Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พญารากขาว (โคลงเคลง)

ชื่อท้องถิ่น: พญารากขาว (ภาคกลาง)/ ม่ายะ (ตราด)/ เอ็นอ้า (อุบลราชธานี)/ กะเร มะเร สาเหร่ เหมร เบร้ (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmoscelis villosa (Aubl.) Naudin

ชื่อวงศ์: MELASTOMATACEAE

สกุล: Desmoscelis 

สปีชีส์: villosa 

ชื่อพ้อง: 

-Chaetogastra hypericoides DC.

-Desmoscelis mollis Pittier

-Melastoma villosum Aubl.

-Rhexia hypericoides Willd.

-Rhexia villosissima Rich. ex Humb. & Bonpl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:พญารากขาว thai-herbs.thdata.co | พญารากขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นพญารากขาว เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกลำต้นบางเรียบ ยอดอ่อนและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนยาวขึ้นหนาแน่น 


พญารากขาว thai-herbs.thdata.co | พญารากขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน เมื่อจับแผ่นใบจะรู้สึกสากมือ ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มมีขนบาง ๆ ส่วนท้องใบสีซีด เส้นใบมี 3 หรือ 5 เส้น แตกออกจากโคนใบไปจรดปลายใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.4-0.8 เซนติเมตร มีขนปกคลุม


พญารากขาว thai-herbs.thdata.co | พญารากขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกย่อยประมาณ 3-6 ดอก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร สีม่วงแดงและมีขนปุยขึ้นปกคลุม กลีบดอกมีขนาดใหญ่ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะไม่ติดกัน กลีบเป็นสีชมพูหรือสีม่วงอมชมพูจนถึงสีม่วงแดงเข้ม ขนาดประมาณ 1.5-2.3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แบ่งเป็นขนาดใหญ่ 5 อัน มีก้านสีเหลืองและสีม่วง ส่วนบนโค้ง และขนาดเล็ก 5 อัน สีเหลืองและเหยียดตรง


พญารากขาว thai-herbs.thdata.co | พญารากขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผิวมีขน เนื้อในผลเป็นสีแดงม่วง ผลเมื่อแก่จะแตกออกตามขวางอย่างไม่เป็นระเบียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ออกดอกและผลในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปบริเวณป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนหรือในบริเวณป่าชายเลนที่ถูกทำลาย

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนอเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์: โบลิเวีย, บราซิลเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงใต้, บราซิลตะวันตก-กลาง, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, เฟรนช์เกียนา, กายอานา, ปารากวัย, เปรู, ซูรินาเม, เวเนซุเอลา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสขม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย กินเป็นยาชูกำลังหลังฟื้นไข้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ต้นและรากโคลงเคลงขน นำมาต้มกับข้าวสารเจ้า ใช้กินครั้งเดียวในวันเดือนดับ (วันข้างแรม) แก้คอพอก

-ดอก ใช้เป็นยาห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง