Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะดัน

ชื่อท้องถิ่น: ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย

ชื่อสามัญ: Madan

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia schomburgkiana Pierre

ชื่อวงศ์: CLUSIACEAE-GUTTIFERAE

สกุล: Garcinia 

สปีชีส์: schomburgkiana

ชื่อพ้อง: 

-Hydnocarpus sharmae P.S.N.Rao & Sreek.

-Siphonodon pyriformis Merr.

-Xanthophyllum subglobosum Elmer

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ 

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน มีขนาดกว้างประมาณ 2.5 ซนติเมตร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบลื่น ไม่มีขน สีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 ซนติเมตร

ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน และดอกเพศจะมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 10-12 อัน


มะดัน thai-herbs.thdata.co | มะดัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะดัน thai-herbs.thdata.co | มะดัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลจะคล้ายรูปรีปลายแหลม ผลมีสีเขียว ลักษณะผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด ด้านในผลมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ดติดกัน เมล็ดแข็งและขรุขระ 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินโดจีน

การกระจายพันธุ์: กัมพูชา ไทย เวียดนาม

มะดัน thai-herbs.thdata.co | มะดัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก ใบ รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ระดูเสีย กัดเสมหะ ขับฟอกโลหิต ระบายอ่อน แก้หวัด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ต้นมะดันเป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมขังได้ดีมากที่สุดชนิดหนึ่ง มันจึงเหมาะถ้าจะปลูกไว้ในบริเวณที่อาจเกิดน้ำท่วม

-ต้นมะดันมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประดับสถานที่ได้เป็นอย่างดี

-กิ่ง นำมาใช้หนีบไก่ปิ้งหรือไก่ปิ้งไม้มะดัน จะช่วยทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น

-ยอดอ่อน นำมาใส่ต้มปลา ต้มไก่ จะให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวได้และยังทำให้รสชาติของอาหารหวานและหอมขึ้นด้วย

-ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้

-ผล ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้ เพราะมีสารกลุ่ม AHA และ BHA โดยได้มีการนำมาใช้ในวงการเครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนผสมในสบู่ โทนเนอร์ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

-ผล ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด โดยจิ้มกับพริกเกลือ 

-ผล สามารถนำไปแปรรูปเป็น มะดันแช่อิ่ม หรือ มะดันดองแช่อิ่ม 

-ผล มีรสเปรี้ยวจัด ใช้แทนมะนาวได้ เช่น การตำน้ำพริก น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกทรงเครื่อง น้ำพริกสับกากหมู หรือใช้ใส่ในแกงที่ต้องการความเปรี้ยวอย่างแกงส้มหรือต้มยำ เป็นต้น





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง