Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เตยหอม

ชื่อท้องถิ่น: ซึปู่ลุ่(ม้ง)/ ใบเตย(ไทลื้อ) - หวานข้าวไหม้ (เหนือ)/ ปาแนะออริง (ใต้)/ ปาแนก๊อจี (ไทยมุสลิม)/ ปานหนัน (นราธิวาส-ปัตตานี)/ พั้งลั้ง (จีน) 

ชื่อสามัญ: Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius Roxb

ชื่อวงศ์: PANDANACEAE

สกุล: Pandanus 

สปีชีส์: amaryllifolius 

ชื่อพ้อง: Pandanus odorus Ridl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เตยหอม thai-herbs.thdata.co | เตยหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเตยหอม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกออกด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY

ดอก เป็นพืชไม่ออกดอก

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ไทยและมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ศรีลังกา, จีน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็นหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้  ชูกำลัง

*รากและต้น รสจืดหอม สรรพคุณ แก้กระษัย,ไตพิการ ขับปัสสาวะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ เมื่อนำใบเตยหอมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้สารหอมที่ประกอบด้วย แพนดานาไมน์ (Pandanamine) ไลนาลิลอะซีเตท ( linalylacetate) เบนซิลอะซีเตท (benzyl acetate) ไลนาโลออน(linalool)และเจอรานิออล(geraniol) มีสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือ คูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลลิน (ethyl vanillin)สารคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ทำให้มีสีเขียว เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) และสารในกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่สำคัญ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มความแรงในการหดตัวและลดอัตราการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis แต่ยังเป็นการทดลองในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองเท่านั้น

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

เตยหอม thai-herbs.thdata.co | เตยหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ใบสด นำมาบด และคั้นแยกน้ำ ก่อนนำไปผสมทำขนมหรือของหวานต่างๆ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมชั้น เป็นต้น เนื่องจากให้สีเขียวสด และให้กลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ

-ใบสด 5-10 ใบ บดคั้นผสมน้ำ และกรองแยกน้ำออก ก่อนนำมาต้มอุ่น พร้อมกับเติมน้ำตาลลงเล็กน้อยตามความหวานที่ต้องการ เรียกว่า น้ำใบเตย

-ใบสด นำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่น

-ใบสด นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม

-ใบสด นำมาปั่น ได้สีเขียวของใบเตยเป็นสีของคลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้

-ใบ  นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Fragrant Screw Pine ให้กลิ่นหอมอ่อนๆ มีประโยชน์ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง แซมพู สบู่ หรือ ครีมนวด ยา น้ำยาปรับอากาศ แต่งกลิ่นบุหรี่

-สารสกัดจากใบ นำไปเคลือบข้าวสารที่ไม่มีกลิ่นหอม หลังจากนำมาหุงแล้วจะช่วยให้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นสารป้องกันการหืนของอาหาร น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง