Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย:เขี้ยวงู (เล็บครุฑ)

ชื่อท้องถิ่น: เล็บครุฑ 

ชื่อสามัญ: Ming Aralia

ชื่อวิทยาศาสตร์: ชนิดเล็บครุฑที่ปลูกในไทย

-Polyscias balfouriana : ครุฑอีแปะ, ครุฑเขียวใบใหญ่ หรือ ครุฑจาน

-P. Balfouriana (marginata) : ครุฑกระจก หรือ ครุฑตีนกบ

-P. Scutellaria : ครุฑเกล็ดปลากะโห้, ครฑตีนตะพาบน้ำ หรือ ครุฑพุฒาจารย์

-P. Scutellaria (pennockii) : ครุฑบริพัตร

-P. Paniculata (variegata) : ครุฑใบกุหลาบ

-P. Guilfoylei (quinquefolia) : ครุฑก้านดำ

-P. Filicifolia : ครุฑใบเฟิร์น หรือ ครุฑกนก

-P. Fruticosa : ครุฑทอดมัน หรือ ครุฑตรี

-Polyscias sp. ครุฑกระทง

ชื่อวงศ์: ARALIACEAE

สกุล: Polyscias

สปีชีส์: Fruticosa

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เขี้ยวงู thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเขี้ยวงู เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีเทา ผิวลำต้นสากมือ ลำต้นแตกกิ่งตั้งตรงรวมกันเป็นทรงพุ่ม และมีปุ่มนูนบริเวณกาบใบที่ร่วงไป เมื่อลำต้นแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน


เขี้ยวงู thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ แตกออกจากลำต้น และกิ่ง โดยเรียงสลับกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบประกอบมีก้านใบหลักยาว โคนก้านใบหลักมีตุ่มหนามเล็กๆสีขาว และถัดขึ้นมาเป็นจุดประสีขาวสลับกับสีเขียวเข้ม จากนั้น ก้านใบหลักแตกก้านใบย่อยออก ก้านใบย่อยมีใบเรียงกันเป็นคู่ตรงข้ามกัน 5-9 ใบ โดยใบสุดท้ายเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเรียวยาว ขอบใบหยักลึกหลายหยัก คล้ายกรงเล็บ ส่วนปลายใบแหลม


เขี้ยวงู thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย เขี้ยวงู thai-herbs.thdata.co | เขี้ยวงู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อดอกมีขนาดใหญ่  ที่ปลายกิ่ง แทงออกปลายยอดของลำต้น และแตกแขนงช่อย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกรวมกันเป็นกระจุก 20-40 ดอก

ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม รวมกับหลายผลเป็นกระจุก

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: หมู่เกาะแปซิฟิกและเอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง และปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้นัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้พิษซาง แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต

*เมล็ด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ถอนพิษไข่เน่า ไม้ยืนต้นขนาดกลาง 

*เปลือกต้น รสฝาดหวานชุ่ม สรรพคุณ แก้พิษตานซาง แก้อุจจาระเป็นฟอง เหม็นเปรี้ยว แก้ท้องเสีย แก้ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง

*ราก รสฝาดหวานเบื่อ ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: 

-ต้นเขี้ยงงู มีลักษณะใบแปลก มีลายประ ขอบใบหยักคล้ายกรงเล็บ ทรงพุ่มหนา และเตี้ย จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับใบ โดยส่วนมากจะนิยมปลูกในกระถางประดับตามหน้าบ้านหรือในอาคาร

-ยอดอ่อน และใบอ่อนมีกลิ่นหอม สามารถนำมาทอดเป็นผักหรือใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียง

-ใบ มีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม สามารถนำสกัดสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม หรือนำมันสำหรับประโยชน์ในด้านความสวยความงาม

-ใบ นำมาขยำและใช้ทาเนื้อสัตว์ ก่อนนำไปย่าง ซึ่งช่วยให้เนื้อมีกลิ่นหอม น่ารับประทานมากขึ้น

-ต้นเขี้ยวงู มีขอบใบเป็นรูปหยักฟันเลื่อยจำนวนมาก บางชนิดหยักตื้น บางชนิดหยักลึก ทำให้แลดูคล้ายกรงเล็บครุฑ ซึ่งเชื่อว่า หากปลูกแล้วจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ทั้งภูตผี มนต์ดำ และสิ่งอัปมงคลไม่ให้มากล้ำกรายผู้ปลูกหรือสมาชิกในครอบครัว



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง