่อง, กะเหรี่ยงแดง)

-ต้น ใช้ผสมกับรำให้ม้ากินเป็นยาขับพยาธิตัวตืด

-เปลือกต้น ใช้ผสมกับผลปอพรานและเหง้าดองดึง นำมาคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ 

-ต้น ทำเป็นฟืนและถ่าน เพราะเป็นไม้ที่ให้พลังงานสูง

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำที่อยู่อาศัยได้

-ผล ถูกนำมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำยางเพื่อจุดให้แสงสว่าง หรือที่เรียกว่าการจุด "ไฟตูมกา" โดยนำผลตูมกาขนาดเท่ากำปั้นหรือใหญ่กว่ามาขูดเอาผิวสีเขียวออกและคว้านเอาเนื้อและเมล็ดข้างในออกให้หมด จากนั้นใช้มีดแกะเป็นลายต่าง ๆ ตามความต้องการ หลังจากจุดเทียนที่สอดขึ้นไปจารูที่เจาะไว้ส่วนล่าง แสงสว่างจากเปลวเทียนก็จะลอดออกเป็นลวดลายตามที่แกะเป็นลายไว้

-ชาวกะเรนนี ใช้เปลือกต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง