Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระทุ่ม

กระทุ่ม thai-herbs.thdata.co | กระทุ่ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อพื้นเมือง: กรองประหยัน (ยะลา)/ กระทุ่มบก (กทม.)/ โกหว่า (ตรัง)/ แคแสง (จันทบุรี, ชลบุรี)/ ตะกู (ภาคกลาง, สุโขทัย)/ ตะโกส้ม (ชลบุรี, ชัยภูมิ)/ ตะโกใหญ่ (ตราด)/ ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มเนี่ยง ตุ้มหลวง (ภาคเหนือ)/ ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้)/ ทุ่มพราย (ขอนแก่น)

ชื่อสามัญ: Cadamba/ Kadam

ชื่อวิทยาศาสตร์: Neonauclea sessilifolia (Roxb.)Merr

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Neolamarckia

สปีชีส์: cadamba

ชื่อพ้อง:

-Anthocephalus cadamba (Roxb.) Miq.

-Anthocephalus morindifolius Korth.

-Nauclea cadamba Roxb.

-cadamba (Roxb.) Kuntze

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระทุ่ม thai-herbs.thdata.co | กระทุ่ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระทุ่ม เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบหรือไม่ผลัดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-30 เมตร บางครั้งมีพูพอน ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งโน้มลง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแก่ แตกเป็นร่องตามยาว

กระทุ่ม thai-herbs.thdata.co | กระทุ่ม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนออกแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมน กลม หรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-17 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20 เซนติเมตร แผ่นใบบางและเหนียว หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนสั้นนุ่มหรือบางทีเกลี้ยง มีเส้นแขนงของใบประมาณ 11-20 คู่ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีหูใบลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อกลมกระจุกแน่น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่น ติดบนใบประดับขนาดเล็กประมาณ 1-3 คู่ กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นหลอดสั้น ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ ยาวเท่า ๆ หลอดกลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง หลอดกลีบยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร อับเรณูมีลักษณะเป็นรูปแถบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร รังไข่สูงประมาณ 0.4 เซนติเมตร ก้านเกสรรวมยอดเกสรยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ดอกมีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ปลายกลีบหยักแผ่ขยายออกและมีขนนุ่ม ๆ ทางด้านนอก และยังมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน ส่วนเกสรเพศเมียยาว

ผล ผลเป็นผลรวมที่เกิดจากวงกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน หรือผลเป็นกระจุกกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 เซนติเมตร ผลย่อยแยกกัน มีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ผิวขรุขระ อุ้มน้ำ ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก

เมล็ด รูปสามเหลี่ยม

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นตามชายป่า ตามหุบเขาหรือริมลำธาร พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1300 ม.

ถิ่นกำเนิด: เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์: พบที่อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบและเปลือกต้น สรรพคุณ ลดความดันโลหิต ต้มน้ำกินแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก

*ราก ฝนหรือต้มรับประทาน สรรพคุณ เป็นยาเย็นดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ตัวร้อน ดับพิษตานซางของเด็ก ดับพิษวัณโรค

*ผล รสฝาด สรรพคุณ สมานแก้ท้องร่วง

*ใบ รสขมเฝื่อนเมา สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมวนในท้อง

-ในอินเดีย ใช้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ไม้กระทุ่มมีเนื้อไม้ที่ละเอียด สีเหลืองหรือสีขาว สามารถนำมาใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานร่ม หรือนำมาใช้ทำกล่อง ทำอุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักเบา และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย

-ในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะนิยมปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการใช้สอย ส่วนในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมเป็นไม้เศรษฐกิจตัวใหม่ ให้ผลตอบแทนเร็ว เนื่องจากเป็นไม้โตเร็ว (นิยมเรียกว่าต้นตะกู หรือตะกูยักษ์)




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง