Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ซัด

ซัด thai-herbs.thdata.co | ซัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ลูกซัด

ชื่อสามัญ: Fenugreek , Methi

ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonella foenum-graecum

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE

สกุล: Trigonella

 สปีชีส์: foenum-graecum

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ซัด thai-herbs.thdata.co | ซัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นซัด เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 60 ซม. รากแก้วขนาดใหญ่. 


ซัด thai-herbs.thdata.co | ซัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ หูใบขนาดเล็ก ก้านใบยาวประมาณ 1-4 หรือ 1-6 ซม. แกนกลางสั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือขอบขนาด กว้างประมาณ 0.5-2 ซม. ยาวประมาณ 1.5-4 ซม ขอบใบหยัก

ดอก ออกดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว สีขาวหรือเหลืองอ่อน ยาว 1-1.5 ซม 

ผล ลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 5-19 ซม. ผิวเกลี้ยง ในฝักมีเมล็ด 10-20 เมล็ด 


ซัด thai-herbs.thdata.co | ซัด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

เมล็ด ลักษณะสี่เหลี่ยมมน มีร่องตรงกลางเมล็ด เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองทอง เมล็ดมีขนาดเล็ก ขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร  มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว เมล็ดมีรสฝาด มีกลิ่นหอม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แถบเมติเตอร์เรเนียน 

การกระจายพันธุ์: อินเดีย จีน เอเชีย แอฟริกา และยุโรป 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด (ลูก) รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง กล่อมเสมหะและอาจม

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด พบสาร galactomannan ร้อยละ 14-15 น้ำมันระเหยยาก (fixed oil) มีรสขมและกลิ่นเหม็น น้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 0.02 พบสารกลุ่ม Alkaloids เช่น trigonelline , สารกลุ่ม saponin เช่น diosgenin, yamogenin, tigogenin, neotigogenin, Graecunin A-G sarsapogenin smilgenin trigofoenside A trigofoenoside B,C trigofoenoside D trigofoenoside F,G yuccagenin, gitogenin สารกลุ่ม flaronoids เช่น vitexin, orientin, quercetin, luteolin kaempferol กรดอะมิโนชื่อ 4-hydroxyisoleucine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง ทั้งปกติและถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน โดยพบว่าในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 0.06 0.2 0.5 และ 1 ก./กก. และสารสกัด 70% เอทานอลจากใบ ขนาด 0.8 ก./กก. เข้าทางช่องท้อง และป้อนสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 2 และ 8 ก./กก. มีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนู ยาต้มและสารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ด ขนาด 0.5 มล./ตัว สารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ด ขนาด 250 มก./กก. และสารสกัดอัลกอฮอล์จากเมล็ด ขนาด 1 2 และ 4 ก./กก. มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้บาหวานด้วย alloxan ได้เช่นกัน

-ลูกซัดมีผลเสริมฤทธิ์ของยารักษาเบาหวานโดยเมื่อให้ผงเมล็ดลูกซัดร่วมกับยา glicazide พบว่าลูกซัดจะเสริมและเพิ่มระยะเวลาการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของยาในหนูแรทปกติ หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan monohydrate และในกระต่ายปกติ โดยไม่ทำให้เกิดการชักเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ สารสกัดเอทานอล ขนาด 500 มก./กก. เมื่อให้ร่วมกับยา glibenclamide แก่หนูแรทปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin จะมีผลเสริมฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน

-ผงเมล็ด ขนาด 15 กก. มีผลลดน้ำตาลในเลือดและอินซูลินของผู้ป่วย เมื่อทดสอบด้วยวิธีการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร (Meal tolerance test) เมื่อให้ผู้ป่วย จำนวน 15 คน รับประทานอาหารที่ผสมผงเมล็ดลูกซัดที่ขจัดไขมัน ปริมาณ 100 ก.นาน 10 วัน พบว่าระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง ผู้ป่วย อายุระหว่าง 38-54 ปี จำนวน 10 คน ที่รับประทานอาหารซึ่งผสมผงเมล็ดลูกซัด ขนาด 25 ก. โดยแบ่งเป็นขนาดเท่าๆกัน รับประทานวันละ 2 มื้อ คือ กลางวันและเย็น นาน 15 วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โดยลูกซัดมีผลลดระดับน้ำตาลในพลาสมา เพิ่มการใช้กลูโคส และเพิ่ม insulin receptor บนเม็ดเลือดแดง ทำให้เพิ่มความต้านทานต่อกลูโคส และเมื่อให้ผู้ป่วย จำนวน 60 คน รับประทานอาหารที่ผสมผงเมล็ดลูกซัดในขนาดเดียวกันนี้ นาน 24 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินในผู้ป่วยลดลงเช่นกัน

การศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีที่รับประทานแคปซูลผงใบลูกซัด ขนาด 2.5 ก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่าไม่มีผลลดน้ำตาลในเลือด เมื่อให้คนปกติ จำนวน 6 คน รับประทานตำรับอาหารที่ผสมผงเมล็ดลูกซัดดิบ เมล็ดต้น และเมล็ดกำลังงอก ปริมาณ 12.5 ก. วันละครั้งเป็นอาหารเช้า หรือให้รับประทานตำรับยาซึ่งประกอบด้วยลูกซัด และ guar gum พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมล็ด ขนาด 25 ก. ยางที่สกัดจากเมล็ด (gum) ขนาด 5 ก. และใบ ขนาด 150 ก. มีผลลดน้ำตาลในเลือดของคนปกติได้ เมื่อให้อาสาสมัครชายสุขภาพดี อายุ 20-30 ปี จำนวน 20 คน รับประทานสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 40 มก./กก.พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 13.4 หลังจากได้รับสารสกัด 4 ซม. โดยมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น รู้สึกหิวปัสสาวะบ่อย และเวียนศีรษะ

-ฤทธิ์กระตุ้นการผลิตน้ำนม การทดลองโดยให้สตรี ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรดื่มชาที่มีส่วนผสมของลูกซัด ผลลัพธ์ที่ได้ คือ มีสัญญาณบ่งชี้ถึงปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้บริโภคชาที่มีส่วนผสมของลูกซัด จึงอาจกล่าวได้ว่า อาหารเพิ่มน้ำนมที่มีส่วนผสมของลูกซัดอาจช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม และมีส่วนช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กในระยะหลังคลอดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ชัดเจนทางการแพทย์เกี่ยวกับลูกซัดที่สัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณน้ำนมในสตรีที่ให้นมบุตรยังคงมีจำกัด และนักวิจัยยังระบุว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การทดสอบความเป็นพิษ ยาต้มจากใบ สารสกัดน้ำจากใบ หรือสารสกัดเอทานอล:น้ำ จากเมล็ดเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูแรท และหนูเม้าส์ มีค่า LD50 เท่ากับ 4 ก./กก. 1.9 ก./กก. และ 1ก/กก. ตามลำดับ เมื่อป้อนหนูแรทด้วยสารกสัดน้ำจากใบ พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 10 ก./กก. สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด เมื่อทดสอบในกระต่ายและหนูแรทมีค่า LD50 มากกว่า 2 และ 5ก./กก. ตามลำดับ

-การรับประทานเมล็ดลูกซัด ขนาด 25 ก./วัน ไม่ทำให้เกิดพิษ การศึกษาความเป็นพิษ ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน โดยให้รับประทานอาหารที่เสริมผงเมล็ดลูกซัด 25 ก. นาน 24 สัปดาห์ พบว่าไม่เป็นพิษต่อตับและไต และไม่พบความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา แต่มีระดับยูเรียในเลือดลดลงหลังจากรับประทาน 12 สัปดาห์

-พิษต่อเซลล์ สารสกัดน้ำจากเมล็ด ความเข้มข้น 0.3 มก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ตับของหนูแรท โดยทำให้เกิดความผิดปกติของไครโมโซม

-พิษต่อตัวอ่อน ไม่พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน เมื่อป้องผงเมล็ดแห้ง ขนาด 175 มก./กก. ให้แก่หนูแรทที่ตั้งท้อง เมล็ด ขนาด 2 ก./ตัว ไม่มีผลทำให้หนูแรทแท้ง

-มีรายงานผู้ป่วยที่การเกิดอาการแพ้จากการสูดดมผงเมล็ดลูกซัด โดยทำให้น้ำมูกไหลมาก หอบและหมดสติ และผู้ป่วยที่เกิดอาการแพ้จากการรับประทานเครื่องแกง ที่มีลูกซัดเป็นส่วนผสม โดยมีอาการหลอดลมบีบเกร็ง หอบ และท้องเสีย แะลจะเสริมให้แพ้มากในผู้ป่วยที่แพ้ถั่วลิสงด้วย ในผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดเรื้อรังซึ่งใช้ผลเมล็ดลูกซัดสำหรับแก้รังแค พบว่าทำให้หนังศีรษะหมดความรู้สึก หน้าบวม และหอบ

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร 

-ชาวอียิปต์ใช้ผสมแป้งเพื่อทำขนมปัง 

-ในสวิสเซอแลนด์ใช้ผสมเนยแข็ง 

-ชาวอัฟริกาใช้เมล็ดลูกซัดคั่วผสมในกาแฟ 

-ในสหรัฐอเมริกาใช้ลูกซัดแต่งกลิ่นแทน Maple Syrup 

-ประเทศไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ คนไทยใช้นํ้าต้มลูกซัดและเปลือกต้นชะลูดต้มผ้าให้ผ้าแข็งจัดกลีบได้และมีกลิ่นหอม ทั้งนี้เพราะในลูกซัดมีสารเมือกที่ทำให้ผ้าแข็งตัวขึ้นเงา 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง