Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะหวด

ชื่อท้องถิ่น:  ซำ (ทั่วไป)/ กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง)/ หวดค่า (อุดรธานี)/ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ สีหวด (นครราชสีมา)/ ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)/ กำจำ นำซำ มะจำ หมากจำ (ภาคใต้)/ สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ)/ มะหวดป่า หวดคา หวดเหล้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ,คนเมือง)/สือเก่าก๊ะ ยาตีนไก่ (ม้ง)/ เดี๋ยงอายเปียว (เมี่ยน)/ มะซ้าหวด (ไทลื้อ)/ สีหวดใหญ่ (บางภาคเรียก)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

ชื่อวงศ์: SAPINDACEAE

สกุล: Lepisanthes 

สปีชีส์: rubiginosa

ชื่อพ้อง: 

-Sapindus rubiginosus Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะหวด thai-herbs.thdata.co | มะหวด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะหวด   เป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตรและสูงได้ถึง 15 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปไข่ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งแขนงเป็นรูปทรงกระบอกเป็นร่อง  ที่กิ่งก้านมีขนละเอียด เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีขนสั้น ๆ 


มะหวด thai-herbs.thdata.co | มะหวด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แก่นกลางใบประกอบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 3-6 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-30 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นรอย ส่วนใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว


มะหวด thai-herbs.thdata.co | มะหวด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตั้ง จากปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด มีความยาวถึง 50 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาวมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร มีกลีบดอก 4-5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอกเป็นสีขาว โคนกลีบแคบ มีขนและมีเกล็ดเล็ก 1 เกล็ด ที่มีสันนูน 2 สัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน ก้านเกสรมีขนสีน้ำตาลอ่อน ๆ ส่วนก้านเกสรเพศเมียยาวและไม่มีขน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปครึ่งวงกลม กลีบนอก 2 กลีบจะเล็กกว่ากลีบในและมีขนที่ด้านนอก


มะหวด thai-herbs.thdata.co | มะหวด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปรีเว้าเป็นพู ผิวผลเกลี้ยง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลมีพู 2 พู ผิวเกลี้ยงเปลือกและเนื้อบาง ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำเมื่อแก่จัด เนื้อผลฉ่ำน้ำมีรสหวานใช้รับประทานได้ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำเป็นมัน 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดมะหวดเป็นรูปทรงรีแกมรูปขอบขนาน

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าผลัดใบ ริมลำธาร ชายป่าชื้น ชายป่าดิบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และพื้นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-1,200 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการทำกิ่งตอน 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษร้อน แก้วัณโรค 

*เมล็ด รสฝาด สรรพคุณ แก้ไอกรน แก้ไข้ทราง 

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคซาง ใช้รากหรือใบมะหวด นำมาผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มกับน้ำดื่มเป็น (โรคในเด็กเล็กที่มีอาการเบื่ออาหาร ซึม ลิ้นเป็นฝ้า มีเม็ดขึ้นในปากและคอ)

-โรคซาง ใช้เมล็ดนำมาต้มกับน้ำให้เด็กรับประทานเป็นยาแก้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอหอบในเด็ก

-อาการไข้ ใช้รากตำพอกศีรษะหรือนำมาฝนกับเหล้าขาวใช้พอกศีรษะ จะช่วยแก้ไข้ได้ 

-ผลสุก มีรสฝาดหวานฉ่ำน้ำ  ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้

-ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยจะรับประทานเป็นผักสด ต้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ใส่ในแกงผักรวม ใส่ปลาย่าง ฯลฯ และชาวบ้านยังนำมาใช้รองพื้นหรือคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อช่วยกันบูดได้อีกด้วย

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำไม้ฟืน หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง