Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ท้าวยายม่อม (ชนิดลงหัว)

ชื่อท้องถิ่น: บุกรอ (ตราด)/ สิงโตดำ (กรุงเทพฯ)/ นางนวล (ระยอง)/ ไม้เท้าฤาษี (ภาคกลาง)/ ท้าวยายม่อม ว่านพญาหอกหลอก เป็นต้น

ชื่อสามัญ: East Indian arrow root

ชื่อวิทยาศาสตร์: Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze

ชื่อวงศ์: DIOSCOREACEAE

สกุล: Tacca 

สปีชีส์: leontopetaloides

ชื่อพ้อง: 

-Arisaema gracile Kunth

-Arum gracile Roxb.

-Chaitaea tacca Sol. ex Seem.

-Tacca abyssinica Hochst. ex Baker

-Tacca artocarpifolia Seem.

-Tacca brownii Seem.

-Tacca brownii var. paeoniifolia Limpr.

-Tacca dubia Schult. & Schult.f.

-Tacca gaogao Blanco

-Tacca hawaiiensis H.Limpr.

-Tacca involucrata Schumach. & Thonn.

-Tacca maculata Zipp. ex Span.

-Tacca madagascariensis Bojer

-Tacca oceanica Seem.

-Tacca phallifera Schult. & Schult.f.

-Tacca pinnatifida var. brownii (Seem.) F.M.Bailey

-Tacca pinnatifida subsp. interrupta Warb. ex H.Limpr.

-Tacca pinnatifida var. paeoniifolia Domin

-Tacca pinnatifida var. permagna Domin

-Tacca pinnatifolia Gaertn.

-Tacca quanzensis Welw.

-Tacca umbrarum Jum. & H.Perrier

-Tacca viridis Hemsl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นท้าวยายม่อม เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร (ใช้ทำแป้ง) ลักษณะของหัวเป็นรูปกลม กลมแบน หรือรูปรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-4 นิ้ว ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส


ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนออกเป็นแนวรัศมี ใบมีขนาดใหญ่และเว้าลึก เป็นรูปฝ่ามือ ปลายแยกออกเป็นแฉก 3 แฉก แต่ละแฉกขอบมีลักษณะเว้าลึก ใบรูปฝ่ามือมีขนาดกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร และยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ก้านใบรวมกาบใบยาวประมาณ 20-170 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ก้านใบเป็นสีดำแกมเขียว


ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม แทงช่อสูงออกมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกจะออกที่ปลายยอด ก้านดอกเป็นสีม่วงอมเขียวมีลาย ช่อดอกจะมีประมาณ 1-2 ช่อ มีความยาวได้ถึง 170 เซนติเมตร แต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 20-40 ดอก กลีบรวมเป็นสีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบแหลม โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เชื่อมติดกันเป็น 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงในเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร ส่วนวงนอกเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.4-0.7 เซนติเมตร แผ่นกลีบประดับเป็นสีเขียวเข้ม มีประมาณ 4-12 อัน เรียงเป็น 2 วง มีขนาดเกือบเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร มีชั้นใบประดับสีดำหรือสีม่วงอมน้ำตาลรองรับ ลักษณะเป็นรูปเส้นด้ายยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร มีประมาณ 20-40 อัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ปลายแผ่เป็นแผ่น ก้านเกสรเพศเมียสั้น ปลายแยกออกเป็น 3 แฉก


ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ รูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดประมาณ 5-8 x 4-6 มิลลิเมตร ที่ผิวเมล็ดมีลาย

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนไปจนถึงแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: -

ท้าวยายม่อม thai-herbs.thdata.co | ท้าวยายม่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการแยกหัว

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว ทำแป้งเรียกว่า แป้งท้าวยายม่อม รสมัน สรรพคุณ ผสมน้ำตาลกรวด ให้คนไข้รับประทาน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ  ทำให้จิตใจชุ่มชื่น

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคไส้เลื่อน รากใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาเย็น หรือเผาให้ร้อนเอาผ้าห่อ นั่งทับแก้ไส้เลื่อน

-ช่วยบำรุงกำลัง ใช้เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง

-ช่วยห้ามเลือด สมานแผล ใช้แป้งที่ได้จากหัวสามารถนำใช้โรยบริเวณปากแผลเพื่อช่วยห้ามเลือดได้ 

-หัว สามารถนำมาใช้ทำแป้งได้ ซึ่งเรียกว่า “William’s arrow root”, “Arrowroot starch” หรือ “แป้งเท้ายายม่อม” (ชื่อทางการค้าใช้คำว่า “แป้งท้าวยายม่อม”) ใช้เป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่ร่างกายอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ โดยจะช่วยทำให้เกิดกำลัง ชุ่มชื่นหัวใจ ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้เร็ว ส่วนวิธีการใช้นั้นให้นำแป้งมาละลายกับน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก แล้วนำมาให้คนไข้รับประทาน

-แป้งเท้ายายม่อม มีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังเชื่อว่าการบริโภคแป้งชนิดนี้จะช่วยทำให้อารมณ์และจิตใจมีความสมดุล 

-ชาวฮาวายจะใช้หัวเท้ายายม่อมนำมาผสมกับน้ำและดินเคาลินสีแดง (red clay) ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียและบิด ใช้หยุดเลือดในกระเพาะและลำไส้ 

-อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้หัวหรือรากนำมาฝนกับน้ำมะนาวใช้ทาเป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย พิษผึ้ง พิษจากแมงกะพรุนไฟ

-อาการผดผื่นคัน ให้ใช้แป้งเท้ายายม่อมละลายกับน้ำแล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยลดสิวฝ้า ทำให้หน้าขาวได้ ใช้แป้งเท้ายายม่อมผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักครู่แล้วค่อยล้างออก หรือนำมาใช้ผัดหน้าแทนแป้งฝุ่น

-ช่วยพอกฝีแผล ช้ำ ถอนพิษ ใช้แป้งเท้ายายม่อมนำมานวดกับน้ำอุ่นให้พอเป็นยางเหนียว ๆ แล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น

-ช่วยป้องกันเชื้อราที่เท้า ใช้แป้งโรยในถุงเท้าเพื่อป้องกันเชื้อราที่เท้าได้เป็นอย่างดี

-แป้งเท้ายายม่อม สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความเข้มเหนียวหนืดและใส เมื่อทำให้เย็นจะมีความเหนียวตัวมากกว่าแป้งมันสำปะหลัง จึงนิยมนำมาผสมกับแป้งชนิดอื่น ๆ เช่น ผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด และแป้งข้าวเจ้า เพื่อให้ได้อาหารที่มีความเข้มเหนียวและเป็นมันวาว เช่น ขนมชั้น ขนมเปียกปูนหรือขนมน้ำดอกไม้ ขนมกรวย ขนมกล้วย ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ขนมช่อม่วง ขนมดอกลำเจียก ขนมดอกอัญชัน ขนมเทียนแก้ว ขนมทองเอก ขนมเรไร ขนมวุ้นกรอบ ขนมฟักเขียว ขนมฟักทอง ขนมมันสำปะหลัง ขนมหัวผักกาด ขนมถ้วยหน้ากะทิ ลอดช่องกะทิ กะละแม เสวย ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้าวฟ่างเปียก ครองแครงกะทิ เต้าส่วน ทับทิมกรอบ บัวลอย เสน่ห์จันทร์ ใช้ผสมกับแป้งถั่วเขียวเพื่อทำซ่าหริ่ม หรือนำมาผสมกับแป้งเผือกและแป้งสาลีเพื่อทำขนมเค้ก ขนมพุดดิ้ง และขนมปัง สำหรับอาหารคาวจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมในซุปเห็ดเจ ราดหน้า กระเพาะปลา หอยทอด เป็นต้น 

-ดอกและยอดอ่อน นำมาต้มจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ หรือนำยอดอ่อนมาผัดกับน้ำกะทิสด ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ผัดกะทิเท้ายายม่อม” โดยนำน้ำกะทิสดไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนกะทิข้น จากนั้นให้นำยอดอ่อนใส่ลงไปผัดจนสุก รสชาติจะขมเล็กน้อย มีความหอมมันของกะทิ ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกกะปิอร่อยมาก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง