Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านชักมดลูก

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: 

-Curcuma comosa Roxb. (ว่านชักมดลูกตัวเมีย) มีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น

-Curcuma latifolia Roscoe (ว่านชักมดลูกตัวผู้) มีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่าว่านชักมดลูกตัวเมีย

ชื่อวงศ์:  ZINGIBERACEAE

สกุล: Curcuma 

สปีชีส์: comosa

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ว่านชักมดลูก thai-herbs.thdata.co | ว่านชักมดลูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ว่านชักมดลูก thai-herbs.thdata.co | ว่านชักมดลูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นว่านชักมดลูก    เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดิน หัวเจริญในฤดูฝน และแห้งในฤดูหนาว หัวรูปกลมโต ป้อม เนื้อในสีขาว


ว่านชักมดลูก thai-herbs.thdata.co | ว่านชักมดลูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว มี 1-2 ใบ กลางใบ มีแถบสีแดงเข้ม ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง มีต่อมเล็กสีน้ำตาลแดงระจายอยู่ทั่วไปทั้งสองด้าน กาบใบ ยาวสูงประมาณ 13-15 เซนติเมตร แผ่นใบ รูปไข่แกมหอก กว้างประมาณ 8-11 เซนติเมตร ยาวสูงประมาณ 22-36 เซนติเมตร กระจุกใบประดับมีขนาด กว้างเซนติเมตรสูงประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาวสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีสีชมพูเข้มทั่วทั้งแผ่นใบประดับ 


ว่านชักมดลูก thai-herbs.thdata.co | ว่านชักมดลูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเจริญจากโคนลำต้น ก้านช่อดอก สั้น ช่อดอก กว้างสูงประมาณ 6-7 เซนติเมตร ยาวสูงประมาณ 13-15 เซนติเมตร ใบประดับ รูปไข่แกมหอก 

ผล -

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วๆไป

ถิ่นกำเนิด: อัสสัมไปจนถึงประเทศไทย

การกระจายพันธุ์: อัสสัม เมียนมาร์ ไทย

ว่านชักมดลูก thai-herbs.thdata.co | ว่านชักมดลูก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยหัวเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสฝาดเบื่อ สรรพคุณ แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก ชักมดลูกให้เข้าอู่หลังคลอดบุตร

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เหง้า พบสารกลุ่ม diarylheptanoids หลายชนิด เช่น diarylcomosols I , II, III, (+)-hannokinol, platyphyllone, (3R)-1,7-bis(4-hydroxyphenyl)-(6E)-6-hepten-3-ol, 1-(3,4-dihydroxyphenyl)-7-(4-hydroxyphenyl)-(6E)-6-hepten-3-ol, 1-(3-hydroxyphenyl)-7-(3,4-dihydroxyphenyl)-3-methoxy-(6E)-6-heptene, (3R, 5R)-1-(3,4-dihydroxyphenyl)-7-phenyl-heptane-3,5-diol, (4E,6E)-1,7-diphenylhepta-4,6-dien-3-one, 7-(3,4 dihydroxyphenyl)-5-hydroxy-1-phenyl-(1E)-1-heptene, (5-hydroxy-7-(4-hydroxyphenyl)-1-phenyl-(1E)-1-heptene, (3S)-1-(4-methoxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol, (3R)-1-(4-methoxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol,  1-(4-hydroxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-one, สารกลุ่ม acetophenone เช่น 4,6-dihydroxy-2-O-(β-D-glucopyranosyl) acetophenone สารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนที่พบ ได้แก่  comosoxides A,   comosoxides B

-ส่วนเหนือดิน พบสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ เช่น curcucomosides A–D, kaempferol 3-O-alpha-L-arabinoside,  quercetin 3-O-arabinopyranoside (guaijaverin),  kaempferol 3-O-alpha-L-rhamnopyranosyl-(1→2)-O-alpha-L-arabinopyranoside สารไดแอริลเฮปทานอยด์ เช่น 1-(4-hydroxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-one(8), 1-(4-hydroxyphenyl)-7-phenyl-(4E,6E)-4,6-heptadien-3-one, 1-(4-hydroxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol, (3S)-1-(3,4-dihydroxyphenyl)-7-phenyl-(6E)-6-hepten-3-ol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน สารกลุ่มไดแอริลเฮปทานอยด์จากเหง้า เมื่อนำมาผ่านกระบวนการเมทาบอลิซึม  แสดงฤทธิ์อย่างสูง เมื่อวิเคราะห์ในหลอดทดลอง โดยสามารถกระตุ้นมดลูกในหนูที่ยังไม่โตเต็มวัยที่ถูกตัดรังไข่ได้ พบว่าสาร (3R-1,7-diphenyl-(4E,6E)-4,  6-heptadiene-3-ol มีฤทธิ์แรงที่สุด โดยมีความแรงสัมพัทธ์ ร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับ 17-beta-estradiol

-ป้องกันภาวะกระดูกพรุน การให้สารสกัดเฮกเซนจากเหว้าว่านหมาว้อในหนูที่ถูกตัดรังไข่ออก ในขนาด 250 หรือ 500 mg/kg เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าสามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และปริมาณแคลเซียมได้

-ลดคอเลสเตอรอล การให้สารสกัดเอทิลอะซีเตตจากเหง้าว่านหมาว้อร่วมกับอาหาร แก่หนูที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้สารสกัดในขนาด 250-500 mg/kg ต่อวัน เป็นเวลา 7 วัน พบว่าสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มระดับ HDL และลด LDL  เพิ่มการกำจัดคอเลสเตอรอล โดยการขับน้ำดีเพิ่มขึ้น ทำให้คอเลสเตอรอลอิสระถูกนำไปกำจัดที่ตับได้มากขึ้น

-ปกป้องเซลล์เม็ดสีเรตินาที่ตา สารไดแอริลเฮปทานอยด์ จากเหง้า 7-(3,4 dihydroxyphenyl)-5-hydroxy-1-phenyl-(1E)-1-heptene ในขนาด 20 µM ก่อนให้สารทำลายเรตินาเป็นเวลา 4 ชม. สามารถปกป้องเซลล์เม็ดสีเรตินาจากการทำลายของสาร H2O2 ที่เหนี่ยวนำให้เกิดออกซิเดชันที่เรตินาได้ โดยสามารถยับยั้งการเกิด lipid peroxidation, malondialdehyde และสารอนุมูลอิสระออกซิเจนภายในเซลล์ retinal pigment epithelial cells (ARPE-19) ของมนุษย์ในหลอดทดลองได้

-ป้องกันการเรียนรู้และความจำถดถอย การป้อนสารสกัดเฮกเซนจากเหง้าว่านหมาว้อ (ที่มีปริมาณสาร (4E,6E)-1,7-diphenylhepta-4,6-dien-3-one จำนวน 0.165mg ต่อมิลลิกรัมของสารสกัด) ให้แก่หนูที่ถูกตัดรังไข่ออก ในขนาด 250 และ 500 mg/kg เป็นเวลา 30 วัน พบว่าให้ผลเหมือนการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือสามารถป้องกันการเรียนรู้และความจำถดถอยในหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสามารถเหนี่ยวนำให้ estradiol มีความจำเพาะในการจับกับตัวรับในมดลูกได้เพิ่มมากขึ้น

-ลดการอักเสบในระบบประสาทและสมอง สารสกัดเฮกเซนจากเหง้า ความเข้มข้น 10-9 to 10-5 g/ml กดการสร้างสารไนตริกออกไซด์ (NO) ในเซลล์ microglia ของสมองหนู (microglia เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจที่พบในระบบประสาทส่วนกลาง)  โดยสารสกัดจากเหง้า ออกฤทธิ์สูงในการยับยั้งการอักเสบโดยลดการสร้างสารไนตริกออกไซด์ในสมอง

-ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารเมลานิน สารกลุ่ม diarylheptanoids จากเหง้าแห้ง ชื่อ (3R)-1,7-bis(4-hydroxyphenyl)-(6E)-6-hepten-3-ol มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารเมลานินในหลอดทดลอง (ทดสอบด้วยเซลล์ชนิด B16 melanoma 4A5 cells) พบว่า สารชนิดนี้สามารถยับยั้งการสร้างเมลานิน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.36 µM และไม่เกิดพิษต่อเซลล์ โดยออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน arbutin (IC50 เท่ากับ 174 µM)

-เพิ่มอัตราการไหลของน้ำดี สารไกลโคไซด์กลุ่ม phloracetophenone ชื่อ 4,6-dihydroxy-2-O-(beta-D-glucopyranosyl) acetophenone จากเหง้า มีฤทธิ์เพิ่มอัตราการไหลของน้ำดีในหนูทดลอง  เมื่อให้สารทดสอบในขนาด 25 และ 50 mg/kg สามารถกระตุ้นการไหลของน้ำดีได้ 125.3 ± 2.6 และ 142.3 ± 3.0% ของกลุ่มควบคุมตามลำดับ การเพิ่มอัตราการไหลของน้ำดีมีผลต่อการย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้น และลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้  

-ปกป้องตับจากสารพิษ สารสกัดเฮกเซนจากเหง้าในขนาด 500 mg/kg BW มีฤทธิ์ปกป้องตับจากการทำลายของสารพิษคาร์บอนเตตราคลอไรด์ในหนูทดลอง เมื่อให้สารสกัดก่อนได้รับสารพิษเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยกลไกการต้านพิษเกิดจากการกระตุ้นการทำงานของ glutathione-S-transferase (GST) ซึ่งเป็นแอนติออกซิแดนท์เอนไซม์

-ลดการอักเสบ สารสกัดเฮกเซน สารสกัดเอทานอล และสารกลุ่ม diarylhepatanoids สองชนิดคือ (5-hydroxy-7-(4-hydroxyphenyl)-1-phenyl-(1E)-1-heptene และ 7-(3,4-dihydroxyphenyl)-5-hydroxy-1-phenyl-(1E)-1-heptene) ลดการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ TNF-α, interleukin-1β และ NF-κB ในเซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ ของมนุษย์ในหลอดทดลองได้ ซึ่งแสดงถึงฤทธิ์ต้านการอักเสบ

-ยับยั้งเซลล์มะเร็ง สาร 4,6-dihydroxy-2-O(beta-D-glucopyranosyl acetophenone) มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูก โดยมีค่า IC50 = 4.44 ± 0.85 ug/ml

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด ลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ

-ช่วยลดดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป

-ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่ กระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น

-ช่วยขับน้ำคาวปลา อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการตกขาว ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น 

-ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม และเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี

-ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย

-ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง

-ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก

-ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น

-ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) ด้วยการไปทำลายดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง

-ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ

-ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

-เหง้าสีเหลืองเข้ม กลิ่นฉุนและขม สกัดแป้งออกมาโดยใช้การขูดกับตะแกรงและล้างแป้งจนหมดกลิ่น แป้งที่ได้นิยมใช้ทำพุดดิ้งและโจ๊ก 

-ในชวา นำเหง้าแห้งที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ไปต้ม เติมน้ำตาล ทำเป็นเครื่องดื่มรสหวาน

-ส่วนอ่อนของลำต้น เหง้า และช่อดอกอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้ 

-เหง้า ให้สีย้อมสีเหลือง และเป็นยาสมุนไพร น้ำสกัดจากเหง้าใช้รักษาโรคตับ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ปวดตามข้อ ใช้เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร ในเหง้าแห้งมีคูเคอร์มิน 1-4% เมื่ออ่อนสารนี้มีมากกว่าแป้ง แป้งจะมีมากที่สุดในเหง้าโตเต็มที่



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง