Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะลิ

ชื่อท้องถิ่น: มะลิซ้อน มะลิลา (ภาคกลาง)/ มะลิ มะลิลา มะลิซ้อน (ทั่วไป)/ มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่)/ มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)/ มะลิป้อม (ภาคเหนือ)/ เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)/ ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่งสอน)/ บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง (จีน)/ หม้อลี่ฮวา (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Arabian jasmine, Seented star jusmine, Jusmine, Kampopot

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton

ชื่อวงศ์: OLEACEAE

สกุล:Jasminum

สปีชีส์: sambac

ชื่อพ้อง: 

-Jasminum bicorollatum Noronha

-Jasminum blancoi Hassk.

-Jasminum fragrans Salisb.

-Jasminum odoratum Noronha

-Jasminum pubescens Buch.-Ham. ex Wall.

-Jasminum quadrifolium Buch.-Ham. ex Wall.

-Jasminum quinqueflorum B.Heyne ex G.Don

-Jasminum sambac var. heyneanum (Wall. ex G.Don) C.B.Clarke

-Jasminum sanjurium Buch.-Ham. ex DC.

-Jasminum undulatum (L.) Willd.

-Jasminum zambac Roxb.

-Mogorium gimea Zuccagni

-Mogorium goaense Zuccagni

-Mogorium sambac (L.) Lam.

-Mogorium undulatum (L.) Lam.

-Nyctanthes goa Steud.

-Nyctanthes sambac L.

-Nyctanthes undulata L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะลิ thai-herbs.thdata.co | มะลิ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะลิ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือไม้พุ่มรอเลื้อย ถ้าไม้อื่นอยู่ใกล้ก็พาดพันหรือคลุม มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้น 


มะลิ thai-herbs.thdata.co | มะลิ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน


มะลิ thai-herbs.thdata.co | มะลิ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเราจะเรียกว่า “มะลิซ้อน” ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า “มะลิลา” โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อนขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ไม่ค่อยพบเห็น

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: ภูฏานไปจนถึงอินเดีย

การกระจายพันธุ์: หิมาลัยตะวันออก, ประเทศอินเดีย, บาฮามาส, บังคลาเทศ, กัมพูชา, หมู่เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะคิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, เฮติ, ฮอนดูรัส, จาเมกา, จาวา, มาดากัสการ์, มัลดีฟส์, มอริเชียส, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, นิการากัว , ปานามา, เปอร์โตริโก, ตรินิแดด-โตเบโก, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, หมู่เกาะลีวาร์ด,

มะลิ thai-herbs.thdata.co | มะลิ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสขื่นเย็น สรรพคุณ แก้คุดทะราด ขับเสมหะ และโลหิต

*ใบสด รสเย็นฝาด สรรพคุณ แก้แผลพุพอง แก้แผลเรื้อรัง พิษฝีดาษ

*ดอก รสหอมเย็น สรรพคุณ ทำให้จิตใจแช่มชื่น แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บตา

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ดอกสด พบน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.2-0.3 จากการศึกษาด้วยวิธี GC-MS พบว่าน้ำมันระเหยง่าย ที่พบในดอก มีมากกว่า 40 ชนิด แต่สารที่ทำให้มะลิลามีกลิ่นเฉพาะคือ linalool ซึ่งเป็นชนิด R-(-)isomer และ methyl anthranilate ขณะที่ ดอกมะลิชนิด J. grandiflorum L.(ในไทยเรียก “สถาน” หรือ “จะขาน”) ซึ่งใช้ผลิตเป็นน้ำหอมหลัก ในอัลจีเรีย มอรอคโค และอิตาลี  linalool จะเป็นชนิด S-(-) isomer จึงทำให้มะลิต่างสายพันธุ์มีกลิ่นที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างสารที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลา เช่น benzyl alcohol, benzyl acetate,   jasmine lactone, methyl jasmonte, geraniol, jasmine, jasmone, methyl benzoate, caryophyllene, cadinene, hexenyl benzoate  เป็นต้น แต่ถ้านำดอกมะลิแห้งมาสกัดด้วยเมทานอล จะพบองค์ประกอบเป็นสารกลุ่ม irridoid glycoside ชนิด dimeric irridoid glycoside เช่น molihuaside A, C, D, E ชนิด trimeric irridoid glycoside เช่น molihuaside B, sambacoside A  สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบ ได้แก่ rutin, kaempferol, quercetin นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่ม indole อีกด้วย

-ใบ และลำต้นของมะลิลา พบสารสำคัญหลายกลุ่ม เช่น triterpenoid, flavonoid,  irridoid glycoside เช่น sambacin, jasminin, quercetin, isoquercetin, rutin, kaempferol-3-rhamnooglycoside, linalool, sambacoside A, E, F, methyl benzoate, benzyl acetate, methyl salicylate, myrcene, d-fenchene, limonene, cis-linalool oxide, trans-3-hexenyl butyrate

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี และกระตุ้นหัวใจ (coronary vasodilating and cardiotropic activities) สาร jasmolactone B และ D ที่แยกได้จากดอกมะลิพวงออกฤทธิ์ดังกล่าว จึงอาจสนับสนุนการใช้ดอกมะลิในตำรับยาหอม ซึ่งเป็นตำรับยาพื้นบ้าน ในการรักษาอาการเป็นลม วิงเวียน ที่มีการใช้ในยาไทยมาแต่โบราณ

-ฤทธิ์กระตุ้นประสาท จากการทดสอบกับหนูพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลา ช่วยทำให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยการกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสารสำคัญคือ phytol

-ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinis ที่เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุ พบว่าสารสกัด เมทานอล จากดอกมะลิลาแห้ง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าว โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml  ดังนั้นสารสกัดจากดอกมะลิจึงมีผลต่อสุขภาพในช่องปาก

-ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และเชื้อรา Aspergillus niger พบว่าสาร caryophyllene oxide, benzyl benzoate, farnesyl acetate, methyl isoeugenol จากดอกมะลิลาออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าว

-ฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ จากการทดสอบตำรับยาที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตำรับ 3-20% (โดยมีน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ คิดเป็น 50-90%) มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

        -ฤทธิ์สงบประสาท และทำให้นอนหลับ น้ำคั้นจากรากสดมะลิลา 1-8 กรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง หนู กระต่าย และสุนัข มีผลในการสงบประสาท ทำให้สัตว์เคลื่อนไหวน้อยลง และทำให้นอนหลับ ในปริมาณต่างกัน  จึงควรระมัดระวังในการใช้ เพราะการใช้มากเกินไปจะทำให้สลบได้

-ฤทธิ์ไล่หมัด น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลา มีฤทธิ์ไล่หมัดได้ดีกว่าสารเคมี diethyltoluamide

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-สารสกัดดอกมะลิลา ด้วยน้ำ และอัลกอฮอล์ (1:1) ในขนาดเทียบเท่าผงยา 10 กรัม / กิโลกรัม ไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร ไม่ว่าจะให้โดยการป้อน หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำและอัลกอฮอล์ (1:1) เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 1 กรัม / กิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ และบาดแผล ใบสดนำมาตำทาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือใช้ใบตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วนำไปลนไฟแล้วจึงใช้ทาบริเวณที่มีอาการ

-อาการไข้ตัวร้อน ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน

-อาการนอนไม่หลับ ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน 

-อาการปวดศีรษะ ใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

-อาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ ใช้รากสด 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน  

-อาการปวดฟัน ใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด หรือใช้รากมะลิตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ

-อาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืดแน่น หรือจะใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย

-บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อ่อนเพลีย ใช้ดอกแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่ม 

-ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและยังมีสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิให้เป็นดอกไม้ของวันแม่แห่งชาติ

-ดอกไม้แห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่าง 

-การบำบัดด้วยสุคนธบำบัด (Aromatherapy) หรือการบำบัดโดยการใช้กลิ่นหอม จะใช้น้ำมันหอมระเหยของดอกมะลิ ในการกระตุ้นระบบประสาทสำหรับผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ง่วง ช่วยปรับอารมณ์และสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะ ความเครียด ความกลัว และช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นมะลิสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ยิ่งในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำจะยิ่งส่งกลิ่นแรง เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ปลูกได้ง่าย ปลูกได้ดีทั้งในพื้นที่แคบหรือในกระถาง เจริญเติบโตเร็ว ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน และสามารถควบคุมการออกดอกได้โดยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสม

-ในด้านของความเชื่อ คนไทยเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้มีความสงบสุข ร่มเย็น เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คนรอบข้าง ช่วยเกื้อหนุนให้เกิดความกตัญญูของผู้เป็นลูกที่มีต่อแม่ และเพื่อความสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และให้ปลูกในวันพุธเพื่อเอาคุณ โดยผู้ปลูกควรเป็นสตรีที่สูงอายุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง และยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป โดยต้นมะลิที่นิยมปลูกไว้ในบ้านเพื่อความเป็นมงคลมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน คือ มะลิซ้อน มะละฉัตร มะลิพวง มะลิวัลย์ และพุทธชาด นอกจากนี้ต้นมะลิยังเป็นต้นไม้ประจำวันเกิดของผู้เกิดวันจันทร์อีกด้วย ซึ่งหมายถึงความนุ่มนวลอ่อนโยนและเรียบร้อย

-ในมาเลเซีย ใช้ดอกพอกหัว แก้ปวดหัว ใบใช้พอกแก้ฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิดหนัง และบาดแผล ต้มน้ำกินแก้ไข ต้มกับน้ำมันพืช ใช้ทาหัว แก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับตา ทำให้ตาสว่าง และใช้เป็นยาแก้วิกลจริต ใบแห้งใช้พอกแผลเรื้อรังและโรคผิวหนังอื่น ๆ

-ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง