Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สนแผง

ชื่อท้องถิ่น: จันทยี จันทน์ยี่ (เชียงใหม่)/ สนเทศ สนแผง (กรุงเทพฯ)/ เฉ็กแปะ (จีนแต้จิ๋ว)/ เช่อป๋อ เช่อไป่เย่ ไป่จื่อเหยิน (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Chinese Arborvitae, Oriental Arborvitae

ชื่อวิทยาศาสตร์: Platycladus orientalis (L.) Franco

ชื่อวงศ์: CUPRESSACEAE

สกุล:  Platycladus 

สปีชีส์: orientalis

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

สนแผง thai-herbs.thdata.co | สนแผง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นสนแผง เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นและกิ่งก้านบิดเป็นเกลียว เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีแดง เปลือกต้นเป็นเกล็ดมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้อพอประมาณ


สนแผง thai-herbs.thdata.co | สนแผง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบร่วมหรือใบประกอบแบบขนนกหลาชั้น เรียงเป็นแผง ใบย่อยออกเรียงสลับและเป็นเกล็ดขนาดเล็ก เรียงติดกันแน่นกับกิ่ง ซึ่งอยู่ในลักษณะเป็นแผง มีสีเขียวสด


สนแผง thai-herbs.thdata.co | สนแผง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ ดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน ดอกเพศผู้แล้วดอกเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่อยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะมีก้านสั้นมาก ส่วนดอกเพศเมียไม่มีก้าน


สนแผง thai-herbs.thdata.co | สนแผง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นรูปกลมตั้งตรง ผลอ่อนฉ่ำน้ำ สีเขียวอมสีน้ำเงิน มีผงสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อแก่จะเป็นผลแห้ง มีสีน้ำตาลอมแดง และจะแตกออกเป็น 8 แฉก ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่สีน้ำตาลเข้มและมีสัน ในภาษาจีนจะเรียกเมล็ดสนแผงว่า “ไป่จื่อเหยิน”

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: จีนและญี่ปุ่น

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอตกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ  ใช้กวาดช่องคลอดเพื่อรักษากระดูกขาวให้แห้งไป

*ใบ รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ฟกช้ำ แก้อาเจียนเป็นโลหิต 

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้สนเทศ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของสนเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน ตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของสนเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) 

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาริดสีดวงมหากาฬ” มีส่วนประกอบของสนเทศร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบน้ำมันระเหยประมาณ 0.6-1% (Caryophyllene, Fenchone, Pinene, Thujene, Thujone) และมี Flavones 1-72% (Amentoflavone, Aromadendrin, Hinokiflavone, Quercetrin, Myricetin) และยังมีสารแทนนิน, เรซิน และวิตามินซี

-ใบและกิ่ง พบสาร Fenchone, Quercitrin, Pinpicrin, Tannin, Thujone, Vitamin C 

-เมล็ด พบน้ำมันและน้ำมันระเหย ซึ่งในน้ำมันระเหยพบสาร Beta-thujaplicin, Cedrol, Curcumenether, Hinokiavone, Thujopsene เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-มีฤทธิ์กล่อมประสาท สารที่สกัดได้จากใบและเมล็ดสนหางสิงห์ มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาทมทำให้สัตว์ทดลองหลับได้สนิท และหลับได้นานขึ้น

-ฤทธิ์ยับยั้งอาการไอ สารจำพวก Flavonoid ในใบสนหางสิงห์ มีฤทธิ์ยับยั้งอาการไอ และเป็นยาขับเสมหะในสัตว์ทดลองของหนูได้

-ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย สารที่สกัดได้จากใบ หรือน้ำที่ต้มได้จากใบสนหางสิงห์ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus, Strepto coccus, Columbacilus และเชื้อบิดในลำไส้ใหญ่ หรือเชื้อไทฟอยด์ และยังสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสของไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย

-ฤทธิ์ช่วยยืดอายุ จากการทดสอบความสามารถในการยืดอายุของหนอน Caenorhaditis elegans โดบใช้สารสกัด n-butanol ที่ได้จากเมล็ดสนหางสิงห์ พบว่าสนหางสิงห์สามารถช่วยยืดอายุการมีชีวิตของหนอนได้ ทั้งในสภาวะปกติและในสภาพเครียด โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร และยังพบว่าสนหางสิงห์มีฤทธิ์ลดอนุมูลอิสระ และช่วยควบการเพิ่มโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทนต่อสภาวะเครียดมากขึ้น และยังมีฤทธิ์ลดรงควัตถุที่เกิดจากความเสื่อมของไขมัน Lipofuscin ในหนอน Caenorhaditis elegans ได้ด้วย จึงสรุปได้ว่าสารสกัด n-butanol ที่ได้จากเมล็ดสนหางสิงห์ มีฤทธิ์ช่วยยืดอายุ โดยไปทำลายอนุมูลอิสระ ลดปริมาณของ Lipofuscin และเพิ่มความสามารถในการทนต่อสภาวะความเครียด จึงเป็นผลการทดสอบที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ในการศึกษาเกี่ยวกับยาบำรุงร่างกายต่อไป

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-โรคความดันโลหิตสูง ใบมีสรรพคุณเป็นยาลดความดันโลหิตใช้ใบสด 15 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่มแทนชา โดยดื่มจนกระทั่งความดันลดลง 

-โรคคางทูม โดยใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับไข่ขาว แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น และให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง 

-อาการนอนไม่หลับ หรือมีอาการตกใจง่าย ด้วยการใช้เมล็ดสนหางสิงห์ 12 กรัม, แหม่เกาติ๊ง 12 กรัม, เมล็ดพุทราจีนที่ผ่านการคั่วมาแล้ว 10 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม, และเอี่ยงจี่ 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน 

-อาการไอ และขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบสด 30 กรัม และน้ำ 500 มิลลิลิตร นำมาชงเข้าด้วยกัน ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง 

-อาการหลอดลมอักเสบ และแก้อาการไอ ให้ใช้ใบนำมาบดให้เป็นผง ทำเป็นยาเม็ด เมล็ดละประมาณ 0.5 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ต่อติดกันเป็นเวลา 10 วัน

-อาการท้องร่วงในเด็ก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม 

-อาการท้องผูก เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ ใช้แก้อาการท้องผูก หรือจะใช้เมล็ดสนหางสิงห์ร่วมกับเมล็ดกัญชา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานก็ได้

-อาการแผลพุพอง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วใส่น้ำผสมลงไป คนจนเหนียวเป็นยาง แล้วใช้พอกบริเวณที่เป็น

-ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ใบสด 30 กรัม และน้ำ 500 มิลลิลิตร นำมาชงเข้าด้วยกัน ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง

-ช่วยห้ามเลือด ด้วยการใช้ใบบดเป็นผงแล้วโรยใส่แผลเพื่อห้ามเลือด

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง