Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผัดกาดหัว (หัวไชเท้า)

ชื่อท้องถิ่น: ไช่เท้า ไช่โป๊ หัวไชเท้า หัวไช้เท้า หัวผักกาด หัวผักกาดขาว (ทั่วไป)/ ผักกาดจีน(ลำปาง)/ ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัว (ภาคเหนือ)/ ผักกาดหัว (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Daikon, Daikon radish, Radish, White radish

ชื่อวิทยาศาสตร์: Raphanus sativus L.

ชื่อวงศ์: BRASSICACEAE-CRUCIFERAE

สกุล: Raphanus 

สปีชีส์: sativus

ชื่อพ้อง: 

-Raphanistrum gayanum Fisch. & C.A.Mey.

-Raphanus acanthiformis Morel ex L.Sisley

-Raphanus caudatus L.

-Raphanus caudatus L.f.

-Raphanus chinensis Mill.

-Raphanus gayanus (Fisch. & C.A.Mey.) G.Don

-Raphanus indicus Sinskaya

-Raphanus macropodus H.Lév.

-Raphanus niger Mill.

-Raphanus oleifer Steud.

-Raphanus orbicularis Mill.

-Raphanus radicula Pers.

-Raphanus rotundus Mill.

-Raphanus sativus L.

-Raphanus sativus subsp. acanthiformis (Morel ex L.Sisley) Stank.

-Raphanus sativus var. aka-daikon (Kitam.) Sazonova

-Raphanus sativus f. albescens (Makino) M.Hiroe

-Raphanus sativus f. esculentus (Metzg.) M.Hiroe

-Raphanus sativus f. exsuccus (Thell.) M.Hiroe

-Raphanus sativus convar. hybernus (Alef.) Sazonova

-Raphanus sativus var. incarnatus Sazonova

-Raphanus sativus var. lobo Sazonova & Stank.

-Raphanus sativus var. longipinnatus L.H.Bailey

-Raphanus sativus convar. minowase (Kitam.) Sazonova

-Raphanus sativus subf. niger (Mill.) M.Hiroe

-Raphanus sativus var. niger (Mill.) J.Kern.

-Raphanus sativus var. nonpinnatus L.H.Bailey

-Raphanus sativus subf. oleifer (DC.) M.Hiroe

-Raphanus sativus var. parvipinnatus L.H.Bailey

-Raphanus sativus convar. radicula (Pers.) Sazonova

-Raphanus sativus var. roseus Sazonova

-Raphanus sativus var. rubidus Sazonova

-Raphanus sativus subf. silvester (W.D.J.Koch) M.Hiroe

-Raphanus sativus subsp. sinensis Sazonova & Stank.

-Raphanus sativus var. syrengeus Sazonova

-Raphanus sativus var. virens Sazonova

-Raphanus sinensis Thunb. ex Pritz.

-Raphanus stenocarpus Kitag.

-Raphanus taquetii H.Lév.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผัดกาดหัว thai-herbs.thdata.co | ผัดกาดหัว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักกาดหัว เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียว ความสูงตั้งแต่ยอดถึงรากประมาณ 1 เมตร ลำต้นหัวไชเท้ามีขนาดสั้น กลม และเป็นข้อสั้น ไม่มีกิ่งก้าน แทงออกบริเวณตรงกลางหรือราก ราก (หัวไซเท้า) มีลักษณะทรงกลมรูปทรงกระบอก หรือ รูปกรวยยาว หรือรูปทรงอื่นๆ ตามสายพันธุ์  หัวมีสีขาวจนถึงสีแดง 


ผัดกาดหัว thai-herbs.thdata.co | ผัดกาดหัว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบแตกออกจากโคนต้นเป็นกอ ยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ตัวใบใหญ่ปลายใบมน ขอบใบมีรอยเว้าลึก 4-6 คู่ทั้ง 2 ข้าง ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟัน ก้านใบลักษณะสามเหลี่ยม ขอบมนใบที่ออกจากต้นที่ชูสูงขึ้นจะมีขนาดเล็กลง ใบรูปไข่กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ หรือแทบไม่มีเลย โคนใบมีก้านสั้น ๆ หรือแทบไม่มี

 ผัดกาดหัว thai-herbs.thdata.co | ผัดกาดหัว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ แบบสมบูรณ์เพศ เจริญออกจากกลางลำต้น มีก้านดอกยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวหรือขาวอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 อัน เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 อัน มีต่อน้ำหวานที่ฐานกลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ดอกบานในช่วงเช้า


ผัดกาดหัว thai-herbs.thdata.co | ผัดกาดหัว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะออกเป็นฝัก ยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ฝักจะแก่จากด้านล่างขึ้นด้านบน เมื่อฝักแก่จะมีสีน้ำตาลเทา เนื้อฝักค่อนข้างแข็ง ไม่มีรอยแตกตามรอยตะเข็บ ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-10 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดง บางพันธุ์เป็นสีเหลือง ขนาดเมล็ดประมาณ 3 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: กรีซ อิตาลี ซิซิเลีย ยูโกสลาเวีย

การกระจายพันธุ์: -

ผัดกาดหัว thai-herbs.thdata.co | ผัดกาดหัว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเย็น สรรพคุณ ตำคั้นกับน้ำตาลทรายแดง แก้อาเจียนเป็นโลหิต 

*เมล็ด รสเผ็ดชุ่ม ขับเสมหะและโลหิต ระบายอ่อนๆ ระงับอาการหอบ แก้ลมจุกเสียด

องค์ประกอบทางเคมี: 

-หัว พบสาร Isothiocyanate ,Kempferol  , Cyanidine  ,  Triterpenes  ,  Gentisic acid  , Hydrocinnamic acid  , Vanillic acid , Pelargonidin , Luteolin , Myricetin , Quercetin , Lignin , Allyl isothiocayanate , Benzyl isothiocyanate , Phenethyl isothiocyanate ,  L-ascorbic acid, Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนอีกหลายชนิด

-เมล็ด พบสารกลุ่ม ไขมัน เช่น Erucic acid, Linolenic acid และ Glycerol sinapate เป็นต้น 

-น้ำมันหอมระเหย พบสาร Methyl mercaptan นอกจากนี้ยังมีสารที่ยับยั้งแบคทีเรีย คือ Raphanin อีกด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  มีการศึกษาทดลองให้สารสกัดน้ำจากใบหัวผักกาด (Raphanus sativus Linn.) ในหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) และหนูขาวแรกเกิดอายุ 2 วัน ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (NIDDM) ด้วย streptozocin โดยให้กินในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกวันตอนเช้านาน 4 และ 6 สัปดาห์ตามลำดับ เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่า สารสกัดน้ำจากใบหัวผักกาดมีผลลดน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพความทนทานต่อกลูโคส ( glucose tolerance) ในหนูที่เป็นเบาหวานกลุ่ม IDDM สารสกัดน้ำจากใบหัวผักกาดให้ผลลดน้ำตาลในเลือดได้น้อยกว่าอินซูลิน และการให้ร่วมกันมีผลลดประสิทธิภาพของอินซูลิน ในขณะที่เมื่อให้ aminoguanidine ร่วมกับอินซูลินไม่แสดงผลดังกล่าว ในหนูที่เป็นเบาหวานกลุ่ม NIDDM สารสกัดน้ำจากใบหัวผักกาดให้ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่า glibenclamide

-ฤทธิ์ป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาฤทธิ์ของเมล็ดหัวผักกาด (Raphanus sativus L.) ในการป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังในหนูแรท ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลเรื้อรังในลำไส้ด้วย trinitrobenzenesulphonicacid (TNBS) และ dextran sodium sulfate (DSS) จากนั้นป้อนสารสกัดน้ำจากเมล็ดหัวผักกาดขนาด 10, 40, 70 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือยารักษาโรคลำไส้อักเสบเมซาลาซีน (mesalazine) ขนาด 25 มก./กก.น้ำหนักตัว ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัดน้ำจากเมล็ดหัวผักกาดช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ทั้งหนูแรทที่ถูกกระตุ้นด้วย TNBS และ DSS โดยสารสกัดจากเมล็ดหัวผักกาดที่ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้ผลป้องกันความเสียหายของลำไส้ได้ดีเทียบเท่ากับการใช้ยาเมซาลาซีน สามารถลดการทำงานของเอนไซม์ myeloperoxidase ลดการหลั่ง tumor necrosis factor (TNF)-α และ interleukin (IL)- 1β ยับยั้งการสร้าง malondialdehyde และป้องกันการลดลงของ glutathione ในลำไส้ใหญ่ รวมถึงกดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ TNF-α, IL-1β, monocyte chemotactic protein-1, inducible nitric oxide และ intercellular adhesion molecule-1 นอกจากนี้ยังยับยั้งการทำงานของ p38 kinase และ DNA–nuclear factor-κB ได้ทั้งหนูแรทที่ถูกกระตุ้นด้วย TNBS และ DSS ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดน้ำจากเมล็ดหัวผักกาดช่วยบรรเทาความเสียหายของลำไส้ได้ทั้งจากสภาวะความเครียดออกซิเดชันและกระบวนการอักเสบ

-นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางเภสัชอื่นๆ ในต่างประเทศอีกหลายงานวิจัย เช่น สารที่ได้จากสารสกัดหัวผักกาดขาวด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความไวต่อแบคทีเรียแกรมบวก  และในเมล็ดหัวผักกาดขาว ก็มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย โดยสาร Raphanin ในเมล็ด ที่มีปริมาณความเข้มข้น 1 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้ง Staphylococcus และ Colibacillus อย่างเห็นได้ชัด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษมีการทดลองฉีดสารสกัดเอทานอลของเมล็ดแห้งจากหัวผักกาด แล้วกำจัดไขมันด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ โดยฉีดสารสกัดดังกล่าวนี้เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่ามี LD50 มากกว่า 1 ก./กก. และจากการศึกษา raphanin ซึ่งเป็นสารสำคัญในหัวผักกาด พบว่ามีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่ได้จาก rabbit testicle และมีพิษต่อหนูถีบจักรและหัวใจของกบปานกลาง

-พิษต่อเซลล์ มีการทดสอบสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และนำสารสกัดที่ได้ไปกำจัดไขมันออกด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ มีค่า ED50 เมื่อทดสอบกับ Hela cells เท่ากับ 62 มคก./มล. พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีพิษต่อเซลล์ การทดสอบน้ำสกัดจากเมล็ด ความเข้มข้น 500 มคก./มล. กับ CA-mammary-microalveolar พบว่าไม่มีฤทธิ์มีการทดสอบสารสกัดคลอโรฟอร์มจากเมล็ดกับ cells-human-SNU 1, SNU-C4 หรือ Leuk (Shay) โดยมี IC50 เท่ากับ 300 มคก./มล.    พบว่าไม่มีฤทธิ์เช่นกัน ส่วนการทดสอบสารสกัดเมทานอลจากทั้งต้นของหัวผักกาด ความเข้มข้น 50 มคก./มล.กับ CA-9KB พบว่าผลการทดสอบไม่แน่นอน และยังมีการทดสอบสารสกัดเอทานอล (100%) จากเมล็ดแห้ง (ไม่ทราบความเข้มข้น) กับ CA-A549, CA-mammary-MCF7, human colon cancer cell line dld-1 พบว่าไม่มีฤทธิ์ ต่อมามีการทดสอบสารสกัดเมทานอลจากรากสดหรือจากเมล็ดสดของหัวผักกาด ความเข้มข้น 200 มคก./มล. กับ macrophage cell line raw 264.7 พบว่ามีฤทธิ์อ่อน แต่การใช้สารสกัดนี้ ความเข้มข้น 40 มคก./มล. พบว่าไม่มีฤทธิ์ เช่นกัน

-ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดสอบสารสกัดเมทานอลจากรากสด (ไม่ทราบความเข้มข้นที่ใช้ทดสอบ) กับ Salmonella typhimurium TA98 พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ การทดลองนำส่วนที่กินได้ของหัวผักกาดสดมาสับจนเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทำการ lyophilized และสกัดด้วยเฮกเซน คลอโรฟอร์ม และเมทานอล ตามลำดับ แยกตัวทำละลายออกโดยการระเหยแห้ง นำส่วนที่ได้ไปละลายใน dimethylsulfoxide ก่อนที่จะนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านหรือเหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonellaหรือ mammalian microsome mutagenicity test  จากการทดลองพบว่า ไม่มีส่วนสกัดใดเลยที่แสดงฤทธิ์เหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 ทั้งในภาวะที่มีหรือไม่มี S9 อยู่ด้วย จากการทดลองนี้ชี้ว่าหัวผักกาดไม่มีสารใดที่มีฤทธิ์เหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์ การทดสอบน้ำคั้นจากหัวผักกาด ขนาด 200 มคล. กับ S. typhimurium TA98 และ TA100 ในจานเพาะเชื้อ พบว่ามีฤทธิ์อ่อน แต่การใช้สารสกัดเอทานอล (100%) (ไม่ทราบความเข้มข้น) ทดสอบกับ S. typhimurium T1530 ในจานเพาะเชื้อ พบว่าไม่มีฤทธิ์ มีการศึกษา 3-hydroxymethylene-2-trioxopyrrolidine (HMTP) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ได้จากส่วนที่มีกลิ่นของหัวผักกาด โดยทำการศึกษาฤทธิ์เหนี่ยวนำหรือต้านการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 เมื่อทำการ incubate โดยไม่มี rat microsomal fraction (S9) พบว่า HMTP มีฤทธิ์เหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อนกับแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ เมื่อใช้ HMTP ในขนาด 260-520 มคก. (2-4 ไมโครโมล) แต่ฤทธิ์ ดังกล่าวจะลดลงอย่างมากหรือไม่มีเลย เมื่อมี S9 fraction อยู่ด้วย และการทดสอบฤทธิ์ของ HMTP กับการต้านฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของ heterocyclic amines คือ 2-amino-3-methyl-imidazo[4,5-f]quinoline (IQ) และ 3-amino-1,4-dimethyl-5H-pyrido[4,3-b]indole (Trp-P-1) พบว่า HMTP ขนาด 390-520 มคก. (3-4 ไมโครโมล) มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารทั้ง  2 เป็นอย่างมาก จากการวิเคราะห์ด้วย HPLC เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ HMTP, IQ และ Trp-P-1 ในระหว่างที่ incubate กับ S9 fraction พบว่า HMTP ถูก metabolized ไปเป็น S9 inhibitor ซึ่งมีผลให้การ metabolize ของ heterocyclic amine ถูกยับยั้ง และเมื่อ plot กราฟแบบ Lineweaver-Burk พบว่าฤทธิ์ยับยั้งของ HMTP เป็นแบบ uncompetitive inhibitor ของ cytochrome P-450s ใน S9 fraction (11) มีการศึกษาโครงสร้างของสารสีเหลืองที่พบในหัวผักกาดที่ปรุงรสด้วยเกลือซึ่งมีโครงสร้างเป็น 1-(2-thioxopyrrolidin-3-yl)-1,2,3,4-tetrahydro-b-carboline-3-carboxylic acid ซึ่งพบว่าสารดังกล่าวไม่มีฤทธิ์เหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 ทั้งในภาวะที่มีหรือไม่มีการ activate มาก่อน

-ฤทธิ์ก่อมะเร็ง มีรายงานความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร จากการได้รับ aliphatic amines และ nitrate จากผักต่างๆ โดยพบว่าการบริโภคผักต้มจำพวก Brassicaมาก ทำให้ได้รับ nitrate ปริมาณสูงถึง 237 มก./วัน

-พิษต่อระบบสืบพันธุ์ มีรายงานการทดสอบพิษของหัวผักกาดต่อการฝังตัวของตัวอ่อนดังนี้ คือ เมื่อทดลองฉีดสารสกัด (ไม่ทราบชนิดของสารสกัดและส่วนของพืชที่ใช้) ขนาด 0.2 มล./ตัว เข้าใต้ผิวหนังของหนู     ถีบจักรเพศเมีย พบว่าไม่มีฤทธิ์  แต่การทดลองป้อนสารสกัดจากหัวผักกาด (ไม่ระบุชนิดสารสกัด ส่วนของพืชที่ใช้และขนาดที่ใช้ทดลอง) ให้กับหนูขาวเพศเมีย พบว่ามีฤทธิ์อ่อน  และเมื่อทดลองฉีดสารสกัดเอทานอล (100%) จากเมล็ดแห้ง ในขนาด 200 มก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย พบว่าไม่มีฤทธิ์ ส่วนอีกการทดลองหนึ่งใช้สารสกัดจากเมล็ดแห้ง (ไม่ทราบชนิดและขนาดที่ใช้) ฉีดเข้าทางช่องท้องหนูขาวเพศเมีย ก็พบว่าไม่มีฤทธิ์เช่นกัน มีการทดสอบน้ำสกัดหรือสารสกัดเอทานอล (90%) จากพืชที่มีการใช้คุมกำเนิดในผู้หญิงอินเดีย ซึ่งในการทดลองนี้มีการทดสอบน้ำสกัดจากหัวผักกาดด้วย โดยใช้ในขนาด 175 มก./กก. โดยทำการป้อนให้กับหนูขาวที่ท้อง เป็นเวลา 10 วัน หลังจากฉีดน้ำเชื้อจากเพศผู้เพื่อให้สัตว์ทดลองตั้งท้อง แล้วดูผลของสารสกัดต่อตัวอ่อน พบว่าสารสกัดจากหัวผักกาดมีฤทธิ์ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน  ส่วนการทดสอบพิษต่อตัวอ่อนของหัวผักกาดมีดังนี้ มีการทดลองให้สารสกัดเอทานอล:น้ำ (1:1) หรือปิโตรเลียมอีเทอร์ จากเมล็ดแห้ง  ขนาด 150 มก./กก.  ทางกระเพาะอาหารหนูขาวที่ท้อง  พบว่าไม่มีฤทธิ์      นอกจากนี้มีการทดลองฉีดสารสกัดเอทานอล (100%) จากเมล็ดแห้ง ขนาด 200 มก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหารหนูขาวท้อง พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง

การใช้ประโยชน์:

-อาการหวัด ไอ คออักเสบเรื้อรัง และมีเสียงแหบแห้ ใช้หัวไชเท้าสดมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในขวดแก้ว หลังจากนั้นโรยน้ำตาล 2-3 ช้อนโต๊ะ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วรินน้ำดื่มเป็นประจำ

-อาการผิวหนังเป็นผื่นคัน มีน้ำเหลือง ด้วยการใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ดื่มดับกระหาย ใช้หัวไชเท้าสดมาคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำขิง น้ำตาลทรายขาวพอหวาน แล้วนำมาต้มให้เดือดแล้วจิบบ่อย ๆ

-ช่วยรักษารอยฝ้า กระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นพอละเอียดแล้วใส่น้ำมะนาว 1 ช้อนแกง แล้วปั่นในโถอีกครั้งเป็นอันเสร็จ วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า ให้นำมาทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้า กระให้จางลงได้

-หัวผักกาด มีสารลิกนิน (Lignin) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ เนื่องจากที่ช่วยต่อ

-หัวผักกาด มีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค และช่วยต่อต้านมะเร็ง

-หัวผักกาด เป็นผักที่หลาย ๆ ประเทศนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เมนูหัวไชเท้า เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ต้มจืดหัวไชเท้า ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด เป็นต้น

-หัวผักกาด สามารถนำมาแปรรูปเป็นหัวไชโป๊ดองเค็ม ตากแห้งเพื่อรับประทาน

-ในตำราอาหารญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ต้มปลาหมึกตัวสดกับหัวไชเท้า ว่ากันว่าจะช่วยทำให้เนื้อปลาหมึกนุ่มมาก

-ในญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้าดิบมาขูดเป็นฝอยลงในซีอิ๊วใช้เป็นน้ำจิ้ม

-ชาวจีนสมัยก่อนนำหัวผักกาดมาใช้รักษาโรคหัดในเด็ก

-ชาวจีนเชื่อว่าหัวผักกาดมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพลังชี่ ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบย่อย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง